Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Red Ocean แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Red Ocean แสดงบทความทั้งหมด

Red Ocean strategy


อธิบาย Red Ocean, Blue Ocean และ White Ocean พร้อมยกตัวอย่างทั้ง 3 กลยุทธ์

Red Ocean strategy


หรือ กลยุทธ์ Red Ocean นั้นก็คือการทำธุรกิจที่มีคู่แข่งขันสูงแต่หากมีการขยายความให้มีความหมายที่ลึกและชัดเจนมากยิ่งขึ้นนั้นก็หมายถึงว่าบริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมแต่ละรายก็มุ่งเน้นจะเอาชนะคู่แข่งคนอื่นๆ่เพื่อที่จะแย่งชิงลูกค้ามาให้ได้มากที่สุด และทำให้ได้กำไรมากที่สุดโดยที่ แนวทางส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเน้นไปที่ ดูว่าคู่แข่งทำอะไรบ้างและบริการของคู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อคู่แข่งออกสินค้าหรือบริการอะไรใหม่ออกมาก็จะทำตามและออกสินค้าใหม่ออกมาเช่นเดียวกันเพื่อไม่ให้น้อยหน้าและแย่งลูกค้าซึ่งกันและกันและเมื่อวงจรนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมก็จะมีลักษณะที่เหมือนกันหาความแตกต่างของสินค้าได้ยากและนำไปสู่การแข่งขันทางด้านราคาเป็นหลัก ซึ่งก็จะไม่ทำให้ใครได้ประโยชน์หรือเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนที่แท้จิง และนี่คือความหมายของ กลยุทธ์ที่เรียกว่า Red Ocean

ตัวอย่าง Red Ocean strategy : ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
จะเห็นได้ว่าธุรกิจโทรศัพท์มือถือมีการแย่งลูกค้าทางการตลาดกันมากเมื่อคู่แข่งออกแบบโทรศัพท์ที่มีฟังก์ชั่นไหนมาใหม่แล้วขายดีหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้าก็จะแข่งกันผลิตขึ้นมาและกลายเป็นว่ามีการแข่งขันทางการตลาดสูงทำให้ขายไม่ได้และผู้ประกอบการก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากขาดทุน

Blue Ocean strategy


หรือ กลยุทธ์ Blue Ocean นั้นก็จะเป็นกลยุทธ์ที่ตรงกันข้ามกับ Red Ocean หลักการของ
Blue Ocean นั้นจะไม่มุ่งเน้นทำในสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรือสิ่งที่ยังไม่มีขึ้นมาใหม่โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้าและอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า
โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร
หรือกล่าวอีกนัยหน่งว่า กลยุทธ์ Blue Ocean ก็คือธุรกิจที่มีคู่แข่งขันน้อยหรือไม่มีคู่แข่งขันนั่นเอง

ตัวอย่าง Blue Ocean strategy : เวิร์ค พอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์

จะเห็นได้ว่า เวิร์ค พอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ถือเป็นต้นแบบของการใช้กลยุทธ์การตลาดบลู โอเชียน ของวงการโทรทัศน์ เกมโชว์ในรูปแบบวาไรตี้ เช่น ชิงร้อย ชิงล้าน หรือระเบิดเถิดเถิง เป็นการสร้างรายการฉีกรูปแบบเกมโชว์ทั่วไปที่มีนับสิบรายการต่อสัปดาห์ใน เวลานั้น ไปสู่ตลาดที่ไร้ซึ่งคู่แข่งแต่คงไว้ซึ่งองค์ประกอบความสนุกของรายการเกมโชว์ครบถ้วน เช่นเดียวกับ เกมโชว์ในแนวสร้างความรู้ อย่าง แฟนพันธุ์แท้,
เกมทศกัณฑ์ และกล่องดำ รางวัลชนะเลิศการประกวดรายการโทรทัศน์แห่งเอเชีย แสดงให้เห็นถึงควาสำเร็จในการผลิตรายการที่มีความแปลกใหม่ ออกไปจากตลาด แต่ได้รับความนิยม ได้เป็นอย่างดี


White Ocean strategy

เป็นส่วนของกลยุทธที่อยู่ในอุดมคติที่มีการพูดถึงหลายปีมาแล้วสาเหตุที่มีการพูดถึงWhite Ocean
ก็เนื่องมาจากว่าเมื่อมี Blue Ocean แล้วก็ยังมีการแข่งขันกันมากขึ้นจน Blue Ocean จะกลายเป็น
Red Ocean มากขึ้นทุกวันจึงมีการคิดที่จะสร้างกลยุทธ์ White Ocean ขึ้นมาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ , ลูกค้า และสังคม ซึ่งต้องประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ เป็นการสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในกลุ่มธุรกิจและสังคม


ตัวอย่าง White Ocean strategy : บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นจำกัด

ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ White Ocean ทำให้ได้ลูกค้าที่มีแนวคิดเดียวกัน หรือที่เรียกได้ว่าเป็น "ธรรมะจัดสรร" ยกตัวอย่าง กลุ่มทาทาซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ของอินเดีย ที่เข้ามาขยายธุรกิจในเมืองไทย และมีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจด้วยการมุ่งเป้าหมายเพื่อช่วยให้สังคมที่ องค์กรธุรกิจเข้าไปอยู่ร่วมเป็นสังคมที่มีความหวังมากขึ้น ประกอบกับการใช้คุณธรรมและจริยธรรม ทำให้สามารถสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจเติบโตมาถึง 300 ปี