Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ด้วยการใช้บริการ E-Mail Marketing

เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ด้วยการใช้บริการ E-Mail Marketing

1 ใน 3 วิธีเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้กับเว็บไซต์ของคุณ

Opentracker ขอแนะนำ 3 วิธีในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์อย่างรวดเร็วให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยทั้ง 3 วิธี
ในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จะทำให้คุณทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับ :
  1. การใช้บริการจัดทำ และจัดส่งจดหมายข่าวออนไลน์ของเว็บไซต์การตลาดชั้นนำ
  2. การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay-per-click และ adword ใน Google ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า
    เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์
  3. การซื้อจำนวนการคลิกเข้าชมเว็บไซต์
ทุกเว็บไซต์ล้วนต้องการที่จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้มากที่สุด แต่ในความจริง ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเพิ่มจำนวน
ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เหล่านั้นเข้ามาชม หรือซื้อสินค้าจากเว็บไซต์คุณ Opentracker ขอแนะนำ 3 วิธี
ในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จากประสบการณ์ตรงของเรา
โดย 3 วิธีดังกล่าว ได้แก่ 1) การใช้บริการ e-mail marketing โดยการจัดทำและจัดส่ง e-mail ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถเพิ่ม
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้เป็นจำนวนมาก หากได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี และจัดส่งไปยังผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่
เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง 2) การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ในรูปแบบ pay-per-click และ 3) การซื้อจำนวน
การคลิกเข้าชมเว็บไซต์
ข้อสังเกต : โดยทั่วไปข้อมูลการค้า หรือข้อมูลการทำตลาดของบริษัทชั้นนำมักจะถูกปกปิดไว้เป็นความลับเสมอ
และไม่ง่ายนักที่คุณจะสามารถค้นหาข้อมูลดังกล่าวในอินเทอร์เน็ตได้ แต่ Opentracker จะเปิดโอกาสให้คุณได้
ทราบถึงทุกวิธีการทำการตลาดของเรา เพื่อให้คุณสามารถนำกลยุทธ์การตลาดของเราไปประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์
ของคุณได้

วิธีที่ 1 การใช้บริการ e-Mail Marketing

การวางแผน

Opentracker ใช้บริการจัดทำและจัดส่ง e-mail ของเว็บไซต์การตลาดชั้นนำ 2 เว็บไซต์ด้วยกัน โดยเสียค่าบริการ
ให้กับเว็บไซต์แรก และเว็บไซต์ที่ 2 เป็นเงินจำนวน 750 และ 1,000 เหรียญสหรัฐตามลำดับ
เราใช้ลิงค์ทั้งในรูปแบบข้อความตัวอักษร และแบนเนอร์ในการจัดทำ e-mail เพื่อใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์
เว็บไซต์ของเรา และได้ทำการจัดส่ง e-mail ไปยังผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต โดยที่เว็บไซต์แรก และเว็บไซต์ที่ 2
ได้จัดส่ง e-mail ไปยังผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นจำนวน 25,000 และ 500,000 คนตามลำดับ
เป้าหมายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของเราในครั้งนี้ ก็คือ เพิ่มจำนวนการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ 300 - 3,000 ครั้ง
และคาดหวังว่า 10% ของจำนวนการคลิกนั้นจะเข้ามาชมหน้าเว็บไซต์สำหรับทดลองใช้บริการ tracking ฟรี รวมทั้งทดลอง
เข้าใช้บริการ tracking ฟรี เป็นเวลา 30 วัน นอกจากนี้ยังคาดหวังอีกด้วยว่า หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาทดลองใช้บริการ
tracking ฟรี 30 วันแล้วจะมียอดการสมัครเป็นสมาชิกบริการ tracking เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ เรายังได้ใช้หน้าเว็บไซต์แรกที่เข้าชมจากลิงค์ของ e-mail ให้แตกต่างกัน เพื่อที่จะทำให้เราสามารถตรวจสอบได้
ว่า ลิงค์ในe-mail ของเว็บไซต์การตลาดแรก หรือเว็บไซต์ที่ 2 ที่สามารถดึงดูดผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้เข้าชมเว็บไซต์ของ
เราได้มากกว่ากัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

บริการ e-mail marketing ของทั้ง 2 เว็บไซต์สามารถเพิ่มจำนวนการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
บริการจัดทำและจัดส่ง e-mail ของเว็บไซต์แรกสามารถดึงดูดให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เข้าชมหน้าเว็บไซต์สำหรับทดลองใช้บริการ
tracking ฟรีได้ 10% ตามเป้าหมาย แต่ไม่สามารถโน้มน้าวใจให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ทดลองเข้าใช้บริการ tracking ฟรีได้
ในขณะที่บริการจัดทำและจัดส่ง e-mail ของเว็บไซต์ที่ 2 มีผู้เข้าชมหน้าเว็บไซต์สำหรับทดลองใช้บริการ tracking ฟรี และมีผู้
เข้าชมเว็บไซต์ทดลองใช้บริการไม่ถึง 10% ซึ่งสถิติดังกล่าวทำให้เราทราบอย่างชัดเจนว่า จดหมายข่าวออนไลน์ของเว็บไซต์ที่
2 ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้น้อยกว่า e-mail ของเว็บไซต์แรก

การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เราทำการวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ :
  1. ค่าบริการโดยเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คน
  2. จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คน ซึ่งจะทำให้คุณสามารถประเมินผลได้ว่า
    การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ของคุณในครั้งนี้สามารถเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย
    ได้หรือไม่
  3. เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นลูกค้าแท้จริง (ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ทดลองเข้าใช้บริการ tracking ฟรี์)

การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

  1. ค่าบริการโดยเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คนสูงเกินกว่าที่เราคาดหมายไว้ เพราะเราต้องเสียค่าบริการ
    โดยเฉลี่ยเป็นจำนวนเงิน 0.5 และ 1 เหรียญสหรัฐต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คน สำหรับเว็บไซต์แรก
    และเว็บไซต์ที่ 2 ตามลำดับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็เคยเสียค่าบริการโดยเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คน
    เป็นจำนวนเงินสูงถึง 4 เหรียญสหรัฐ ซึ่งค่าบริการดังกล่าวคงไม่ใช่ค่าบริการที่แพงเกินไปนัก ถ้าหาก
    ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์รายนั้นเป็นลูกค้าที่แท้จริงของเว็บไซต์คุณ
  2. จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คน สถิติดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ
    การเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่แตกต่างกันของทั้ง 2 เว็บไซต์ บริการจัดทำและจัดส่ง e-mail ของเว็บไซต์
    แรกและเว็บไซต์ที่ 2 มีสถิติจำนวนหน้าเว็บไซต์ที่เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คน คือ 7.5 หน้า
    และ 2.5 หน้า สถิติที่เราได้รับทำให้เราต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้บริการจัดทำและจัดส่ง e-mail สามารถจัดส่งไป
    ถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผู้เข้าชมสนใจในบริการจัดทำและจัดส่ง e-mail
    ของเว็บไซต์แรกมากกว่า เว็บไซต์ที่ 2 ด้วย
  3. เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เป็นลูกค้าแท้จริง (ผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ทดลองเข้าใช้บริการ tracking ฟรี์) จาก
    จดหมายข่าวออนไลน์ของเว็บไซต์แรกมีจำนวนมากกว่าเว็บไซต์ที่ 2 โดยสังเกตง่ายๆ จากจำนวนหน้าเว็บไซต์
    ที่เข้าชม โดยเฉลี่ยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ 1 คน ถ้าสถิติดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ โอกาสในการเพิ่มจำนวนผู้เข้า
    ชมเว็บไซต์ให้กับเว็บไซต์ก็น้อยลงตามไปด้วย

หน้าเว็บไซต์แรกที่เข้าชมจากลิงค์

ในกรณีที่คุณจัดทำโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์มากกว่า 1 วัน
เราขอแนะนำให้คุณทดลองเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์แรกที่เข้าชมจาก
ลิงค์ทั้งนี้ก็เพื่อวัดประสิทธิภาพหน้าเว็บไซต์หน้าแรกที่เข้าชมจาก
ลิงค์ว่าสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้หรือไม่นั่น
เองแผนภาพนี้จะทำให้คุณได้ทราบว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์เข้าชมที่ใด
และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับการเข้าชมมากที่สุดด้วย
จำนวนหน้า
เว็บไซต์ที่เข้าชมโดยเฉลี่ยที่เราได้รับอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าพึงพอ
ใจเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เราทราบว่าไม่มีผู้เข้าชมเว็บไซต์รายใด
ที่เข้าชมหน้าเว็บไซต์ที่เราคาดหวัง (หน้าเว็บไซต์สำหรับการลง
ทะเบียนเข้าใช้บริการ tracking) เราจึงทำการเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์
แรกที่เข้าชมจากลิงค์มาเป็น 'หน้าลงทะเบียนเข้าใช้บริการ tracking ฟรี'
แต่ผลที่ได้รับกลับทำให้จำนวนหน้าเว็บไซต์ที่เข้าชมโดยเฉลี่ยลดลงจาก
เดิม
เพราะฉะนั้นจึงทำให้เราทราบว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์ส่วนใหญ่มักไม่สนใจหน้าเว็บไซต์สำหรับการลงทะเบียน
เข้าใช้บริการของเว็บไซต์โดยตรง
วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้าชมหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการ
(หน้าเว็บไซต์สำหรับการลงทะเบียนเข้าใช้บริการ tracking) ก็คือ ต้องทำการออกแบบ และจัดสร้างหน้าเว็บไซต์
ทุกหน้าของเว็บไซต์ให้สวยงามเพื่อให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เกิดความประทับใจนั่นเอง ซึ่งจากการใช้บริการจัดทำ
และจัดส่ง e-mail ของเว็บไซต์การตลาดชั้นนำ 2 เว็บไซต์ สรุปได้ว่า ลิงค์ข้อความตัวอักษรสามารถดึงดูดให้ผู้
ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้ามาชมเว็บไซต์ของเราได้เป็นจำนวนมาก
(ดูจากแผนภาพ)


ลิงค์ข้อความตัวอักษร คือ รูปแบบของลิงค์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

แผนภาพด้านบน (คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่ขึ้น) จะทำให้คุณได้ทราบถึงเปอร์เซ็นต์การคลิกรูปภาพ
หรือลิงค์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ จากสถิติที่เราได้รับทำให้เราทราบว่า ลิงค์ข้อความตัวอักษรที่อยู่ด้านล่างของ
e-mail สามารถดึงดูดให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เข้ามาชมเว็บไซต์ของเราได้เป็นจำนวนมาก

สรุปผล : การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ด้วยการใช้จดหมายข่าวออนไลน์

คุณไม่มีทางทราบได้เลยว่า  ผู้เข้าชมเว็บไซต์รายใดบ้างที่เป็นลูกค้าแท้จริงของเว็บไซต์คุณ และก็ไม่สามารถ
รับรองได้ด้วยว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณจะใช้บริการ หรือซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ของคุณ  วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้
การโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ด้วยการใช้จดหมายข่าวออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ก็คือ ทำการจัดส่ง
e-mail ไปยังผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตให้ถูกกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด และทำการออกแบบ และจัดสร้างหน้า
เว็บไซต์ให้ทุกหน้าดูสวยงาม เข้าใจและใช้งานได้ง่าย
ไม่มีใครสามารถ "บังคับ" ให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเข้ามาชม หรือซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของคุณได้ แม้กระทั่ง
ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณอยู่ในขณะนี้ คุณก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า ผู้เข้าชมเว็บไซต์รายนี้จะเป็นลูกค้าแท้จริง
ของเว็บไซต์ของคุณ เพราะผู้เข้าชมเว็บไซต์รายนี้อาจได้รับการว่าจ้างให้เข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณก็เป็นได้
ซึ่งเราจะทำการชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีดังกล่าวอย่างชัดเจนอีกครั้งในวิธีที่ 3

งบประมาณที่ใช้

จากประสบการณ์ตรงของเรา เราขอแนะนำให้คุณสำรองงบประมาณไว้มากกว่า 1 พันเหรียญสหรัฐ (โดยปกติ
เว็บไซต์ต่างๆ จะใช้งบประมาณสำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ประมาณ  500 - 1,000 เหรียญสหรัฐ
ต่อเดือน) เพื่อทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ และเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง หรือคุณ
อาจจะใช้งบประมาณที่น้อยกว่านี้ก็ได้ คุณอาจจะค้นพบแนวทาง หรือกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ใหม่ๆ ก็เป็นได้

การซ่อนกล้อง NoteBook ใน Msn

หลายคนคงเจอปัญหา...ไม่อยากให้คนอื่นเห็นว่าเรามีกล้อง Webcam ขณะที่เล่น MSN หรือ อยากซ่อน icon กล้อง Webcam ของ MSN ไม่ ให้คนอื่นเห็นว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรามีกล้อง โดยเฉพาะ Laptob รุ่นใหม่ๆ มักจะมีกล้อง Webcam มาพร้อมกับเครื่อง และเมื่อเรา Online ใน MSN เครื่องก็จะแสดง icon บอกกับคู่สนทนาว่าเรามีกล้อง...
    ส่วนใหญ่หลายคนคิดว่าไม่ได้มีปัญหาอะไร ใครจะรู้ก็ช่าง... แต่บางคนก็เจอปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับกล้อง เช่น
    - มีมือดีแอบมาเปิดกล้องโดยไม่ได้รับอนุญาต
    - บางคนลืมปิดไว้หรือ login อัตโนมัติ ก็เจอกรณีแบบไม่ได้ตั้งใจขึ้นได้ ('-')
    - โดนก่อกวนจากคนที่เราไม่ประสงค์จะเสวนาด้วย ผ่านกล้อง Webcam
    - หรือ ฯลฯ
    สรุปคือ ไม่อยากให้คนทั่วไปที่เข้ามาคุยกับเรา รู้ว่ามีกล้อง...แต่ถ้าต้องการใช้ก็เปิดเฉพาะเป็นกรณีไป...นั่นเอง
    วันนี้  ผู้เขียนก็เลยนำวิธีการซ่อนกล้อง Webcam มาฝาก เผื่อใครสนใจนำไปใช้ต่อ และต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก THAIMSN.NET มาอีกต่อหนึ่ง
    มาปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆ กัยเลยดีกว่า...
    1. เข้าหน้าหลัก MSN เลือก Show manu จากนั้นโปรแกรมจะแสดงรายการทั้งหมด
    2. เลือกเมนูเครื่องมือ หรือ Tools
     3. จะปรากฎรายการหลายอย่าง เลือกเมนู Audio and video setup จะปรากฎหน้าต่างดังภาพล่าง
    4. เลือกเมนู Disable คือ ปิดใช้งาน
    5. กด ถัดไป หรือ next จะปรากฎหน้าต่างดังภาพล่าง
    6. เลือกเมนู Disable คือ ปิดใช้งาน
    7. กด เสร็จสิ้น หรือ finish ก็เรียบร้อย
       จากนั้น  สามารถเปิดหน้า MSN ดูว่าเห็น icon กล้อง Webcam หรือไม่ ซึ่งจะมองไม่เห็น...แต่ถ้าต้องการกลับมาใช้กล้อง ก็ทำเหมือนเดิม แต่เลือกเมนู Default ก็จะสามารถนำกล้องมาใช้งานได้ตามปกติ ตามที่เราต้องการคะ...

เกมส์ , เกมส์ , เกมส์ ,เกมส์ , เกมส์ , เกมส์, เกมส์ ,
เกม , เกม , เกม ,เกม, เกมส์ทำอาหาร ,, เกมส์ทำอาหาร,เกม ,
ฟังเพลง 73,948 ฟังเพลง 75,791 ฟังเพลง 77,240 เกมส์ทำอาหาร 84,509 game 97,461 game 82,876 เกมส์ทำอาหาร game ,game , เกมส์ทำอาหาร , game, เกม ,เกม ,ฟังเพลง ,
เกมส์ทำอาหาร 66,792 เกมส์ทำอาหาร 65,906 game 71,338 ฟังเพลง 77,663 ฟังเพลง 80,056 ฟังเพลง 69,620 game 66,119
ดูดวง 66,089 ดูดวง 65,619 ดูดวง 67,782 ดูดวง 59,869 ผลบอล 68,811 ผลบอล 67,684 ดูดวง 63,124
เกมส์แข่งรถ 40,624 ผลบอล 52,276 ผลบอล 64,957 ผลบอล 47,415 เกมส์แต่งตัว 47,031 เกมส์แต่งตัว 44,338 ผลบอล 52,591
ผลบอล 39,948 เกมส์แข่งรถ 41,490 เกมส์แข่งรถ 42,158 เกมส์แข่งรถ 44,847 ดูดวง 46,401 ดูดวง 42,202 เกมส์ปลูกผัก 40,263
แช ท 35,231 ดูทีวีย้อนหลัง 40,702 เกมส์ปลูกผัก 39,662 เกมส์ปลูกผัก 41,179 เกมส์ต่อสู้ 44,205 เกมส์ปลูกผัก 39,008 เกมส์แข่งรถ 40,186
เกมส์ปลูกผัก 34,914 เกมส์ปลูกผัก 38,307 แชท 36,435 ดูทีวีย้อนหลัง 37,857 เพลง 43,844 เพลงใหม่ 38,444 ดูทีวีย้อนหลัง 39,979
เพลง 33,714 แชท 34,943 ดูทีวีย้อนหลัง 35,589 เพลง 37,252 เกมส์ปลูกผัก 41,953 เพลง 38,217 เพลง 33,271
ดูทีวีย้อนหลัง 33,604 เพลง 33,946 เพลง 34,804 เกมส์ต่อสู้ 36,550 เพลงใหม่ 41,553 เกมส์แข่งรถ 36,922 แชท 32,821
เพลงใหม่ 32,596 ฟังเพลงออนไลน์ 33,327 เกมส์ต่อสู้ 34,216 เพลงใหม่ 34,962 เกมส์แข่งรถ 40,199 เกมส์ต่อสู้ 36,884 เพลงใหม่ 32,811
ฟัง เพลงออนไลน์ 31,740 เกมส์ต่อสู้ 33,164 ฟังเพลงออนไลน์ 33,489 แชท 34,789 ดูทีวีย้อนหลัง 37,164 ดูทีวีย้อนหลัง 36,696 เกมส์ต่อสู้ 31,282
เกมส์จับคู่ 30,766 เพลงใหม่ 31,308 เพลงใหม่ 32,682 เกมส์แต่งตัว 34,071 เกมส์เต้น 36,393 เกมส์เต้น 30,595 เกมส์จับคู่ 29,791
เกมส์ ต่อสู้ 29,283 เกมส์จับคู่ 30,933 เกมส์จับคู่ 30,921 ฟังเพลงออนไลน์ 33,607 ฟังเพลงออนไลน์ 34,079 ฟังเพลงออนไลน์ 28,170 ฟังเพลงออนไลน์ 29,395
รถมือสอง 27,730 sanook 28,048 เกมส์แต่งตัว 29,067 เกมส์จับคู่ 32,062 แชท 30,738 แชท 24,488 เกมส์แต่งตัว 28,080
เกมส์เต้น 26,933 รถมือสอง 27,333 เกมส์เต้น 27,811 เกมส์เต้น 30,914 เกมส์จับคู่ 27,655 เกมส์จับคู่ 23,375 sanook 27,317
sanook 26,099 เกมส์แต่งตัว 26,944 sanook 27,210 รถมือสอง 27,159 sanook 23,844 รถมือสอง 22,322 รถมือสอง 27,349
เกมส์แต่งตัว 25,214 เกมส์เต้น 25,967 รถมือสอง 26,640 sanook 27,013 รถมือสอง 23,812 หาเพื่อน 20,201 เกมส์เต้น 25,608
ไทยรัฐ 19,688 ฟังวิทยุ 20,322 ฟังวิทยุ 20,526 ฟังวิทยุ 20,087 เพลงฮิต 23,595 sanook 19,873 งานราชการ 20,547
งานราชการ 19,206 ไทยรัฐ 19,628 ไทยรัฐ 19,394 เพลงฮิต 19,486 ฟังวิทยุ 20,632 เพลงฮิต 18,850 ไทยรัฐ 20,484
ฟังวิทยุ 18,983 หาเพื่อน 18,028 หาเพื่อน 19,310 ไทยรัฐ 18,960 หาเพื่อน 19,615 เพลงรักสนุก 18,652 รอยรักรอยบาป 20,260
หาเพื่อน 18,212 หางาน 17,930 เพลงฮิต 17,907 หาเพื่อน 18,783 เกมส์ออนไลน์ 18,831 ฟังวิทยุ 17,560 ฟังวิทยุ 19,733
หางาน 18,063 งานราชการ 17,880 งานราชการ 17,587 mthai 17,458 เกมส์มันๆ 18,680 รักสนุก 16,847 หาเพื่อน 19,371
ข่าวสด 16,536 เพลงฮิต 17,690 หางาน 16,756 งานราชการ 16,683 mthai 17,543 เกมส์ออนไลน์ 16,600 หางาน 18,847
mthai 16,334 mthai 16,915 mthai 16,640 เกมส์รถแข่ง 16,350 เกมส์รถแข่ง 16,580 mthai 16,373 mthai 17,351
เพลงฮิต 16,086 ข่าวสด 16,385 ดูดวงความรัก 15,964 หางาน 15,783 ผลบอลสด 17,156 เกมส์มันๆ 16,219 เพลงฮิต 17,248
kapook 14,897 ดูดวงความรัก 15,577 kapook 15,715 คุยสด 16,045 dek-d 16,172 dek-d 16,161 kapook 16,286
ดูดวงความรัก 14,722 kapook 15,558 คุยสด 15,292 kapook 15,564 เพลงรักสนุก 16,074 เกมส์รถแข่ง 15,409 dek-d 16,059

สารท จีน , ไข้หวัด2009 , ศิริมงคล สิงห์วังชา , f(x) , af6 , แฟนเก่า , 2pm , miss universe 2009 , มดคันไฟ invicta , เรื่องย่อละคร , รุกฆาต , มูยุล , รอยรักรอยบาป , หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น , ไฟโชนแสง , วงเวียนหัวใจ , ไฟรักอสูร , พระจันทร์ลายพยัคฆ์ , จำเลยกามเทพ , บ่วงร้ายพ่ายรัก , f4 เกาหลี , ชิงชัง , สะใภ้ใจเด็ด , มงกุฎแสงจันทร์ , วิวาห์ว้าวุ่น , แชทหมากฮอส , ไวรัส msn , โค้ดลบโฆษณาในhi5 , เพลงใหม่ , เพลงฮิต
 

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

1. ความมุ่งหมายและความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์ คือ วิธีการและการติดต่อสื่อสารขององค์กร หน่วยงาน ที่มีแผนการในการสร้าง หรือรักษาไว้ ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง (ทั้งกลุ่มคนในหน่วยงาน และกลุ่มคนหน่วยงาน) ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สร้างความเชื่อถือ ศรัทธา และให้ความสนับสนุนร่วมมือซึ่งกันและกัน เพื่อให้งานของหน่วยงานดำเนินไปด้วยดี โดยมีประชามติเป็นแนวพื้นฐาน
(ข้อมูลจาก http://km.ratchaburi.com/modules.php?name=News&file=article&sid=402)

2.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์
2.1 ส่วนประกอบ 4 ประการของการประชาสัมพันธ์
            1.การประชาสัมพันธ์เป็นปรัชญาการจัดการที่เห็นความสำคัญของสังคมที่เน้นประโยชน์ของประชาชนมาก่อนสิ่งอื่นใด
            2.การประชาสัมพันธ์เป็นปรัชญาทางสังคมที่แสดงไว้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย ซึ่งสะท้อนปรัชญาที่จะให้ประโยชน์แก่ประชากรเป้าหมาย
           3.การประชาสัมพันธ์เป็นการกระทำที่มีผลมาจากนโยบายที่ดี  หน่วยงานนั้นจะถูกตัดสินโดยสิ่งที่เขาทำ ไม่ใช่สิ่งที่เขาพูด  ประชาสัมพันธ์เป็น Line Function ของหัวฝ่ายทุกฝาย
          4.การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสาร ที่จะแสดงอธิบายบรรยายหรือส่งเสริมนโยบายของหน่วยงานและปฏิบัติต่อประชากรเป้าหมาย เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และความรู้สึกที่ดีต่อหน่วยงาน เป็นการสื่อสารปรัชญา ดังกล่าวไปสู่ประชากรเป้าหมาย

2.2 กระบวนการและขั้นตอนของการดำเนินงานประชาสัมพันธ์

     1. การวิจัยและรับฟังความคิดเห็น (Research-Listening)
     2. การวางแผนและการตัดสินใจ (Planning-Decision making)
     3. การติดต่อสื่อสาร (Communication-Action)
     4. การประเมินผล (Evaluation)

2.3 ข้อควรคำนึงสำหรับผู้วางแผนการประชาสัมพันธ์
     1. คนและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ภาวะแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินการประชาสัมพันธ์ดังกล่าว ได้แก่ ภาวะทางเศรษฐกิจ บรรยากาศทางการเมือง สังคม ค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา ประชาชน ความเชื่อถือ ฯลฯ
     2. ปัญหาทั้งในหน่วยงาน และ ภายนอกที่เกิดขึ้นต้องได้รับการแก้ไขให้สิ้นไป
     3. ตรวจสอบเกณฑ์หรือดีกรีของความสำเร็จ ที่ตั้งไว้ว่าเหมาะสมหรือไม่ มากเกินไปหรือไม่ น้อยเกินไปหรือไม่
     4. วิธีการและเครื่องมือที่ใช้อยู่มีสภาพหรือได้ผลดีหรือไม่
     5. การดำเนินการไปถึงประชาชน เป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร
     6. การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่ทำอยู่ มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้างหรือไม่ หรือมีผลอย่างไรบ้าง ฉะนั้น แผนหรือการปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ จึงมักต้องแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ

2.4 งานและหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์
           นักประชาสัมพันธ์ว่าเป็นผู้ที่สร้างสรรค์และรักษาความสัมพันธ์ อันดีระหว่างหน่วยงาน องค์การ กับประชาชน ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างหน่วยงานกับประชาชนด้วยวิธีการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ จำแนกประเภทของงานที่นักประชาสัมพันธ์หรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานทางด้านนี้ไว้ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเขียน นักประชาสัมพันธ์ต้องมีความสามารถในการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ เช่น เขียนข่าวแจก เขียนบทความ เขียนบทวิทยุ เขียนบทโทรทัศน์ เป็นต้น
2. งานบรรณาธิการ นักประชาสัมพันธ์จะต้องทำหน้าที่ในกองบรรณาธิการ คือ การพิจารณาเรื่องราว ข่าวสาร หรือกิจกรรมต่างๆที่ใช้ในการเผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์
3. งานการกำหนดตำแหน่งหน้าที่ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อมวลชนสัมพันธ์
4. งานด้านการส่งเสริม
5. งานด้านการพูด
6. งานด้านการผลิต สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ประเภทที่หน่วยงานสามารถผลิตและเผยแพร่ได้
7. งานด้านการวางโครงการ สามารถวางแผนในการจัดทำโครงการ ประชาสัมพันธ์
8. งานด้านโฆษณาหน่วยงาน
2.5 หลักการประชาสัมพันธ์ของนักประชาสัมพันธ์
          1. การโฆษณาเผยแพร่ คือการบอกกล่าวเผยแพร่เรื่องราวของหน่วยงานไปสู่ประชาชน จะเป็นการบอกกล่าวถึงเรื่องราวข่าวสารจากทางหน่วยงานเพียงข้างเดียว ประกอบด้วย    1. กำหนดจุดมุ่งหมายและเนื้อหาจากสาร    2. กำหนดกลุ่มประชาชนเป้าหมาย    3. ใช้สื่อที่เหมาะสมเพื่อให้ข่าวถึงกลุ่มประชาชนเป้าหมาย    4. จัดข่าวสารให้มีลักษณะเป็นกันเองกับกลุ่มผู้รับให้อยู่ในสภาวะที่จะรับและเข้าใจได้ และ    5. จัดข่าวสารและวิธีการบอกกล่าวให้โน้มน้าวใจผู้รับได้

           2.การป้องกันและแก้ความเข้าใจผิด ความเข้าใจผิดหมายถึง ความเข้าใจผิดของประชาชนที่มีต่อหน่วยงาน  ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้นหลายด้าน เช่น ขาดศรัทธา หวาดระแวง ไม่ไว้ใจ จนถึงการไม่ให้ความร่วมมือ การชี้แจงให้ครอบคลุมสาระสำคัญได้แก่    1. นโยบายของหน่วยงาน    2. ความมุ่งหมาย    3. วิธีการดำเนินงาน  และ    4. ผลงานของหน่วยงาน
2.6 เราต้องเข้าใจการทำงานข่าว และการเขียนข่าวของหนังสือพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์
1. จุดเด่นของข่าว :    เน้น
     เร็ว ใกล้ชิด เด่น แปลกใหม่สำหรับมนุษย์ ขัดแย้ง ลึกลับ กระทบ ก้าวหน้าและเรื่องเพศ
2. เขียนข่าวตามแนวกระบวนทัศน์ 4แนวได้แก่
     1.ไสยศาสตร์ 2.ธรรมชาติ ความจริง  ศาสนา ความเชื่อ ความหลุดพ้น3.จักรกล วัตถุนิยม และ4. องค์รวม สุขภาวะ พอเพียง
3 การรวบรวมข่าว
(1)              ผู้สื่อข่าวต้องมีคุณลักษณะ ช่างสังเกต  อยากรู้อยากเห็น รอบรู้ อดทน   รับผิดชอบ  มีมนุษย์สัมพันธ์ มีเหตุผล และมีคุณธรรม
(2)              แหล่งข่าว ภายในประเทศ (ประจำ พิเศษ สำนักข่าว ต่างจังหวัด เอกสาร ปชส. เอกสาร บจก. หจก. บุคคลทั่วไป และต่างประเทศ (Associated Press  U.S.A., United Press International  U.S.A., Reuters  U.K., Agency France Press  Frances, CNN, etc.)
(3)              การสัมภาษณ์              สัมภาษณ์ข้อเท็จจริง สัมภาษณ์ความคิดเห็น
และสัมภาษณ์สะท้อนบุคลิกภาพ
4              รูปแบบการเขียนข่าว
(1)              คุณลักษณะของข่าวถูกต้อง สมดุล เป็นกลาง ชัดเจน ทันสมัย
(2)              หลักการเขียนข่าวให้ความสะดวกผู้อ่าน สนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ สะดวกต่อการจัดหน้าเรียงพิมพ์ สะดวกในการพาดหัวข่าว และใช้แบบการเขียนข่าว ที่เป็นมาตรฐาน
(3)              บทบรรณาธิการ               ประชุมกอง บก.  รวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ ลำดับ เรียบเรียง ข้อมูล ความคิด  ใช้ลีลาการเขียน เข้าใจง่าย น่าสนใจ มีแบบแผน กะทัดรัด สร้างสรรค์ ยุติธรรม
         5                 การเขียนบทความ บทวิจารณ์ เนื้อหาอื่นๆ
         1)              หลักการวิจารณ์:  มาตรฐานของตัวผู้วิจารณ์ (รอบรู้ เป็นกลาง เป็นธรรม) วิธีการรายงาน ลักษณะงาน และประทับใจ
         2)              งานที่นำมาวิจารณ์: -หนังสือ ข้อเขียนต่างๆ-การแสดง ละคร -ดนตรี ภาพยนตร์ -รายการวิทยุ โทรทัศน์
-ปาฐกถา อภิปราย และ-ศิลปกรรมต่างๆ ภาพวาด ภาพถ่าย วรรณคดี
         6              บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ และกองบรรณาธิการ
1)              ตรวจแก้ ปรับปรุงต้นฉบับ เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
ชัดเจน กระชับ การใช้ภาษา การใช้ไวยากรณ์ สะกด การันต์ ตรวจสอบข้อเท็จจริง  การใช้อักษรย่อ  ขจัดความคิดเห็นออกไป  ปรับเนื้อหาให้กระชับ  และตัดคำ ความ ที่สุ่มเสี่ยงต่อละเมิดกฎหมาย
2)              พาดหัวข่าว: ดึงดูดความสนใจ ให้สาระสำคัญ จัดหน้าให้สวยงาม  บอกลำดับความสำคัญ และสร้างบุคลิกและเอกลักษณ์ของหนังสือพิมพ์
3)              สั่งตัวพิมพ์
4)              จัดภาพข่าว คำนึงถึงประโยชน์ คุณภาพ ขนาดภาพ และ
คำบรรยาย (ชนิดเป็นส่วนหนึ่งของข่าว ชนิดแยกหน้า ชนิดภาพเป็นข่าว ชนิดอธิบายภาพประกอบ)
5)              จัดหน้า
วัตถุประสงค์การจัดหน้า: ระเบียบ สวยงาม อ่านง่าย สบายตา ลำดับความสำคัญของข่าว สร้างเอกลักษณ์ นสพ.และส่งเสริมการอ่าน
              ศิลปะ:สมดุล แตกต่าง สัดส่วน เอกภาพ
              การจัดหน้า ปกหน้า ปกหน้าใน
              การจัดหน้าโฆษณา


3. เป้าหมายและวิธีการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์

3.1วัตถุประสงค์ของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
                 การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นการเขียนที่แตกต่างจากเขียนประเภทอื่นๆทั้งนี้เนื่องจากมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากการเขียนทั่วไปขณะที่การเขียนโดยทั่วไปมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข่าวสารความเข้าใจ แต่การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนเป้าหมายเกิดความรู้  วัตถุประสงค์พื้นฐานมี 7 ประการ
1.การเขียนเพื่อบอกกล่าวให้เข้าใจเพื่อให้ได้รับรู้ว่าอง๕กรทำอะไร ทำอย่างไร เมื่อใด เพื่ออะไร เพราะอะไร ที่ไหน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ
2.การเขียนเพื่อให้ประชาชนยอมรับ เป็นการเขียนโน้มน้าวใจ ชักจูงให้ประชาชนคล้อยตาม โดยยกส่วนดีให้เห็นชัดเจนและใช้ภาษาให้เหมาะกลุ่มเป้าหมาย
3.การเขียนเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิด
4.การเขียนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
5.การแก้ไขเพื่อความเข้าใจผิด
6.การเขียนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี
7.การเขียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด
                    รูปแบบของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์กร มีการเขียนในลักษณะต่าง ๆ  เช่น การเขียนข่าวแจก  การเขียนคำปราศรัยสุนทรพจน์ในโอกาสต่าง ๆ การเขียนแถลงการณ์   การเขียนบทความ
การเขียนบรรยายสรุป  การเขียนทางวิชาการ การเขียนคำอธิบายภาพ  การเขียนคำบรรยายประกอบภาพนิ่ง
การเขียนบทภาพยนตร์และวิทยุโทรทัศน์

3.2วิธีการเขียนเนื้อหาข่าว 

      1. การเขียนเนื้อข่าวตามโครงสร้างแบบปีรามิดหัวกลับ ที่ต้องการบอกข่าวแก่ผู้ฟังว่า ข่าวนั้นอะไร สำคัญที่สุดก่อน อะไรที่สำคัญรองลงมาจะบอกผู้ฟังทีหลัง การเขียนแบบนี้ จะเริ่มต้นด้วยการเขียนเนื้อหา รายละเอียด ประเด็นสำคัญที่สุด ซึ่งกล่าวไว้ในความนำก่อน ต่อจากนั้นก็จะเป็นเนื้อหาขยายรายละเอียดประเด็นสำคัญลดหลั่นรองลงมาตาม ลำดับ จนถึงย่อหน้าสุดท้ายซึ่งสำคัญน้อยที่สุด
 
2. การเขียนเนื้อหาข่าวตามโครงสร้างแบบปีรามิดหัวตั้ง การเขียนเนื้อหา ข่าวแบบนี้ จะให้รายละเอียดของข้อมูลข่าวในลักษณะที่ค่อยๆ เพิ่มความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่อง จะเปิดเผยให้รู้ในตอนสุดท้ายของเรื่อง คล้ายๆกับการเขียนเรื่อง สั้นหรือนวนิยาย มักใช้กับเรื่องราวที่ไม่จริงจังมากนัก เพราะหากนำประเด็นสำคัญไว้ในความนำ หรือ วรรคนำ ผู้ฟังอาจไม่ติดตาม รับฟังจนจบ

3. การเขียนเนื้อข่าวตามโครงสร้างแบบผสม การเขียนเนื้อข่าวในลักษณะนี้ อาจมีประเด็นสำคัญหรือ จุดที่มีความตื่นเต้นเร้าใจมากกว่า 1 ประเด็น มักนิยมใช้ในกรณีที่เหตุการณ์นั้นดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หรือเหตุการณ์ยังไม่สิ้นสุด การเขียนข่าวจึงอาจเริ่มต้นสรุปประเด็นเท่าที่ทราบก่อนหน้านั้น มาเขียนเป็น ความนำข่าว ขณะที่ เนื้อข่าวก็จะเป็นการอธิบายรายละเอียดขยายความนำ จนกระทั่งถึงจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการหักเหหรือเปลี่ยนแปลงให้เกิดประเด็นสำคัญต่อเนื่องไปจนจบ






โครงสร้างการเขียนข่าวทุกประเภทประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ ความนำข่าว (Lead) เนื้อเรื่อง (Body) และส่วนท้าย (End) ซึ่ง ทั้งสามส่วนหลักนี้จะมีสัดส่วนต่างกันเหมือนลักษณะของรูปไข่ โดยในส่วนของความนำและส่วนท้าย (ส่วนโค้งมนบนและล่างของไข่) มีสัดส่วนน้อยกว่าเนื้อเรื่อง (ส่วนกลางของไข่) โดยในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้
1 ความนำ (lead) คือประโยคหรือสองประโยคแรกของข่าว ซึ่งสิ่งพิมพ์ มักใช้ความนำที่ประกอบด้วย 5 W และ 1 H จึงควรคัดเลือกองค์ประกอบของข่าวที่สำคัญที่สุด 2 หรือ 3 องค์ประกอบในหนึ่งข่าว ที่จะเสนอในความนำ เช่น ใครทำอะไรกระทบกับใคร อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นทีไหน วันเวลาใด ทำไมจึงเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งต่างๆเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการดึงความสนใจจากผู้ฟัง
ข้อแนะนำในการเขียนความนำ
- ความนำทุกประเภทต้องมีความกระชับไม่ยุ่งเหยิง
- สถานที่เกิดเหตุโดยทั่วไปหากไม่มีความสำคัญจริงๆไม่ควรเขียนไว้ในความนำ และหากสำคัญก็สามารถเขียนไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องได้
- ตัว เลขที่เป็นอายุของผู้เกี่ยวข้องในข่าวไม่มีความสำคัญที่จะต้องอยู่ในความนำ แต่หากมีความสำคัญควรเลือกใช้คำอื่นแทน เช่น ชายสูงอายุ หญิงชรา หรือทารกฯลฯ
- การเขียนความนำข่าวที่ดี ควรเขียนถึงเหตุการณ์ว่า เกิดอะไรขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเขียนความนำที่กล่าวถึงสถานที่ หรือสิ่งอื่นๆที่ไม่มีความสำคัญและจำเป็น เพียงพอที่จะดึงความสนใจของผู้ฟัง

2. เนื้อเรื่อง (Body) คือ ส่วนที่ถัดจากความนำ เป็นส่วนของการนำเข้าสู่ข้อมูลใหม่ และขยายส่วนที่ได้กล่าวไว้ในความนำ คือ หลังจากผู้สื่อข่าวได้รวบรวมข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในข่าวทั้งหมดแล้ว โดยเฉพาะข้อเท็จจริงและเนื้อเรื่อง ที่จะนำเสนอขั้นตอนสำคัญที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมด ที่เป็นประเด็นสำคัญๆทั้งหมด และนำมาจัดลำดับเนื้อเรื่องข่าว ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ประเภท
- การจัดลำดับเนื้อเรื่องตามลำดับเวลา ซึ่งเป็นวิธีการที่ ดีที่สุดและง่ายที่สุด สำหรับข่าวที่มีลำดับเหตุการณ์ โดยอธิบายทีละขั้น จากสาเหตุไปสู่ผลกระทบ ส่วนมาจะเป็นข่าวอาชญากรรม หรือข่าวอุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ และการจัดลำดับเนื้อเรื่องตามลำดับเวลานี้ จะอาศัยคำหรือกลุ่มคำที่บอกเวลา เช่น วันนี้ เมื่อวานนี้ หลังจากนั้น ในขณะที่ ล่าสุด การจัดลำดับเนื้อเรื่องตามเวลานี้ มักใช้ความนำแบบหน่วงเหนี่ยว กล่าวคือ เป็นความนำที่จะไม่เปิดเผยประเด็นหลัก
- การจัด ลำดับเนื้อเรื่องจากผลย้อนไปสู่เหตุ คือการนำเสนอข่าวที่จะให้ผลที่เกิดจากเหตุ เป็นลำดับแรกเสมอ และเมื่อแสดงถึงผลที่เกิดแล้ว จึงกลับมาอธิบายสาเหตุและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งอาจให้ความหมายของการเกิดผลดังกล่าวด้วย คำที่มักใช้ในการจัดลำดับเนื้อเรื่องจากผลไปสู่เหตุ เช่น เพราะว่า เนื่องจาก มีสาเหตุมาจาก เป็นต้น
- การจัดลำดับเนื้อเรื่องตามลำดับประเด็น มีแนวทางคล้ายคลึงกับการจัดลำดับเนื้อเรื่องจากผลย้อนไปสู่เหตุ แต่นิยมใช้กับข่าวที่มีการแสดงทัศนคติต่อประเด็นข่าวจำนวนมาก เช่น การที่บุคคลหรือตัวแทนของกลุ่มบุคคลมีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์หนึ่ง แล้วมีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่เห็นด้วยตอบโต้ หรือวิจารณ์กลับมา

3. ส่วนท้าย (End) เป็นส่วนของข้อความที่มีลักษณะการเขียนอย่าง สั้นๆในตอนท้ายของข่าว หรือใช้ข้อความที่เป็นเสียงสัมภาษณ์สั้นๆของผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ที่อาจ จะเป็นการสรุป หรือเป็นการให้ประเด็นหลักอีกครั้ง หรือเป็นการสรุปอย่างสั้นๆปิดท้าย หรืออาจเป็นการนำเข้าสู่ข้อเท็จจริงอื่นที่ไม่ใช่เป็นการให้ข้อมูลหรือ ประเด็นใหม่ แต่เป็นข้อเท็จจริงที่มีในเนื้อข่าว หรืออาจเขียนถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของข่าวนั้น แต่ทั้งนี้ ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ขณะเดียวกันสิ่งที่พึงระวังในการเขียนส่วนท้ายคือ ข้อความของส่วนท้ายไม่ควรมีลักษณะ ที่เป็นการอธิบายครึ่งๆกลางๆหรือไม่สมบูรณ์




3.2การเขียนข่าวแจก
         ข่าวเพื่อการประชา สัมพันธ์ หรือมักที่นิยมเรียกว่า ข่าวแจก นั้นเป็นงานหลักที่สำคัญของ อาชีพประชาสัมพันธ์ กล่าวคือ ข่าวประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ของหน่วยงานเผยแพร่ ไปยังกลุ่มประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยผ่านสื่อหรือช่องทางต่างๆ ตามความเหมาะสม ฉะนั้น ข่าวการประชาสัมพันธ์ จึงอาจเป็นทั้งข่าว ที่เผยแพร่ผ่านทาง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ และโทรทัศน์ได้ทั้งสิ้น
       การนำเสนอของข่าวแจกควรมีเนื้อหาสมบูรณ์ในแต่ละเรื่อง หากมีหลายเรื่องให้แยกชิ้นข่าวออกจากันเพื่อป้องกันความสับสน

3.2 เขียนบทความ 

                 บทความอยากกว่าเขียนข่าว ก็เพราะ ถ้าใครสักคนอ่านบทความของเรา เขาต้องสนใจในเรื่องที่กำลังอ่านอยู่แล้ว นั่นหมายถึงว่า คนที่มาอ่านบทความของเรา อาจจะเป็นคนที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราเขียน ดังนั้น การเขียนบทความ ต้องเขียนด้วย ความรอบรู้ และรอบคอบที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เครดิตจะได้หรือเสีย ก็ขึ้นอยู่กับ บทความไม่น้อย       
             เมื่อจะเขียนบทความสักเรื่อง นอกจากเราจะรู้เรื่องที่จะเขียนดี อยู่แล้ว ต้องวาง เป้าหมาย ที่ชัดเจนเอาไว้ด้วย ภาษาที่วงการที่นิยมพูดกันคือ ต้อง"ฟันธง" ซึ่งหมายถึงว่า เราเห็นอย่างไร เกี่ยวกับเรื่อง ที่เราเขียน ไม่ต้อง "กั๊ก" ผิดเป็นผิด พลาดเป็นพลาด ทั้งนี้ทั้งนั้น การเขียนบทความ ต้องตระเตรียมข้อมูล ความเป็นเหตุเป็นผล ประกอบด้วยเสมอ
                   บทความในหนึ่งชิ้นนั้น หากมีแต่ข้อมูลถ่ายเดียว ไม่มีตัวละคร หรือ ตัวบุคคลมาประกอบ ก็อาจจะแห้งแล้งไป ควรหาตัวบุคคล เข้ามาพูด มากล่าว หรือ อ้างถึงคนเหล่านั้นในบทความ ด้วย และก็เช่นเดียวกัน ถ้ามีแต่บทความ มีการอ้าง อิงถึงตัวบุคคล ก็ยังจะแห้งแล้งอยู่เช่นเดิม หากไม่มี ข้อมูล หรือ ตัวเลข ในลักษณะตาราง รวมไปจนถึงภาพกราฟฟิค ต่างๆ สิ่งเหล่านี้เสมือน เป็นวัตถุดิบที่คนเขียน ควรคำนึงถึง
                   ก่อนเริ่มต้นลงมือเขียน แน่นอน เราต้อง "ฟันธง"อย่างที่กล่าวข้างต้น คือ เราเห็นบทสรุป ของเรื่องที่เราจะเขียนอย่างไร เมื่อเห็นอย่างนั้น ต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ มาเสนอให้ผู้อ่าน พิจารณาเพื่อให้เห็นสอดคล้องกับเรา        ทั้งนี้ อาจมีคำถามว่า มีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้อง พล็อตโครงเรื่องไว้ก่อน ในภาคสนามแล้ว ไม่เคยพล็อตเรื่องเลย หากเป็นผู้เขียนบทความเอง แต่ถ้าให้ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นผู้เขียน เราก็อาจจะช่วยเขาพล็อต ช่วยเขาวางกรอบของบทความไปด้วย เพื่อให้ครอบคลุม ทุกแง่มุม ที่จำเป็นต่อการเขียนบท ความชิ้นนั้น ๆ ในขณะเดียวกัน ใช่ว่า เราจะ"ฟันธง"คนเดียว ในภาคปฏิบัติแล้ว โต๊ะข่าว หรือ ที่ประชุมข่าว มักจะกำหนดว่า เรื่องที่เราจะเขียนนั้น ส่วนใหญ่เห็นอย่างไร อภิปรายกัน รับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน จากนั้นค่อยรับภาระไปเขียน พวกเรามักจะทำงานกันอย่างนี้
                        อย่างไรก็ดี แม้จะไม่มีพล็อตเรื่องเป็นเอกสาร ในความคิดของเรา ย่อมจะมีเค้าโครงอยู่แล้ว ว่าจะเขียนอย่างไร ควรจะมีอะไรมาประกอบ บทสรุปจะเป็นอย่างไร จากนั้นก็ลงมือเขียน นักข่าวส่วนใหญ่ เวลาเขียนบทความ จะไม่มีงานค้างคา เรียกว่า ถ้าเริ่มต้นลงมือเขียน ก็จะเขียนบทความชิ้นนั้นๆไปจนจบ ปล่อยให้ความคิดลื่นไหลไปทีเดียว มากกว่าจะเขียน ครึ่งๆ กลางๆ แล้วกลับมาเขียนใหม่
                         ธรรมชาติของคนข่าวแล้ว การเขียนมักจะไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหาใหญ่มักจะตัดสินใจไม่ได้ว่า จะเขียนบทความเรื่องอะไรดี หากตั้งหลักได้ว่าจะเขียนเรื่องอะไร ในชั้นต่อไป ก็ไม่เป็น ปัญหา แล้ว เป็นอย่างนี้จริงๆ
เราควรหาข้อมูลเดิมมาเป็นพื้นฐานว่า เมื่อก่อนเป็นอย่างไร ปัจจุบันเป็นอย่างไร และกำลังจะแก้ไขใหม่เป็นอย่างไร เหตุผลที่เขาจะแก้มีอย่างไร ถ้าไม่แก้ไขแล้ว จะทำให้ เสียหาย หรือไม่เสียหาย อย่างไร มุมมองของฝ่ายสนับสนุนในเรื่องนี้ว่าอย่างไร ฝ่ายที่คัดค้าน เรื่องนี้ ว่าอย่างไร ต่างประเทศเป็นอย่างไร มีประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมหรือไม่รวม มีผลอย่างไร เราควรจะค้นหาความจริงในเรื่องนี้ว่า ทำไมเขาต้องรวมเรื่องเข้าด้วยกัน
เมื่อมีข้อมูลค่อนข้างจะครบครัน และเราเองก็มีความเข้าใจต่อเรื่องนั้น ๆ ดีพอ ข้อเขียนของเรา ก็จะเป็นที่น่าสนใจของผู้อ่านได้
                   สิ่งที่ยากกว่าการเขียน ก็คือ การลงมือเขียน  

3.3 บทความเพื่อการโฆษณา

                    บทความเพื่อการโฆษณา หมายถึง พื้นที่ที่ผู้โฆษณาซื้อจ่ายเงินซื้อโดยผสมผสานการโฆษณาแบบ ชัดเจนกับการลอกเลียนแบบ เนื้อหาบทความของสิ่งพิมพ์ เนื้อหาในบทความเพื่อการโฆษณา ส่วนใหญ่มักใช้ รูปแบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ โดยมีชื่อหรือภาพ ของสินค้าที่ต้องการการโฆษณาลงประกอบให้เห็นด้วย
                    บทความเพื่อการโฆษณา ทุกวันนี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพะวิธีการที่ องค์กรใดองค์กรหนึ่งชื้อพื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์ หรือ นิตยาสาร เพื่อเขียนบทความเพื่อการโฆษณา บทความลักษณะนี้ ส่วนใหญ่ต้องการขายแนวความคิด มากกว่าการขายสินค้าโดยตรง เป็นการส่งข่าวสาร โดยใช้หัวข้อที่ดึงดูดความสนใจ ของผู้อ่านหรือผู้มาชมมานำเสนอ กล่าวกันว่าโดยหลักการแล้ววิธีการนี้สามารถให้ผลคุ้มค่า แต่เป็นวิธีการที่เสียเงิน ในลักษณะที่การลงแบบข่าวปกติไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายก็ตาม
            นับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา บทความเพื่อการโฆษณาในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาไปในหลายรูปแบบพร้อมๆกัน กับที่มีผู้ออกมาโต้แย้งว่าวิธีนี้ไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม บทความเพื่อการโฆษณา ทุกวันนี้จะลักษณะคล้ายคลึงกับเนื้อข่าวหรือเนื้อหาในนิตยาสารหรือหนังสือ พิมพ์อย่างแยกไม่ค่อยออก หัวเรื่องของผู้ฟังประเภทนี้อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูแล สนามหญ้า การเลือกชื้อรถยนต์ เป็นต้น และบางครั้งเป็นการลงโฆษณาให้กับบริษัทที่มี การชื้อพื้นที่โฆษณานั้น


3.4 การเขียนสุนทรพจน์
               การเขียนสุนทรพจน์ เป็นการนำเสนอการจัดการและประกอบพิธี ในโอกาสต่างๆ เช่น ต้อนรับผู้มาเยี่ยมชมองค์กร เปิดการประชุม อบรมต่างๆ กล่าวในโอกาสวันสำคัญ อาทิ วัน สถาปนา
                สุนทรพจน์ คือ การพูดด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ และเหมาะสมแก่โอกาส เช่นการกล่าวอวยพร การกล่าวสดุดี การแถลงรายงาน การกล่าวคำปราสัยกล่าวให้โอวาท  การเขียนสุนทรพจน์เป็นงานเขียนที่ต้องใช้การเขียนที่เป็นทางการหรืองานพิธีการสำคัญ กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ฟังจะเป็นบุคคลพิเศษ ในบางโอกาสจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือบุคคลสำคัญ การเขียนสุนทราพจน์ จะเป็นการเขียนในนามผู้บริหารระดับสูงหรือบุคคลสำคัญเท่านั้น  ฉะนั้น ก่อนการเขียนจะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ประวัติของผู้ที่จะต้องเขียนในนามของเขาให้ดีด้วย ว่าควรจะเขียนในลีลา อย่างไรจึงเหมาะสมกับผู้กล่าว

3.5 การเขียนข่าวทางไกลหรือการเขียนสกู๊ปพิเศษ
                          นักข่าวส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้อยู่กับที่  บางครั้งตามประกบบุคคลสำคัญเพื่อทำ ข่าว หรือไป ทำข่าวต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ ซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจมาให้ พูดง่ายๆคือ เรารู้อยู่แล้วว่า ตามไปทำข่าวคณะไหน หรือส่งให้เราไปทำข่าวอะไร เมื่อเราทราบภารกิจที่ชัดเจน         การเตรียมตัวเพื่อทำงานข่าว
                       1. ต้องศึกษาข้อมูลของประเทศ ที่ไปทำข่าว ศึกษาในหัวข้อเศรษฐกิจ การเมือง สภาพสังคม และไม่ควรลืมด้านธรรมเนียม ประเพณี ต้องค้นคว้าหาความรู้ เรื่องเหล่านี้อย่างรวดเร็ว
                      2. ต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ ที่เป็นเป้าหมายข่าว สกู๊ป หรือเขียนบทความ อาทิ ไปทำข่าวการประชุมระดับสุดยอดผู้นำ เป็นต้น หรือ หากเป็นธุรกิจเอกชน ต้องศึกษาอย่างละเอียดก่อนเดินทางเช่นกัน
                      3. ต้องวางแผนว่า ในระหว่างที่ร่วมคณะ หรือบุกไปทำข่าวเพียงลำพัง จะต้องสัมภาษณ์ใครบ้าง ซึ่งจำเป็น อย่างยิ่งที่ต้องติดต่อประสานงานไว้ล่วงหน้า หรือหากตามคณะ ต้องวางเป้าบุคคลไว้ว่า จะคุยเขาเรื่องอะไร สี่ ต้องศึกษาช่องทางที่จะส่งข่าวและภาพกลับประเทศ สมัยก่อน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันปัญหาน้อยลง เพราะมีคอมพิวเตอร์ และกล้องดิจิตอล แต่อย่างไรก็ดีบางประเทศก็ไม่อนุญาตให้ส่งข่าวออนไลน์
                        4. ถ้าไม่ได้หิ้วเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คไปด้วย ก็ต้องสำเนาเอกสารที่จำเป็นต่อการเขียน หรือเพื่อใช้เป็นข้อมูล ประกอบการเขียนติดตัวไปด้วย
                        5. เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน บางทีก็ต้องสำรองเพื่อชำรุด เผื่อสูญหายไปด้วย อย่าลืมเตรียมกระดาษขาว ๆ ไปด้วย ในแต่ละวันที่ทำงานในต่างประเทศ จะต้องเขียนข่าว หรือต้องรวบรวมและเขียนรายงาน หรือ สกู๊ปพิเศษ อย่าได้ผัดวันประกันพรุ่ง เพราะปกติแล้วในแต่ละวันจะทำข่าวไม่ซ้ำสถานที่ หรือโอกาสพบปะบุคคลจะเปลี่ยนไป จะไม่มีโอกาส "ซ่อม"ข้อมูลเด็ดขาด ถ้าเขียนทุกครั้งที่มีเวลา อาจทราบได้ทันทีว่ามีอะไรตกหล่นไปบ้าง หรือ จะต้องเติมข้อมูลอะไรบ้าง เพื่อให้งานข่าว งานเขียนมีความสมบูรณ์ ความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ ถ้าไม่เขียนตั้งแต่อยู่ต่างประเทศ กลับมาข้อมูลจะ จดจำได้น้อยลง

3.6 การเขียนคำขวัญและโลโก้

                  คำขวัญ และโลโก้ หรือสัญญลักณ์ขององค์กร เป็นงานที่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ และเป็นงานที่มีเสริมสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานให้ดูดี เป็นที่ยอมรับต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชน เพื่อผลแห่งชื่อเสียง ศรัทธา จากประชาชนที่มีต่อหน่วยงานนั้น ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยในการสร้างภาพลักษณ์กำหนดภาพลักษณ์ ให้ง่ายขึ้น การกำหนดคำหรือสำนวนสั้นๆ ขึ้นเพื่อบอก ลักษณะ ปณิธาน หรืองานหลัก ของหน่วยงาน หลักๆ ของหน่วยงานนั้นให้ประชาชนได้รู้จักและจดจำได้ง่าย ส่วยข้อความนั้นจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ จากสังคม ก็ขึ้นอยู่กับความถูกต้องเหมาะสมของข้อความและความหมายนั้นว่าตรงกับใจของ ประชาชน ไม่ ข้อความหรือสำนวนสั้นๆ เหล่านี้คือสิ่งที่เราเรียกกันว่าคำขวัญ คำขวัญหรือถ้อยคำสั้นที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อจูงใจผู้รับสารทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์ ภาพลักของสถาบัน การปลูกฝัง การเปลี่ยนแปลงทัศนะคติต่อสถาบัน ในด้านการโฆษณาเพื่อเป็นการผนึกความคิดรวบยอด ของสินค้า ให้ผู้ซื้อสะดุดตา จดจำชื่อคุณสมบัติของสินค้านั้นได้การเขียนคำ ขวัญเป็นข้อเขียนที่สั้นกระชับแต่ต้องคำนึงถึงหลักการเสือกความหมายและ จิตวิทยาเป็นการจดจำ ของมนุษย์ ดังนั้นจึงมิใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียว
3.7 ข่าววิทยุเพื่อการประชาสัมพันธ์
                            ข่าววิทยุ เป็นรายการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ต้องการจะเผยแพร่ มาจัดทำในรูปข่าวทางวิทยุ การเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ มีหลักเกณฑ์สำคัญ เช่นเดียวกับการเขียนข่าวทั่วไป แต่มีการเน้นที่แตกต่างกัน ไปตามวัตถุประสงค์ของข่าวนั้น เช่น ถ้าเป็นข่าวเพื่อบอกกล่าวตามหลักการเขียน ข่าว 5w และ1h เท่านั้น
                          หลักการเขียนข่าววิทยุ
1.วิทยุมีข้อจำกัดเรื่องเวลา จึงเขียนในลักษณะเน้นความนำ lead และเนื้อข่าว ไว้ร่วมกัน ส่วนรายละเอียดนั้น มีลักษณะที่การเขียนที่แตกต่างกันไปตาม วัตถุประสงค์
2.พาด หัวข่าว ต้องสื่อความหมายชัดเจนด้วยประโยคที่สมบูรณ์กว่าพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ โดยมุ่งให้พาดหัวข่าววิทยุทำหน้าที่คล้ายความนำของข่าวไปในตัว
3.เสนอสาระสำคัญของข่าว ก่อน แล้วอธิบายรายละเอียดตามมาโดยไม่สามารถให้รายละเอียดยาวๆ ได้อย่างหนังสือพิมพ์

3.8  สื่อวิทยุโทรทัศน์

                         สื่อวิทยุโทรทัศน์ในปัจจุบัน นับเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทและ อิทธิพลมากต่อการดำเนิน ชีวิต ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอย่างมากโทรทัศน์เป็นสื่อมีความแพร่ หลายมาก ในสังคมและชุมชนต่างๆ เป็นสื่อที่ได้เห็นทั้งภาพและเสียงในขณะเดียวกัน รายการโทรทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์

                   1.รายการข่าวและสถานการปัจจุบัน เป็นการประชาสัมพันธ์ในลักษณะการเสนอข้อมูล เพื่อเผยแพร่ในลักษณะข่าวให้ผู้ชมได้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่

                  2.บทโทรทัศน์เพื่อชักจูงใจ spot TV เป็นโทรทัศน์ขนาดสั้นใช้เวลาฉายภาพ ประมาณไม่เกิน 1 นาที มุ่งชักจูงใจให้ผู้ชมเห็นคล้อยตามหรือกระตุ้นความรู้สึกผู้ชม เป็นรายการสั้นๆ ที่ฉายแทรกในช่วงต่างๆ หรือระหว่างรายการ เช่น หลังข่าว

                  3.รายการสารคดี เป็นรายการที่ใช้การประชาสัมพันธ์ด้วยการเสนอเน้อหา สาระด้วยภาพและเสียงบรรยาย ตลอดรายการ ใช้การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

                4.รายการสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่เป็นรายการมักใช้ในการประชาสัมพันธ์องค์กร ที่เป็นหน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ หรืออกชน เฉพาะที่สำคัญมากเท่านั้น เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการที่จะออกอากาศสูง รายการสัมภาษณ์ จะต้องมี ผู้ให้สัมภาษณ์และผู้สัมภาษณ์

3.9  การประชามสัมพันธ์ผ่านอินเตอร์เน็ต

                        เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับ ส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร ภาพและเสียงได้ รวมทั้งสามารถ ค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และมีการปรับ ปรุงตลอดเวลาตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทั้งยังขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ที่เป็นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอีกด้วย ผู้ใช้บางคนอาจมองว่าเป็นแห่งข้อมูลมหาศาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น รายการภาพยนตร์ การเลือกซื้อสินค้า โปรแกรมการ ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปะวิทยาศาสตร์ กฎหมาย สังคมศาสตร์
                    การสร้าง โฮมเพจโดยเน้นเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยใช้รูปแบบไฮเปอร์เท็กซ์ กล่าวคือ ข้อมูลของตน จะเก็บใว้ในรูปสื่อผสม คือ ข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ ผู้ใช้สามารถเข้าไปเยี่ยมโฮมเพจใดก็ได้เพื่อขอ ดูข้อมูลที่วางไว้ การเรียกเข้าใช้โปรแกรมที่เชื่อมต่อจากพีซีเข้าสู่อินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า บราวเซอร์
                  ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตในด้านต่าง ๆ
         1.ด้านการศึกษา ผู้ใช้จะต่อเข้าอินเตอร์เน็ตเพื่อค้น หาความรู้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆอินเตอร์เน็ตจะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในเวลาไม่กี่วินาทีจากข้อมูลทั่วโลก
        2.ในด้านธุรกิจและการค้า อินเตอร์เน็ตใช้การประชาสัมพันธ์และโฆษณา ข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซด์ต่าง ๆ เช่นกัน ข้อมูลมีทั้งด้านแนะนำบริษัท สินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ โดยเลือกดูสินค้าและคุณสมบัติต่าง ๆ ผ่านจอคอมพิวเตอร์แล้วสั่งซื้อและจ่ายเงิน ซึ่งนับว่าสะดวกและรวดเร็วมาก บริษัทต่าง ๆ จึงมีการประชาสัมพันธ์และลงโฆษณา ขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

                       การทำข่าวทางอินเตอร์เน็ต
  ( จาก http://bangkok.usembassy.gov/services/docs/work37-t.htm     โดย บ๊อบ ไจลส์ สำนักพิมพ์ของ Nieman Reports มูลนิธินีแมนด้านวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด)
                         การรายงานข่าวแบบออนไลน์กล้าหาญและฮึกเหิม แต่รูปแบบของการเสนอข่าวเช่นนี้และการรายงานข่าวแบบตลอด 24 ชั่วโมงทำให้เกิดคำถามว่าทำอย่างไรการรายงานข่าวทางคอมพิวเตอร์จึงจะเข้ากันได้กับ มาตรฐานที่สูงสุดของนักข่าว
                         สำนักข่าวที่อยู่ในความนิยมของประชาชนกำลังพยายามนำมาตรฐานการทำข่าวแบบเก่ามาใช้ทางอินเตอร์เน็ต แต่ก็พบว่าไม่ง่ายเลยที่จะถ่ายทอดความถูกต้อง ความสมดุล และความชัดเจนไปยังสื่อที่ซึ่งมีความได้เปรียบด้านความฉับไวและการทันต่อ เหตุการณ์สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
                         เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตได้เพิ่มความเข้มแข็งให้แก่บทบาทสุนัขเฝ้าบ้านของการทำข่าวแบบดั้งเดิมโดยทำให้นักข่าวมีวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเสาะหา ข้อมูลได้ลึกกว่าเดิม ความสามารถของเทคโนโลยีดังกล่าวในการค้นหาเอกสารข้อมูล รวบรวมข้อมูลภูมิหลังและความเป็นมา และระบุหาแหล่งข้อมูลของผู้รู้ได้ ทำให้นักข่าวมีอุปกรณ์พร้อมพรั่งกว่าเดิม และเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งอยู่บนรากฐานของปฏิสัมพันธ์ กฎเกณฑ์และขีดจำกัดที่น้อยลง  ความฉับไวและทันต่อเหตุการณ์เคยถือเป็นจุดแข็งของหนังสือพิมพ์ สำนักข่าวใหญ่ๆ มีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเสนอ ข่าวใหญ่ๆ เป็นคนแรก ซึ่งประชาชนมักหาอ่านได้จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แต่แล้วความฉับไวของข่าวโทรทัศน์ก็ช่วงชิงความได้เปรียบดังกล่าวมาจาก หนังสือพิมพ์ ขณะนี้ อินเตอร์เน็ตได้สร้างความได้เปรียบของตนเองด้านความรวดเร็วและทันต่อ เหตุการณ์ และในการทำเช่นนั้น ก็ได้ทำให้หนังสือพิมพ์กลาย เป็นธุรกิจที่ครบวงจรด้วยการเสนอข่าวด่วนและโฆษณายี่ห้อหนังสือพิมพ์ของตนผ่านนวัตกรรมชิ้นใหม่เช่นรายการข่าวออนไลน์ในช่วงบ่ายเป็นต้น
                            ณ จุดพบกันระหว่างการรายงานข่าวแบบเก่าและการรายงานข่าวทางอินเตอร์เน็ต ความพยายามที่จะนำมาตรฐานการรายงานข่าวที่ใช้ใน ห้องข่าวแบบเก่ามาใช้ต้องเผชิญกับค่านิยมอื่นๆ เช่น อิสรภาพ การขาดความเคารพนบนอบ การสนับสนุนและทัศนคติ นักข่าวที่รายงานข่าวทางอินเตอร์เน็ตกล่าวว่าท่วงทำนองการเสนอข่าวที่งามสง่าแบบเก่าใช้ไม่ได้กับการเสนอข่าวแบบออนไลน์ พวกเขาเปรียบสื่อประเภทใหม่ของพวกเขาหลักการที่แท้จริงของบทแก้ไขรัฐธรรมนูญสหรัฐบทแรก ซึ่งรับประกันเสรีภาพในการพูด เสรีภาพของหนังสือพิมพ์และการเสรีภาพในการชุมนุม นักข่าวแบบออนไลน์ตั้งข้อสังเกตว่าสื่อชนิดใหม่ของตนเป็นเครื่องเตือนให้นึก ถึง ช่วงเวลาในอดีตเมื่อหนังสือพิมพ์มีความกล้าหาญและฮึกเหิม แอนน์ คอมป์ตันแห่ง ABCNews.com อธิบายถึงความแตกต่างที่สำคัญ ระหว่างนักข่าวออนไลน์ของเธอกับนักข่าวของสถานีเครือข่ายโทรทัศน์ เธอกล่าวว่า "เราเขียนข่าวอย่างมีสีสันกว่า เราใช้คำสะแลงมากกว่า การเสนอข่าวแบบออนไลน์นี้แสดงเนื้อหาที่เข้มข้นตื่นเต้นซึ่งคุณทำไม่ได้ทางโทรทัศน์"เราสามารถเปรียบเทียบการเสนอข่าวแบบออนไลน์กับ การเสนอข่าวทางหนังสือพิมพ์รายวันได้ในทำนองเดียวกัน
                            แต่ "ความเข้มข้นตื่นเต้น" นั้นไปกันได้กับมาตรฐานที่สูงส่งของการทำข่าวหรือไม่? ลักษณะการเสนอข่าวแบบออนไลน์ที่อิสระเสรี เร้าความรู้สึก และขาดความเคารพนบนอบเช่นนี้จะปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมที่ซึ่งประเพณีได้รับการวางรูปแบบโดยสื่อที่สุขุมและมีรูปแบบแน่นอนกว่าได้ไหม?
                            กระบวนการจัดทำมาตรฐานสำหรับการเสนอข่าวระบบออนไลน์กำลัง จะเริ่มขึ้น โดยมีความจริง 3 ประการต่อไปนี้เป็นตัวกำหนด
                            ประการแรก ได้แก่ความเป็นจริงที่ว่าเว็บไซต์ข่าวใหญ่ๆ จะดำเนินการโดยกลุ่มสื่อเก่า นั่นคือ องค์กรด้านข่าวแบบเก่าเช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสารข่าว และสถานีโทรทัศน์แบบเครือข่ายและเคเบิ้ล ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอิทธิพลของตลาดซึ่งไม่ปรานีต่อบริษัทข่าวออนไลน์ที่ เพิ่งเกิดใหม่ บริษัทใดก็ตามที่ไม่มีทุนรอนหรือไม่ค่อยมีชื่อเสียงด้านการทำข่าวหรือมีกลยุทธ์ด้านการตลาด ที่อ่อนแอกำลังถูกกำจัดออกไป ผู้ที่เหลืออยู่ก็คือ สำนักข่าวใหญ่ๆ ที่มีทรัพยากรพอที่จะสร้างเว็บไซต์ที่แข็งแกร่งและประกันว่านโยบายในการเสนอข่าวจะใช้มาตรฐานที่เคร่งครัดดังที่ใช้กับการเขียน และแก้ไขข่าวทางหนังสือพิมพ์
                            ประการที่สองได้แก่ความพยายามของนักข่าวออนไลน์ที่จะจัดทำมาตรฐานขึ้นมาสำหรับการเสนอข่าวทางอินเตอร์เน็ต สมาคมข่าวออนไลน์ (Online News Association) กำลังเริ่มต้นโครงการจัดทำแนวทางในการเสนอข่าว รวมทั้งคำแนะนำว่าจะนำแนวทางดังกล่าวไปใช้และควบคุมดูแลอย่างไร ด้วยทุนจากมูลนิธิจอห์น เอส. และเจมส์ แอล. ไนท์ (John S.and James L. Knight) สมาคมข่าวออนไลน์จะสามารถจ้างผู้อำนวยการโครงการ และจัดทำแนวทางข้างต้นได้ทันกำหนดเวลาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544
ริช จารอสลอฟสกี นายกสมาคมข่าวออนไลน์และบรรณาธิการบริหารของ The Wall Street Journal Interactive กล่าวว่า "มีความกดดันอยู่เบื้องหลังโครงการมากมาย"จารอสลอฟสกีกล่าวว่า "การตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเสนอข่าวในระบบออนไลน์หลายครั้งหลายหน เกิดจากการนึกคิดเอาเองมากกว่าการมี เหตุผลสนับสนุน เราหวังจะจัดทำเอกสารซึ่งไม่ใช่เป็นการสั่งแต่เป็นการชักชวนไม่ใช่เฉพาะนัก ข่าวเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ที่กำลังทำงานในระบบออนไลน์ประเภทอื่นๆ ซึ่งกำลังแยกแยะความแตกต่างระหว่างข่าวกับการค้า
                        ประการที่สามอาจเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลกว้างไกลต่อมาตรฐานการทำข่าวมากที่สุด ได้แก่ ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนักข่าวใส่ที่อยู่ทางอีเมล์ของตนลงในเว็บไซต์ อีเมล์อาจทำให้เกิดเสียงตอบรับต่อข่าวอย่างทันทีได้ดีเท่าๆ กับการอ่าน ข่าวจากหนังสือพิมพ์ในขณะดื่มกาแฟตอนเช้าได้ แต่นักข่าวบางคนก็กำลังสร้างกำแพงกั้นระหว่างตนกับผู้อ่าน โดยไม่ใส่ที่อยู่ทางอีเมล์ของตนลงไปหรือใช้โปรแกรมกรองอีเมล์ ที่เข้ามาซึ่งจะเลือกรับเฉพาะอีเมล์ที่พวกเขาคิดว่าต้องการเท่านั้น
                          อีเมล์ทำให้นักข่าวและบรรณาธิการได้ทราบข้อมูลจากผู้ที่อาจทราบอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับข่าวนั้นๆ และอาจเป็นผู้รู้ หรือบอกแหล่งข้อมูลอื่นๆ หรือหยิบยกความเป็นไปได้ที่ข่าวนั้นๆ อาจขาดความสมดุลหรือไม่ยุติธรรม ประโยชน์ของปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวก็คืออาจช่วยยกระดับคุณภาพการทำข่าวได้
                          จอน แคทซ์ นักวิเคราะห์ข่าวทางอินเตอร์เน็ตที่เขียนบทความให้ Slashdot.comกล่าวว่า "สิ่งที่น่าทึ่งสำหรับผมก็คือการที่ผู้อ่าน ทำให้ผมรู้สึกรับผิดชอบต่อสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ไม่ว่าคุณจะเขียนอะไร ก็ตาม บทความของคุณจะออกไปสู่สายตาของผู้ที่มีความรู้มากที่สุด สิ่งที่คุณเรียนรู้ก็คือ บทความของคุณไม่ใช่คำสุดท้ายที่เปล่งออกมา แต่เป็นคำแรกต่างหาก"