Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัตถุประสงค์การโฆษณา แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วัตถุประสงค์การโฆษณา แสดงบทความทั้งหมด

การวางแผนสื่อโฆษณา

การวางแผนสื่อโฆษณา

การวางแผนสื่อโฆษณา


                ก่อนจะเลือกสื่อโฆษณา นักการตลาดต้องทำการบ้านด้วยการหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนครับ ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้มีอยู่ 4 ด้าน ดังนี้
                1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ที่เราจะโฆษณา เช่น จุดขายสำคัญที่เรามีและต้องการนำเสนอต่อลูกค้าคืออะไร คุณสมบัติเด่นของสินค้าและจุดด้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งคืออะไรเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีจุดขายอยู่ที่ความน่ารับประทานของอาหารนั้นๆ ต้องเลือกสื่อที่แสดงภาพได้สวยงาม กระตุ้นให้ลูกค้าอยากรับประทานอย่างสื่อโทรทัศน์หรือนิตยสาร ขณะที่สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ที่ต้องการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ต่างๆ ของสินค้ามากๆ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงภาพที่สวยงาม การใช้สื่อประเภทหนังสือพิมพ์ก็จะดีกว่าโทรทัศน์ เป็นต้น



 
                  2. ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ตั้งแต่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสารด้วยเป็นใคร เขามีพฤติกรรมการรับสื่ออย่างไร ใครมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทที่เราขายบ้าง เขามีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างไรมี      ทัศนคติ ความเชื่อและค่านิยมในการใช้ชีวิตอย่างไร
  
 
                3. ข้อมูลคู่แข่ง เช่น งบประมาณที่เขาใช้ สื่อโฆษณาที่เขาใช้ แนวทางการนำเสนอ เทคนิควิธีการนำเสนอ เพราะถ้าสื่อโฆษณาที่เราใช้เหมือนกับคู่แข่ง มีวิธีการนำเสนอคล้ายๆ กัน แต่เรามีงบประมาณต่ำกว่าคู่แข่งมาก โฆษณาของเราก็อาจจมลงไปจนลูกค้าแทบจำไม่ได้หรือนึกว่าโฆษณาของเราเป็นของคู่ แข่งที่มีงบมากกว่า ทำให้ไม่เกิดผลคุ้มค่า เราอาจต้องเปลี่ยนไปใช้สื่ออื่นที่คู่แข่งไม่ได้ใช้ เป็นต้น
    
 
                ในอีกมุมหนึ่ง ถ้าเรามีงบประมาณที่พอจะแช่งกับคู่แข่งได้ เราอาจทำการวางแผนสื่อเพื่อสกัดคู่แข่งไว้ก่อนได้ เช่น หากรู้ว่าคู่แข่งจะลงโฆษณาในนิตยสารเล่มเดียวกับเรา เราอาจจองหน้าที่อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าคู่แข่งหรือจองป้ายโฆษณาตัดหน้าคู่ แข่งได้
                4. เข้าใจความต้องการและข้อจำกัดของบริษัทตัวเอง ในการวางแผนสื่อ นักการตลาดต้องรู้งบประมาณที่ชัดเจน ระยะเวลาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ในการทำการโฆษณา รวมทั้งเข้าใจข้อจำกัดต่างๆ ภายในบริษัทตนเองและข้อจำกัดด้านกฎหมายด้วย
 
 



                สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีข้อจำกัดในการห้ามโฆษณาทางโทรทัศน์ก่อน 4 ทุ่ม สินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลัง โฆษณาได้เฉพาะที่นำเสนอในลักษณะส่งเสริมสังคมหรือสร้างภาพลักษณ์องค์กร ห้ามโฆษณาตัวสินค้า ส่วนธนาคารใหญ่ๆ ที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ที่ดูน่าเชื่อถือ การเลือกหัวนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ที่จะลงก็อาจมีข้อจำกัดด้านนโยบายของ บริษัท เช่น จะไม่ลงโฆษณาในนิตยสารแนววาบหวิว เซ็กซี่ ทั้งๆ ที่ผลการวิจัยอาจแสดงให้เห็นว่าเป็นสื่อที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อ สารด้วย
                หลังจากเตรียมข้อมูลทั้ง  4 ด้านตามที่อธิบายไว้แล้ว เราก็เริ่มต้นกำหนดกลยุทธ์ในการเลือกสื่อ โดยมีขั้นตอนดังนี้
                1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาดในแคมเปญนั้นๆ หรือตามแผนงานของปีนั้นๆ เช่น ถ้าวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการสร้างรับรู้ในตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็จะนำไปสู่การเลือกสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ครั้งละมากๆ อย่าง โทรทัศน์หรือ หนังสือพิมพ์ ในรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายรับชมหรืออ่านอยู่จำนวนมาก
                ถ้าวัตถุประสงค์อยู่ที่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตรายี่ห้อ ก็ต้องเลือกสื่อที่มีภาพลักษณ์ดี เช่น นิตยสารชั้นนำหรือรายการโทรทัศน์ที่มีภาพพจน์ดีมากกว่าการลงสื่อในรายการ ละครน้ำเน่า เป็นต้น
                2. การกำหนดความต้องการหรือปัจจัยในการเลือกสื่อในเชิงกลยุทธ์ ได้แก่
         -การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทั้งหลักและรอง ที่ต้องการสื่อสารด้วย จะได้เลือกที่มีผู้อ่าน/ผู้ชม/ผู้ฟัง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ

         -การกำหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องการเผยแพร่ เช่น ต้องการสื่อออกไปด้วนภายใน 30 วัน อย่างนี้สื่อประเภทหนังสือพิมพ์ดูจะเป็นสื่อที่จะตอบสนองเงื่อนไขด้านเวลา ได้ แต่สื่อประเภทนิตยสารรายเดือนที่ปกติเราต้องส่ง Art Work โฆษณาให้เขาล่วงหน้า 30-45 วัน ก่อนตีพิมพ์หรือสื่อโทรทัศน์ที่มีขั้นตอนในการผลิตและส่งให้คณะกรรมการของ ทางสถานีตรวจสอบก่อนเผยแพร่ ย่อมไม่สามารถตอบสนองเงื่อนเวลาที่เร่งรัดตามที่นักการตลาดต้องการได้ สื่อเหล่านั้นก็ต้องตัดออกไป
         -การกำหนดข้อความที่ต้องการสื่อ รวมถึงภาพหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องการใช้ในการสื่อสารไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ถ้าสิ่งที่ต้องการสื่อมีเพียง 1-2 ประเด็นและไม่ซับซ้อน เช่น ต้องการบอกลูกค้าว่า ตอนนี้มาม่าออกรสใหม่แล้ว อย่างนี้ก็เหมาะที่จะโฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุ แต่ถ้าประเด็นที่จะนำเสนอมีความซับซ้อน เช่น “บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และต้องการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่ว ไปโดยขอรับใบของซื้อหุ้นได้ที่ธนาคารออมสิน เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ในวันที่ 4 -5 เม.ย.48” ข้อความที่ต้องการสื่อเหล่านี้คงไม่สามารถใส่ลงไปได้หมดในสื่อโทรทัศน์แล้ว ทำให้ผู้ชมจำได้ เว้นแต่จะมีงบโฆษณาจำนวนมาก การใช้สื่อหนังสือพิมพ์น่าจะเหมาะกว่า ถ้าจะใช้สื่อโทรทัศน์ก็อาจทำเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะขายหุ้นแล้วให้โทร เข้ามาสอบถามรายละเอียดที่บริษัท โดยใช้ร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน
         -กำหนดความถี่ที่ต้องการเผยแพร่ เช่น ถ้าต้องการให้ได้ความถี่ 100 ครั้งต่อเดือน การใช้สื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารไม่น่าจะเพียงพอ การจะได้ความถี่มากๆ ถ้ามีงบประมาณก็ใช้สื่อโทรทัศน์เป็นหลัก แต่ถ้างบประมาณน้อยก็ต้องหันมาใช้สื่อวิทยุและ Outdoor ซึ่งจะได้ความถี่สูงในงบประมาณต่ำ
                3. การกำหนดวิธีในการใช้สื่อหรืออาจเรียกว่า Media Action Plan ที่มีการระบุสื่อโฆษณาที่เลือกจำนวนครั้งที่ลง ขนาดและตำแหน่งที่ลงโดยละเอียด เช่น กำหนดว่าจะลงโฆษณาในนิตยสารมาร์เก็ตเธียร์เต็มหน้าสี่สีปกหลัง จำนวน 6 ครั้งตั้งแต่เดือน เม.ย.- ก.ย.48 ร่วมกับลงโฆษณาในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางช่อง 3 วันจันทร์ – ศุกร์ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 4 สัปดาห์รวม 20 ครั้ง เป็น Spot 15 วินาที เป็นต้น
                4. การดำเนินการจองสื่อและผลิตผลงานเพื่อส่งให้สื่อเผยแพร่มให้ทันตามกำหนด หลายครั้งที่การวางแผนสื่อโฆษณาทำมาอย่างดีแต่มามีปัญหาที่ของสื่อช้า ทำให้หน้าโฆษณาที่เราต้องการถูกจองล่วงหน้าไปโดยสินค้าอื่นไปแล้ว หรือเป็นปัญหาของฝ่ายผลิต Art Work / Production House ที่ไม่สามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้ทันกำหนด Death Line ที่ทางสื่อกำหนดให้ส่ง ทำให้แผนงานที่วางไว้ต้องเปลี่ยนแปลงไป
                ทั้งหมดนี้คงพอจะทำให้นักการตลาดที่ต้องการวางแผนสื่อโฆษณาเองหรือกำลังคิด จะวางแผนสื่อเองเห็นขั้นตอนในการวางแผนได้ชัดเจนขึ้น




วัตถุประสงค์การโฆษณา

วัตถุประสงคหลักของการโฆษณา
       
1. เพื่อแนะนำสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จัก พร้อม ทั้งให้ผู้บริโภคหันมาสนใจใช้สินค้าหรือบริการที่โฆษณา  สิ้นค้าหรือบริการใดก็ตาม ถ้าไม่โฆษณาก็จะมีคนรู้จักหรือสนใจน้อย ไม่ส่งผลดีสู่การขายเท่าที่ควร แต่ถ้าการโฆษณาดีมีประสิทธิภาพ ประกอบกับได้มีสินค้าหรือบริการที่ดีก็จะได้รับความสนใจ เชื่อถือหรืออาจจะได้รับความนิยมชมชอบจากผู้ซื้อจนเป็นลูกค้าประจำกันต่อไป

2. เพื่อรณรงค์ส่งเสริมการซื้อการใช้สินค้าหรือบริการให้มากยิ่งขึ้น  การโฆษณานอกจากจะช่วยให้ผู้บริโภคได้รู้จัก ได้สนใจสินค้าหรือบริการแล้ว ในกรณีที่จำเป็นต้องการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการขาย หรือต้องการทำเป้าหมายของยอดขายให้สูงขึ้น เช่น ต้องการต่อสู้กับคู่แข่งขัน สามารถทุ่มงบประมาณ ดำเนินการโฆษณาโดยใช้สื่อต่าง ๆ อย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลตามต้องเป้าหมายที่กำหนดไว้

3. เพื่อรักษาค่านิยมในการใช้สินค้าหรือบริการให้มั่นคง อยู่เสมอ สินค้าที่ลูกค้าเคยรู้จักเคยนิยมใช้ ยังคงจำเป็นต้องโฆษณาเพื่อรักษาชื่อเสียงรักษาค่านิยมให้คงอยู่เสมอ  เพราะถ้าหยุดโฆษณา ลูกค้าจะรู้สึกว่าสินค้าที่กำลังใช้อยู่หมดยุคหมดสมัยไปแล้ว การที่สินค้าหรือบริการที่ใช้ยังคงโฆษณาอยู่ ยังมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมกันอยู่เสมอ จึงเป็นการป้องการกันมิให้ลูกค้าหรือบริการของคู่แข่งขัน


วัตถุประสงคทั่วไปของการโฆษณา
 
 
     1. เพื่อเพิ่มการใช้ให้บ่อยขึ้น (to increase the often of use)  สินค้าหรือบริการบางอย่างไม่มีความจำเป็นจะต้องซื้อต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เท่าใดนัก หรือจำเป็นต้องใช้แต่จำเป็นต้องใช้บ่อย ๆ  ไม่จำเป็นต้องใช้มาก ๆ ก็ได้  ผู้โฆษณาจึงจำเป็นต้องกระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคนึกถึง  และใช้สินค้าหรือบริการบ่อย ๆ หรือใช้ให้มากขึ้นเพื่อให้สิ้นค้าหรือบริการนั้นกลายเป็นสิ่งคุ้นเคยในชีวิต ประจำวัน  ให้ผู้บริโภคได้อุดหนุนสินค้าหรือบริการนั้นมากขึ้น
เช่น เพื่อสุขภาพปากและฟัน ควรแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร ด้วยยาสีฟัน
  
2. เพื่อเพิ่มการใช้ได้หลายทาง (to increase the variety of use) สินค้าใดที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายทาง การโฆษณามักจะพยายามเน้นให้เห็นประโยชน์หลาย ๆ  ด้านเพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่าคุ้มค่าแก่การซื้อการใช้ และตลาดการจำหน่ายก็สามารถแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น ยาหม่อง ............  ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ แก้หวัด คัดจมูก ปวด เมื่อย เคล็ด ขัด ยอก ทาถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

     3. เพื่อเพิ่มการสับเปลี่ยน (to increase the frequency) เป็นการโฆษณาโดยวัตถุประสงค์จะให้ผู้บริโภคเปลี่ยนจากสินค้ายี่ห้ออื่นมาใช้ ยี่ห้อที่โฆษณา  หรือให้ผู้บริโภคที่ใช้สินค้ายี่ห้อที่โฆษณาอยู่  ให้เปลี่ยนมาใช้รุ่นใหม่ที่ปรับปรุงหรือพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อให้การขายสินค้าให้มากยิ่งขึ้น เช่น  นำโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่ามาแลกซื้อรุ่นใหม่  ด้วยข้อเสนอที่ให้ประโยชน์น่าสนใจหลายประการ
  
4. เพื่อเพิ่มปริมาณการซื้อ (to increase the quantity purchased) สินค้าหรือบริการโดยทั่วไปมักต้องการให้ผู้บริโภคซื้อหรือใช้บริการในปริมาณ มากโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ให้สะสมบัตรหรือคูปองสำหรับลดราคาพิเศษเมื่อครบจำนวน ใช้แลกซื้อของแถมในราคาพิเศษ
เช่น ...ซื้อ2 แถม 1 
     5. เพื่อยืดฤดูกาลซื้อให้ยาวออกไป (to increase the length of the buying season)  สินค้าหรือบริการบางอย่าง นิยมซื้อหรือใช้ในฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่ง  หรือระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเมือหมดฤดูกาลซื้อจะทำให้ยอดขายตก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการโฆษณาสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการขาย เช่น เสื้อกันหนาว ชุดอาบน้ำ โรงแรม สถานที่พักตากอากาศ หรือชุดนักเรียน ที่ 1 ปี จะมีช่วงเวลาซื้อขายในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ฯลฯ โดยการให้ส่วนลดหรือจักรายการพิเศษต่าง ๆขึ้น