Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

หลักการขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

หลักการขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้น จะเห็นว่า ความเชื่อถือและเชื่อมั่นดังกล่าว ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การที่จะช่วยกระตุ้นให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้รับความแพร่หลายในประเทศไทย เกิดการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น จะต้องมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการตัดสินใจทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมา จดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมี ตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการจดทะเบียน
สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้
 

บทสวดมนต์ พระคาถา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก



บทสวดมนต์ พระคาถา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง
ยิ่ง ทำ ยิ่ง ได้ ยิ่ง ให้ ยิ่ง มี
คำบูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ , ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

ความเครียด (Stress)


ความเครียด (Stress)

ความเครียด (Stress) เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายถูกกระตุ้น และมีปฏิกิริยา ตอบโต้เป็น ปฏิกิริยา ทางสรีรวิทยา และจิตวิทยา โดยระบบต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมน และ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลง ไปทั่วร่างกาย เมื่อเกิด ความเครียดภายในจิตใจ มักส่งผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น
  • ทางกาย : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่อิ่มหัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออก ตามมือตามเท้า หายใจตื้นและเร็วขึ้น ใจสั่น ถอนหายใจบ่อยๆ กัดขากรรไกร ขมวดคิ้ว ตึงที่คอ ประสาทรับ ความรู้สึกหูไวตาไวขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น รู้สึกเพลีย ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือ ท้องผูก นอนไม่หลับ หรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจําเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อยๆ แพ้อากาศง่าย
  • ทางจิตใจ : หงุดหงิด สับสน คิดอะไรไม่ออก เบื่อหน่าย โมโหง่าย ซึมเศร้าสมองทํางานมากขึ้น ความคิดอ่านระยะสั้นดีขึ้น การตัดสินใจเร็ว ขึ้น ความจําดีขึ้น สมาธิดีขึ้น วิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจ น้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน
  • ทางสังคม : บางครั้งทะเลาะวิวาทกับคนใกล้ชิด หรือไม่พูดจากับใคร จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ
คงมีหลายคน ที่อยากจะถามว่า เราจะต้องคลายเครียดกันทำไม ความเครียด คืออะไรกันแน่ เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีผลอย่างไรบ้าง ต่อบุคคล 

เส้นประสาทสมอง (cranial nerve )





เส้นประสาทสมอง (cranial nerve )


เรียกกันทั่วไปว่า เส้นประสาทที่แยกออกจากสมอง ในปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีจำนวน 
10 คู่ ส่วน พวกในสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีจำนวน 12 คู่ 
สำหรับคนเรามี 12 คู่ คือ คู่ที่ 1 – 12

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 เส้นประสาท ออลแฟกทอรี (olfactory nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับ
กลิ่น เยื่อหุ้มจมูก เข้าสู่ทอรีบัลล์ แล้วเข้าสู่ออลแฟกทอรีโลบของสมอง
ส่วนซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 เส้นประสาทออพติก (optic nerve) รับความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น
จากเรตินาของลูกตาเข้าสู่ออพติกโลบ แล้วส่งไปยังออพซิพิทัลโลบ
ของซีรีบรัมอีกที่หนึ่ง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 เส้นประสาทออคิวโลมอเตอร์ (oculomotor nerve ) เส้นประสาท
สั่งการจากสมองส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อลูกตา 4 มัด ทำให้ลูกตา
เคลื่อนไหวกลอกตาไปมาได้ และยังไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ทำให้ลืมตา
ทำให้ม่านตาหรี่หรือขยายและไปยังกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาอีกด้วย

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 4 เส้นประสาททอเคลีย (trochlea nerve ) เป็นเส้นประสาทสั่งการ
ไปยังกล้ามเนื้อลูกตา มองลงและมองไปทางหางตา

สมอง การทำงานของสมอง


สมอง
สมอง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำการคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง ออกเป็น 3 ส่วน ตามวิวัฒนาการของสมอง

สมอง ส่วนแรก อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน หรือ สมอง สัตว์ชั้นต่ำ ซึ่ง ดร.ไพรบรัม แนะนำว่า เราควรจะเรียก เรปทิเลียนเบรน หรือ สมอง ของ สัตว์เลื้อยคลาน ว่า คอร์เบรน (Core brain) หรือแกนหลัก ของ สมอง คือ สมอง ที่อยู่ที่ แกนสมอง หรือ ก้านสมอง นั่นเอง มีหน้าที่ ขั้นพื้นฐาน ที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทําหน้าที่ เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้ กล้ามเนื้อ มีการเคลื่อนไหว สมอง ส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ การเรียนรู้ จาก สมอง หรือ ระบบประสาท ส่วนถัดไป และทําให้เกิดเป็น ระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึ้นทําให้เรามี ปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจาก อารมณ์ ปราศจาก เหตุผล เช่น สัญชาตญาณ การมีชีวิตอยู่เพื่อ ความอยู่รอด ความต้องการอาหาร ที่พักอาศัย