Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความ แสดงบทความทั้งหมด

กลยุทธ์การสร้างความเป็นเลิศทางการตลาด


กลยุทธ์การสร้างความเป็นเลิศทางการตลาด
 ตามแบบฉบับ Kotler on Marketing



* ทำเป็นคนแรก * ทำเร็ว * ทำถูก

# คิดเป็นทำเป็น # ทำให้ถูกตั้งแต่แรก # ทำให้ถูกทุก ๆ ครั้งไป

% คิดเป็นทำเป็น % คิดใหม่ ทำใหม่ % World Class


การตลาด คือ ศิลปะของการค้นหา พัฒนา และแสวงหากำไร จากโอกาสที่เปิดรออยู่
Kotler แนะนำให้หาหนทางเพื่อเข้าถึงโอกาส และชี้ให้เห็นแนวทาง 

ปฎิบัติด้านการตลาด ที่จะทำให้ประสบชัยชนะในทางธุรกิจ (หนทางสู่ชัยชนะ) ดังนี้
1. ชนะด้วยการมีคุณภาพที่เหนือกว่า
2. ชนะด้วยบริการที่เหนือกว่า
3. ชนะด้วยราคาที่ตำกว่า
4. ชนะด้วยการปรับตัวให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
5. ชนะด้วยการรู้จักปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่อง
6. ชนะด้วยการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
7. ชนะด้วยการตอบสนองเกินความคาดหวังของลูกค้า
8. ชนะด้วยการเข้าสู่ตลาด ที่มีอัตราการเติบโตที่สูง

สรุป อีกทั้งต้องรู้จัก การตลาดเชิงรุก ผสมผสานการ Creative Marketing
*Creative Marketing คือ...

การคิดสร้างสรร (Creative) + รสนิยมที่ดี (Good Test)


นักบริหารกับความสำเร็จ



ผู้บริหารจะต้อง จะต้องนำความสำเร็จ 3 สิ่งนี้มาสู่องค์กร คือ.
1. นำคนได้
2. นำการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรได้
3. สยบปัญหาได้
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การบริหาร เป็นสาขาวิชาที่มีการจัดการระเบียบอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร

โดยลักษณะนี้ การบริหารจึงเป็นศาสตร์ (Science) เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์ แต่ถ้าพิจารณาการบริหารในลักษณะของการปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม การบริหารก็จะมีลักษณะเป็นศิลป์ (Arts)
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหารตัดสินใจเลือกแล้ว

หลักการมีส่วนร่วม ความหมาย หลักการมีส่วนร่วม หรือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ความรับผิดชอบ และร่วมมือใน องค์พัฒนาปฏิบัติด้วยความเต็มใจ

หลักการสร้างทีมงาน ทีมงาน หมายถึง กลุ่มคนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน อาจกล่าวโดยสรุป ทีม คือ กลุ่มของบุคคลทีมีการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอน

การสร้างทีมงานในหน่วยงาน หมายถึง การปรับความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย

ความสำเร็จของผู้บริหาร
ผู้บริหารที่ดีต้องพยายามเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และต้องสนใจปรับปรุงพัฒนาทักษะในการจัดการเกี่ยวกับบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

ความสำเร็จของผู้บริหาร ก็คือ ความสามารถทำให้ผู้ร่วมงานได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการและมีความพึงพอใจในงานที่ปฏิบัติหากผู้บริหารเข้าถึงจิตใจและมีเทคนิคการตอบสนองในแต่ละสถานการณ์ แต่ละกลุ่มและแต่ละบุคคล ก็จะเป็นการประสานจิตประสานใจให้บุคลากรภักดี และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศการบริหารให้เกิดแรงจูงใจให้บุคลากรเข้ามาร่วมทำงานโดยมีความพึงพอใจในผลงานที่ปฏิบัติจะทำให้งานเป็นไปอย่างมีคุณภาพ บรรลุสัมฤทธิผลตามที่พึงปรารถนาได้การสร้างบรรยากาศการบริหาร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจ มีความสุขในการทำงาน มีความรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ในที่ทำงาน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก บรรยากาศการบริหารจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น รูปแบบโครงสร้างการบริหาร กระบวนการบริหาร การใช้เทคนิควิธี การจัดสภาพแวดล้อม การมีมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารตามสถานการณ์ที่เหมาะสม การมอบหมายงาน การกำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผล ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างมากต่อผลงานที่ปรากฏ เพราะงานใดก็ตามถ้าผู้ปฏิบัติงานมีความพึงพอใจในงานที่กระทำอยู่ก็จะนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ทั้งจะก่อให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยสามอย่าง ได้แก่ ความสามารถ สภาพแวดล้อม และแรงจูงใจ ถ้าบุคคลมีความสามารถที่จำเป็นได้รับการสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมขององค์การและจูงใจอย่างเพียงพอแล้ว พวกเขาย่อมมีโอกาสดีที่สุดที่จะบรรลุเป้าหมายได้

ดังนั้นจะเห็นว่าการสร้างบรรยากาศการบริหารที่ดีและการสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรทุกฝ่ายทุกคนในโรงเรียน จึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานอันจะส่งผลให้เกิดคุณภาพทางการศึกษา ที่จะช่วยนำโรงเรียนไปสู่ความเป็นเลิศได้

บทบาทและสมรรถภาพของ ผู้บริหารมืออาชีพ 
1. เป็นผู้กำหนดทิศทางการบริหาร (Direction Setter ) เช่น รู้เทคนิคต่าง ๆ ของการบริหาร PPBS, MBO , QCC ,MIS , SWOT ,PERT ,QCC เป็นต้น
2. มีความสามารถกระตุ้นคน (Leader Catalyst)
3. ต้องเป็นนักวางแผน (Planner)
4. ต้องเป็นผู้มีความสามารถในการตัดสินใจ (Decision Maker)
5. ต้องมีความสามารถในการจัดองค์การ (Oraganizer)
6. ต้องเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (Change Manager)
7. ต้องเป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Coordinator)
8. ต้องเป็นผู้ติดต่อสื่อสารที่ดี(Communicatior)
9. ต้องเป็นผู้แก้ปัญหาขัดแย้งในองค์การได้ (Conflict Manager)
10. ต้องสามารถบริหารปัญหาต่าง ๆ ได้(Preblem Manager)
11. ต้องรู้จักวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System Manager)
12. ต้องมีความสามารถในด้านวิชาการทั้งการเรียนและการสอน (Instructional Manager)
13. ต้องมีความสามรถในการบริหารบุคคล (Personnel Managr)
14. ต้องมีความสามารถในการบริหารทรัพยากร (Resource Manager)
15. ต้องมีความสามารถในการประเมินผลงาน (Appraiser)
16. ต้องมีความสามารถในการประชาสัมพันธ์ (Public Relator)
17. ต้องสามารถเป็นผู้นำในสังคมได้ (Ceremonial Head) 

ความเครียด (Stress)


ความเครียด (Stress)

ความเครียด (Stress) เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายถูกกระตุ้น และมีปฏิกิริยา ตอบโต้เป็น ปฏิกิริยา ทางสรีรวิทยา และจิตวิทยา โดยระบบต่อมไร้ท่อที่หลั่งฮอร์โมน และ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทําให้เกิด การเปลี่ยนแปลง ไปทั่วร่างกาย เมื่อเกิด ความเครียดภายในจิตใจ มักส่งผลทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เช่น
  • ทางกาย : ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจไม่อิ่มหัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออก ตามมือตามเท้า หายใจตื้นและเร็วขึ้น ใจสั่น ถอนหายใจบ่อยๆ กัดขากรรไกร ขมวดคิ้ว ตึงที่คอ ประสาทรับ ความรู้สึกหูไวตาไวขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น รู้สึกเพลีย ปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือ ท้องผูก นอนไม่หลับ หรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจําเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อยๆ แพ้อากาศง่าย
  • ทางจิตใจ : หงุดหงิด สับสน คิดอะไรไม่ออก เบื่อหน่าย โมโหง่าย ซึมเศร้าสมองทํางานมากขึ้น ความคิดอ่านระยะสั้นดีขึ้น การตัดสินใจเร็ว ขึ้น ความจําดีขึ้น สมาธิดีขึ้น วิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่าน หลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจ น้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้า เหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน
  • ทางสังคม : บางครั้งทะเลาะวิวาทกับคนใกล้ชิด หรือไม่พูดจากับใคร จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อยๆ
คงมีหลายคน ที่อยากจะถามว่า เราจะต้องคลายเครียดกันทำไม ความเครียด คืออะไรกันแน่ เกิดขึ้นได้อย่างไร และมีผลอย่างไรบ้าง ต่อบุคคล 

เทคนิคทำงานดี...ไม่มีงานค้าง


  • จัดลำดับความสำคัญของงาน
    เคยสงสัยไหมว่า ทำไมทำงานไม่เคยทัน ทั้ง ๆ ที่คุณก็เป็นคนทำงานเก่ง นั่นเป็นเพราะคุณไม่ได้จัดลำดับความสำคัญของงานให้เป็นสัดส่วนอย่างชัดเจน แม้ว่าจะทำงานได้ดีขนาดไหน แต่ถ้าไม่จัดสรรเวลาให้ดี คุณอาจต้องเผชิญกับงานค้างระหว่างวันหยุดยาวอย่างแน่นอน ดังนั้นควรจัดลำดับความสำคัญของงานทุกครั้งที่มีงานใหม่เข้ามา ให้ความสำคัญกับงานที่เร่งด่วนก่อน แล้วค่อย ๆ ทำงานไปทีละอย่าง รับรองว่าปัญหางานค้างจะไม่มีอย่างแน่นอน
  • สะสางทันที ไม่มีงานค้าง
    นิสัยผัดวันประกันพรุ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้คุณต้องประสบกับปัญหางานค้าง ดังนั้น เมื่อมีงานเข้ามาใหม่ และมีเวลาในการทำงาน คุณควรรีบสะสางงานนั้น ให้เสร็จก่อนทันที อย่าคิดว่าเดี๋ยวก็ทำเสร็จ เพราะคุณไม่รู้ว่าในระหว่างนั้นอาจมีงานอื่นแทรกเข้ามา ทำให้คุณไม่มีเวลาสะสางงานชิ้นแรกก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อมีเวลา คุ็ณควรทำให้เสร็จทันที อย่าปล่อยให้คั่งค้าง จนหาเวลาสะสางไม่ได้
  • อย่านำงานกลับไปทำที่บ้าน
    การเอางานกลับไปทำที่บ้าน ไม่เพียงแต่จะทำให้เสียเวลาในการพักผ่อน แต่ยังทำให้คุณติดนิสัยเอางานมาทำนอกเวลาจนกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของคุณขาดประสิทธิภาพ และยิ่งทำให้มีงานค้างมากขึ้น หากคุณยังทำงานที่เอากลับไปไม่เสร็จ
  • อย่าทำงานคนเดียว
    คนเก่งหลายคนมักจะหวงงาน และคิดว่าคนอื่นทำได้ไม่ดีพอ บางคนไม่ยอมแม้จะมอบหมายงานของตัวเองให้ลูกน้องช่วยทำ หากเป็นเช่นนั้นแล้ว คุณจะต้องทำงานคนเดียว และไม่สามารถทำงานนั้นเสร็จ หากคุณอยากทำงานให้ลุล่วงทันเวลาและไม่มีงานค้าง คุณอาจจะต้องแบ่งงานให้คนอื่นทำบ้าง ดีกว่าต้องแบกภาระไว้คนเดียว แล้วงานไม่เสร็จ