Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กลยุทธ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ กลยุทธ์ แสดงบทความทั้งหมด

กลยุทธ์การตลาด

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่

  กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s 
ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้
                          1.แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s
       ซึ่งประกอบไปด้วยสว่นผสมทางการตลาด ดังนี้
                                   1.1 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์  ( Product  Strategy )
                                   1.2กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
                                   1.3กลยุทธ์การจัดจำหน่าย  ( Place  Strategy )
                                   1.4กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion  Strategy )
                                   1.5กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์  ( Packaging  Strategy )
                                   1.6กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ( Personal  Strategy )
                                   1.7กลยุทธ์การให้ข่าวสาร  ( Public  Relation Strategy )
                                   1.8กลยุทธ์ พลัง   ( Power  Strategy )
       ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

         กลยุทธ์ ผลิตภัณฑ์
  (Product  Strategy)

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์นั้น จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการตัดสินใจ เกี่ยวกับ
             1. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute )
             2.  ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ ( Product  mix )
             3. สายผลิตภัณฑ์ ( Product  lines )
สิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์
             1. แนวความคิดด้านผลิตภัณฑ์  ( Product  Concept )
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค Product ได้ ต้องมีความชัดเจนในตัวผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
             2. คุณสมบัติผลิตภัณฑ์  ( Product  attribute ) จะต้องทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นผลิตมาจากอะไร
มีคุณสมบัติอย่างไร ลักษณะทางกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ขนาด ความดี ความงาม ความคงทนทานด้านรูปร่าง รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในตัวของมันเอง
             3.ลักษณะเด่นของสินค้า  ( Product  Feature  ) การนำสินค้าของบริษัทไปเปรียบเทียบกับสินค้าของคู่แข่งขันแล้วมีคุณสมบัติ แตกต่างกัน และจะต้องรู้ว่าสินค้าเรามีอะไรเด่นกว่า เช่น ลักษณะเด่นของ Dior คือเป็นผลิตภัณฑ์ชันนำจากปารีส
             4.ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์  ( Product  Benefit )   พิจารณาว่าสินค้ามีลักษณะเด่นอย่างไรบ้าง
และสินค้าให้ประโยชน์อะไรกับลูกค้าบ้าง  ระหว่างการให้สัญญากับลูกค้า กับการพิสูจน์ด้วยลักษณะเด่นของสินค้า
                 ตัวอย่างกลยุทธ์

                 : ขยายวิธีการใช้ใหม่ๆ ของผลิตภัณฑ์เรา เพื่อกลุ่มเป้าหมายใหม่ คือ กลุ่มผู้ใหญ่ที่ อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
                 : ละทิ้งผลิตภัณฑ์ซึ่งบังไม่สามารถทำกำไรนับตั้งแต่เมื่นำผลิตภัณฑ์นั้นๆ สู่ตลาดแล้วเป็นเวลา ปี

            กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
เป็นการกำหนดว่าเราจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูงหรือราคาต่ำ สิ่งที่จะต้องตระหนักคือ
ราคาทีได้กำหนดไว้นั้นเหมาะสมในการแข่งขัน หรือสอดคล้องกับตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่กลยุทธ์ด้านราคา ( Price strategy )
 ในการกำหนดกลยุทธ์ด้านราคามีประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาดังนี้
              1.ตั้งราคาตามตลาด ( On going price ) หรือตั้งราคาตามความพอใจ ( Leading price )
                     1.1 ตั้งราคาตามตามตลาด (On going price) เหมาะสำหรับสินค้าที่สร้างความแตกต่างได้ยากจึงไม่สามารถจะตั้งราคาให้แตก ต่างจากตลาดคู่แข่งขันได้ นั่นคือ การตั้งราคาตามคู่แข่งขัน
                     1.2 ตั้งราคาตามความพอใจ  ( Leading price )  เป็นการตั้งราคาตามความพอใจ โดยไม่คำนึงถึงคู่แข่งขัน เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างในตราสินค้าสินค้าที่มีเอกลักษณ์ส่วนตัวมีภาพพจน์ที่ดี จะตั้งราคาเท่าไรก็ไม่มีใครเปรียบเทียบ
              2. สินค้าจะออกเป็นแบบราคาสูง ( Premium price )  เมื่อแน่ใจในคุณภาพที่เหนือกว่าและการยอมรับในราคาของลูกค้าหรือราคามาตรฐาน ( Standard ) เมื่อใช้การตั้งราคาโดยพิจารณาจากราคาของคู่แข่งขัน หรือตราสินค้าเพื่อการแข่งขัน ( Fighting brand )  เป็นสินค้าด้อยคุณภาพกว่าคู่แข่งขันเล็กน้อย จะลงตลาดล่าง
              3. การตั้งราคาเท่ากันหมด  ( One pricing ) คือสินค้าหลายอย่างที่มีราคาติดอยู่บนกล่อง หมายถึง ไม่ว่าจะขายอยู่ที่ใดฤดูหนาวหรือฤดูร้อนราคาก็เท่ากันหมด  หรือราคาแตกต่างกัน ( Discriminate price ) ข้อดี คือสามารถเรียกราคาได้หลายราคา แต่ข้อเสียก็คือ เราต้องหาเหตุผลในการตั้งราคาหลายอย่าง เพื่อให้คนยอมรับได้
              4. การขยายสายผลิตภัณฑ์ ( Line extension ) ในกรณีนี้การนำเสนอสินค้าเริ่มต้นด้วยราคาหนึ่ง แล้วมีกลยุทธ์เผยแพร่ความนิยมไปยังตลาดบน หรือตลาดล่าง
              5.  การขยับซื้อสูงขึ้น ( Trading up ) เป็นการปรับราคาสูงขึ้นทำให้ได้กำไรมากขึ้น จึงพยายามขายให้ปริมาณมากขึ้นหรือการขยับซื้อต่ำลง ( Trading down ) เป็นการผลิตสินค้าที่มีราคาแพงให้มีคุณภาพกว่าสินค้าที่ราคาถูกเล็กน้อยแต่ ตั้งราคาสูงกว่า เพื่อให้คนซื้อสิ้นที่รองลงมา
              6. การใช้กลยุทธ์ด้านขนาด ( Size ) คือไม่ทำขนาดเท่ากับผู้ผลิตรายอื่น ๆ
                  ตัวอย่าง กลยุทธ์ 
                  : ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่งร้อยละ 30 เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้าที่อยู่ในระดับสูง
                  : ตั้งราคาต่ำสำหรับช่วงฤดูกาลที่ยอดขายน้อย และตั้งราคาต่ำกว่าผู้นำเล็กน้อยในช่วงฤดูกาลที่ยอดขายดี
             กลยุทธ์ช่องทางการจัด จำหน่าย( Place Strategy )
วิธีการจัดจำหน่าย จะต้องพิจารณาถึง
              1. ช่องทางการจัดจำหน่าย ( Channel of distribution )
เป็นเส้นทางที่สินค้าเคลื่อนย้ายจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังผู้บริโภคหรือผู้ ใช้ ซึ่งอาจจะผ่านคนกลางหรือไม่ฝ่ายคนกลางก็ได้

              2. ประเภทของร้านค้า ( Outlets ) ในทุกวันนี้จะพบได้ว่าวิวัฒนาการของการจัดจำหน่ายนั้นเป็นสิ่งที่เจริญเติบ โตรวดเร็วมากประเภทของร้านค้ามีมากมาย จนแทบจะตามไม่ทัน จะขอเรียงลำดับประเภทของร้านค้าจากใหญ่ไปหาเล็ก
               (1) ร้านค้าส่ง  ( Wholesale store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าในปริมาณมาก ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกลาง
               (2)  ร้านค้าขายของถูก( Discount store )  เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าราคาพิเศษ
               (3)  ร้านห้างสรรพสินค้า( Department store )                            
                         (4)  ซูเปอร์มาร์เก็ตที่อยู่เดี่ยว ๆ (Stand alone supermarket)เป็นร้านที่มีทำเลเดี่ยวไม่ติดกับร้านค้าใดๆ
               (5) ช้อปปิ้งชุมชน ( Community mall ) เป็นร้านค้าที่อยู่ในย่านชุมชน
               (6) Minimart  จะเห็นได้จากร้านค้าเล็กๆ ตามตึกอาคารสูงๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งตั้งฮั่วเส็งเริ่มบุกตลาด Minimart  พอสมควร
               (7)  ร้านค้าสะดวกซื้อ ( Convenience store ) เป็นร้านค้าที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าสะดวกซื้อ บางร้านจะเปิดบริการ 24 ชั่วโมง
               (8) ร้านค้าในปั๊มน้ำมัน
               (9) ซุ้มขายของ ( Kiosk )  เป็นร้านที่จัดเป็นซุ้มขายของ บางครั้งจัดเป็นบูท
              (10) เครื่องขายอัตโนมัติ ( Vending machine ) เป็นการขายสินค้าผ่านเครื่องจักรอัตโนมัติ
              (11) การขายทางไปษณีย์ ( Mail order )  เป็นการขายสินค้าซึ่งใช้จดหมายส่งไปยังลูกค้า มีการลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ถ้าพอใจก็ส่งข้อความสั่งซื้อทางไปรษณีย์
              (12) ขายโดยแคตตาล็อก ( Catalog sales )
              (13) ขายทางโทรทัศน์ ( T.V. Sales )
              (14) ขายตรง ( Direct sales ) การขายโดยใช้พนักงานขายออกเสนอขายตามบ้าน
              (15) ร้านค้าสวัสดิการ เป็นร้านค้าที่ตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกกับพนักงานตามหน่วยงานราชการ ต่างๆ ของบริษัท หรือสำนักงานต่างๆ
              (16) ร้านค้าสหกรณ์ เป็นร้านค้าที่ตั้งอยู่ตามมหาวิทยาลัย และโรงเรียนต่างๆ

           3. จำนวนคนกลางในช่องทาง ( Number of intermediaries ) หรือความหนาแน่นของคนกลา
ในช่องทางการจัดจำหน่าย ( Intensity of distribution ) ในการพิจารณาเลือกช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีกระบวนการ ขั้นตอน 
ดัง นี้
               (1) การพิจารณาเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร
               (2)พฤติกรรมในการซื้อของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ซื้อเงินสดหรือเครดิต ต้องจัดส่งหรือไม่ ซื้อบ่อยเพียงใด
               (3) การพิจารณาที่ตั้งของลูกค้าตามสภาพภูมิศาสตร์

           4. การสนับสนุนการกระจายตัวสินค้าเข้าสู่ตลาด ( Market logistics ) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต และตัวสินค้าจากแหล่งปัจจัยการผลิตผ่านโรงงานของผู้ผลิต แล้วกระจายไปยังผู้บริโภค

                    กลยุทธ์ การส่งเสริมการตลาด(Promotion Strategy )

              กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดจะต้อง ประสานกับแผนการตลาดโดยรวมและควรกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
              ตัวอย่างกลยุทธ์
                   : ใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคู่ค้า เพื่อให้คู่ค้าสนับสนุนตราสินค้าของเรา
                   : ใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดให้เกิดผลสูงสุดเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า ของเราในช่วงที่ยอดขายตกต่ำของปี
                              (ค้น หาเพิ่มเติมในบทความหน้าอื่น)

                    กลยุทธ์ การบรรจุภัณฑ์  (Packaging Strategy )
            การตัดสินใจเลือกรูปแบบการบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักจะใช้ กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่ กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ มีหลักในการพิจารณาดังนี้
              1. บรรจุภัณฑ์นั้นเหมาะสมที่จะบรรจุสินค้า ( Put  in ) หรือไม่
              2. สินค้าเมื่อวางบนชั้นแล้วได้เปรียบ (เด่น ) ( Put up ) หรือไม่
              3. สินค้าเมื่อนำเอามาใช้แล้วเก็บสะดวก ( Put away ) หรือไม่
              4. บรรจุภัณฑ์สวยงาม ( Prettiness ) หรือไม่
              5. สามารถเชิญชวนให้ใช้ ( Pleading ) ได้หรือไม่
              6. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนตำแหน่งครองใจของสินค้า ( Positioning ) ได้หรือไม่
              7. บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนบุคลิกภาพของสินค้า ( Personality ) ได้หรือไม่
              8. บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องสินค้า ( Protection ) ได้หรือไม่
              9. บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งาน ( Practicality ) หรือไม่
            10. บรรจุภัณฑ์ที่เลือกนั้นสามารถทำกำไรได้มากขึ้น ( Profitability ) ได้หรือไม่
            11. บรรจุภัณฑ์นั้นสามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการตลาด ( Promotion ) ได้หรือไม่
            12. เป็นการบอกถึงวิธีการใช้สินค้า ( Preaching ) ได้หรือไม่
            13. สามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ( Preservation ) ได้หรือไม่

                    ถ้านำสิ่งเหล่านี้มาพิจารณาทั้งหมดจะเห็นไว่าในการออก แบบบรรจุภัณฑ์ของบริษัทจะเป็นโลโก้ ตัวหนังสือ ตัวอักษร การเลือกเป็นกระดาษ เป็นโฟม เป็นฝาจุก หรือเครื่องหมาย สีสันต่างๆ บริษัทก็จะได้บรรจุภัณฑ์ที่ดี
                     ตัวอย่าง กลยุทธ์   
                                :  เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วยสีสันที่สดใสเพื่อให้ผู้บริโภคเห็นอย่าง ชัดเจน ณ จุดขาย

                          กลยุทธ์ การใช้พนักงานขาย (Personal  Strategy)

           การขายโดยใช้พนักงานขายจัดเป็นรูปแบบการปฏิบัติ ตัวต่อตัวระหว่างกิจการกับลูกค้า ทั้งนี้เพื่อมุ่งหวังคำสั่งซื้อด้วยรูปแบบการขายที่แตกต่างกัน    การขายโดยพนักงานขายนั้นเกี่ยวข้องกับการจ้างพนักงานขาย การจัดการทั่วๆ ไปเกี่ยวกับพนักงานขาย ตลอดจนการบริหารสินค้าคงคลัง     การเตรียมการเสนอขายและการบริการหลังการขาย ในการพัฒนาแผนกการขายนั้น กิจการจะเริ่มตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์และปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประเภทของธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจการบริการ หรือธุรกิจการผลิต จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์การขายและการดำเนินงาน การขายโดยใช้พนักงานขายนั้นหวังผลลัพธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและขณะเดียวกันก็ เพื่อสร้างสัมพันธ์ภาพระยะยาวกับลูกค้าอีกด้วย 
          นอกจากนี้การขายโดยใช้ พนักงานขายนั้น ยังมีการใช้โบว์ชัวร์ เอกสาร ใบปลิว วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยในการนำเสนอขายของพนักงาน  ตลอดจนเป็นหลักฐานอ้างอิงและสามารถมอบไว้ให้ลูกค้าเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่ม เติม
                    ตัวอย่าง กลยุทธ์
                             : กำหนดตัวเลขอัตราส่วนการขาย เช่น จำนวนลูกค้าที่คาดหวัง ( Prospect ) เมื่อเทียบกับจำนวนที่กลายเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้าของเราในที่สุดหรือจำนวน ลูกค้าที่ซ่อสินค้าเมื่อเทียบกับลูกค้าที่เข้ามาในห้าง ทั้งนี้เพื่อการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพของพนักงานขาย
                  : คิดค้นโปรแกรมการให้ผลตอบแทนการขาย ( Incentive Program ) ใหม่ๆ เพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานขายที่ทำยอดขายตามเป้า

                         กลยุทธ์ การให้ข่าวสาร( Public Relation Strategy)

                  การให้ข่าวสารนั้น คือ รูปแบบหนึ่งของการติดต่อสื่อสารที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อ ทั้งนี้เพื่อสร้างทัศนคติที่เป้นบวกต่อสินค้าและกิจการของเรา แต่ปัจจุบันการสื่อสารโดยวิธีดังกล่าวอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางอ้อมเกี่ยวกับสื่ออีกด้วย การให้ข่าวสารแก่สาธารณะชนนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ การให้ข่าวสารจัดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ในระยะยาวแก่องค์กร และต้องการให้ผลลัพธ์นี้ออกมาในเชิงบวกแก่องค์กร
                  สิ่งที่เราต้องพิจารณาอย่างยิ่งในการให้ข่าวสารคือ กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้รับข่าวสารและสื่อโฆษณาที่จะใช้เพื่อการสื่อข่าว สาร
                        ตัวอย่างกลยุทธ์   

                                                    : การร่วมมือกับสื่อบางสื่อ เพื่อจัดเทศกาลในโอกาสพิเศษ
                               : กำหนดโปรแกรมการเปิดตัวการบริการรูปแบบใหม่ของธุรกิจเรา

ที่มา 

หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)


หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
 จัดและรวบรวมโดย.อาจารย์พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์






การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์


การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย

•ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ(สถานการณ์)ขององค์กร
•การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
•การนำสิ่งที่ได้(ข้อมูลที่รวบรวมได้) ไปใช้ในการวางทิศทางขององค์กร
•จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร (เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้)


การวางแผนกลยุทธ์ ต้องตอบโจทย์คำถาม 3 ประการให้ได้

1.ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
2.ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3.จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องให้ความสำคัญกับ

1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2.จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พัธกิจ(ภารกิจ) และวัตถุประสงค์ขององกรค์อย่างชัดเจน
3.กำหนดกลยุทธ์โดยพิจารณาความเหมาะสม และการสามารถไปปฎิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4.ปฎิบัติตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5.ความคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฎิบัติงาน ประเมินผลกระบวนการและผระเมินผลสำเร็จขององค์กร

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เมื่อเราต้องการ

1.เปลี่ยนทิศทางและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
2.สร้างกรอบการทำงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในองค์กร
3.กำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณและการประเมินผลการดำเนินงาน
4.ฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
5.เพิ่มความมั่นใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจ

เกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์ (การวางแผน)

1.เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
2.เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3.เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในะยะยาว
4.เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
5.เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้


หลักการ ที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนเชิงกลยุทธ์

1.ลักษณะธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ (What business you are in?)
2.ลักษณะธุรกิจในอนาคต (Where do you want to go?)
3.สภาพแวดล้อม (Environment)
4.การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation)
5.การปฎิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ (Achievement)


กฎของการวางแผนเชิงยุทธ์

1.การแปลงกลยุทธ์ไปสู่ทีมปฎิบัติการต่าง ๆ โดยสร้างให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งทุกคนจะรู้เป้าหมายของตนเองอย่างชัดเจน ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้าง
2.ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพราะแต่ละหน่วยงานย่อมมีบทบาทหน้าที่ มีองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การจะทำให้กลยุทธ์ได้รับการปฎิบัติและดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพื่อสร้างให้องค์กรมีเอกภาพและเข้มแข็ง
3.ทำให้กลยุทธ์เป็นเสมือนงานประจำวันของทุกคน ต้องทำให้ทุก ๆ คนเข้าใจกลยุทธ์ และสามารถทำงานประจำวันของตนไปในทิศทางที่สอดคล้อง สนับสนุนความสำเร็จของกลยุทธ์ ซึ่งไม่ใช่การสั่งการจากบนลงล่าง แต่เป็นการสื่อสารระหว่างทั้งสองระดับ
4.ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง


ปัญหามักเกิดขึ้นในการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ

1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ(ภารกิจ) ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์
2.การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
3.สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
4.หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้
5.การพัฒนาความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

การวางแผนเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ

1.จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนทุกขั้นตอน สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และกระบวนการมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามวงจร
Plan – Do – Check – Act (PDCA)
2.จัดทำแผนที่มีทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฎิบัติ การนำแผนไปปฎิบัติ และระบบปฎิบัติการ
3.กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสมดุลตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ค่านิยมด้านลูกค้า ค่านิยมด้านพนักงาน ค่านิยมด้านธุรกิจ ค่านิยมด้านชุมชน

กลยุทธ์การสร้างความเป็นเลิศทางการตลาด


กลยุทธ์การสร้างความเป็นเลิศทางการตลาด
 ตามแบบฉบับ Kotler on Marketing



* ทำเป็นคนแรก * ทำเร็ว * ทำถูก

# คิดเป็นทำเป็น # ทำให้ถูกตั้งแต่แรก # ทำให้ถูกทุก ๆ ครั้งไป

% คิดเป็นทำเป็น % คิดใหม่ ทำใหม่ % World Class


การตลาด คือ ศิลปะของการค้นหา พัฒนา และแสวงหากำไร จากโอกาสที่เปิดรออยู่
Kotler แนะนำให้หาหนทางเพื่อเข้าถึงโอกาส และชี้ให้เห็นแนวทาง 

ปฎิบัติด้านการตลาด ที่จะทำให้ประสบชัยชนะในทางธุรกิจ (หนทางสู่ชัยชนะ) ดังนี้
1. ชนะด้วยการมีคุณภาพที่เหนือกว่า
2. ชนะด้วยบริการที่เหนือกว่า
3. ชนะด้วยราคาที่ตำกว่า
4. ชนะด้วยการปรับตัวให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง
5. ชนะด้วยการรู้จักปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตนอย่างต่อเนื่อง
6. ชนะด้วยการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์
7. ชนะด้วยการตอบสนองเกินความคาดหวังของลูกค้า
8. ชนะด้วยการเข้าสู่ตลาด ที่มีอัตราการเติบโตที่สูง

สรุป อีกทั้งต้องรู้จัก การตลาดเชิงรุก ผสมผสานการ Creative Marketing
*Creative Marketing คือ...

การคิดสร้างสรร (Creative) + รสนิยมที่ดี (Good Test)


การคิด เชิงกลยุทธ์ คืออะไร ?...



การคิด เชิงกลยุทธ์ คืออะไร ?... 


การคิด เชิงกลยุทธ์เป็นการ คิดที่ว่า ผู้อื่นคิดอย่างไร แล้วเราจะต้องคิดนำหน้าเขาไปให้ได้อีกหนึ่งก้าวเสมอ นี้คือ การคิดในการจัดการเชิงกลยุทธ์

หากเรารู้จัก คิด จัดการเชิงกลยุทธ์ มันจะมีผลดี ต่อเราอย่างไรบ้าง... ?
• ทำให้เรารู้และมีทิศทางของตนเอง มีวิสัยทัศน์ มีวัตถุประสงค์ อย่างเป็นระบบ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
• เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ( รู้เขารู้เรา ) เป็นการได้เปรียบในลักษณะเชิงป้องปราม เป็นการสร้างสรรค์และประยุกต์สิ่งใหม่ที่ดีสำหรับองค์กร


การจัดการเชิงกลยุทธ์ สำหรับในทางธุรกิจ ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ CEO ต้อง คิด และ หา เครื่องมือ มาทำการวิเคราะห์ธุรกิจของตนเอง เพื่อเลือกหนทางที่ดีที่สุด ที่จะเป็นแนวทางบริหารและกำหนดทิศทางของธุรกิจตน โดยอาจจะใช้
หลักการ SWOT วิเคราะห์สถานการณ์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของธุรกิจเข้าช่วยจัดการ
• การวิเคราะห์จุดแข็งขององค์กรธุรกิจ (Strength – S)
• การวิเคราะห์จุดอ่อนขององค์กรธุรกิจ (Weakness – W)
• การวิเคราะห์โอกาสที่องค์กรธุรกิจอาจได้รับ (Opportunity – O)
• การวิเคราะห์อุปสรรค,วิกฤต,ภัยคุกคามที่องค์กรธุรกิจกำลังเผชิญอยู่ (Threat –T)

หรืออาจจะใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (General Environment) PEST Environment เป็นแบบในการวิเคราะห์พิจารณาธุรกิจ
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านการเมือง (Political – P)
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ (Economic – E)
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านสังคม (Social – S)
• วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี (Technology – T)

หรืออาจจะใช้ตัวแบบการวิเคราะห์สภาพการแข่งขัน ที่ชื่อว่า Five Force Model ของ Micchael E. Poter เป็นตัวช่วยวิเคราะห์วงการธุรกิจ ที่องค์กรดำรงก็ได้
• การวิเคราะห์คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ (New Entrance)
• การวิเคราะห์ผู้ซื้อ (Buyer)
• การวิเคราะห์ผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier)
• การวิเคราะห์สินค้าทดแทน (Substitute)
• การวิเคราะห์คู่แข่ง (Rival)

ทั้ง SWOT , PEST Environment , และ Five Force Model เป็นเครื่องมือที่ผู้บริหาร คิด ที่จะนำมาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจของตน
ผลจากการวิเคาระห์ออกเป็นอย่างมาอย่างไร ก็ประเมินเพื่อเลือกทางเดินที่ดีที่สุด เพื่อเป็นแนวทางเดินทางปฏิบัติของธุรกิจของตนต่อไป
แล้วแนวทางการปฏิบัติของการจัดการเชิงกลยุทธ์ล่ะ ! เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เป็นไปตามแผนการที่วางไว้หรือไม่ ถ้าไม่...?...จะทำอย่างไร ?

คราวนี้ลองมาฟังแนวทางของ “ซุนวู” ดูบ้าง โหดดีครับ...
แล้วเราจะรู้ว่า ทหาร ทำไมผู้บังคับบัญชา จึงสั่งหันซ้ายหันขวาได้
ซูนวู เป็นนักการทหารและนักปกครองของจีน ในสมัยของ พระเจ้าเฮอหลู เมื่อซุนวูได้นำตาราพิชัยสงครามที่เขียนขึ้น ทั้ง 13 บทถวายต่อพระเจ้า
เฮอหลู พระเจ้าเฮอหลูได้กล่าวกับซุนวูดังนี้


“ตำราพิชัยสงครามของท่าน 13 บท ข้าฯได้อ่านจบเรียบร้อยแล้ว แต่ท่านจะทดลองปฏิบัติ และแปรขบวนการรบให้ข้าฯดูเป็นขวัญตาจะได้หรือไม่ แล้วการทดลองนี้จะใช้กับอิสตรีจะเป็นไปได้หรือไม่ ?”
ซุนวูตอบว่า “ได้”
พระเข้าเฮอหลู ได้นำนางสนม รวม 108 คนมาให้ซุนวูทำการทดสอบแปรขบวนการรบ ซุนวูได้แบ่งนางสนมออกเป็นทหารหญิง 2 หน่วย และให้ นางสนมเอกคนโปรดของพระเจ้าเฮอหลู 2 คนทำหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วย โดยให้ทุกคนถืออาวุธและเข้าแถวประจำหน้าที่ แล้วซุนวูก็ได้ออกคำสั่งว่า
“ท่านทั้งหลายทราบดีแล้วหรือยังว่า หลังหัน หน้าหัน ซ้ายหัน ขวาหัน เป็นอย่างไร”
ทหารหญิงทั้งหลายได้ยิน ก็ตอบพร้อมเพียงกันว่า
“ทราบดีแล้ว”
เมื่อสักซ้อมกำหนดเครื่องหมาย และประกาศให้ทุกคนทราบถึงระเบียบวินัยทางทหารแล้ว ซุนวูก็นำขวานอาญาสิทธิ์มาตั้งเรียงรายต่อหน้าทหารหญิง และประกาศอาญาสิทธิ์ในการลงโทษตามวินัยของทหาร จนทุกคนทราบดีแล้ว ก็ลั่นกลองรบ ให้ทหารหญิงทุกคนเคลื่อนย้ายแปรขบวนไปทางขวา ทางซ้าย ทหารหญิงทั้งหลายก็พากันหัวเราะกิ๊กกั๊กด้วยความสนุกสนาน ซุนซูจึงกล่าวว่า
“การกำหนดคำสั่งยังไม่แจ่มชัด ระเบียบวินัยทหารยังไม่เข้าใจกันดี ย่อมเป็นความผิดของผู้เป็นแม่ทัพ”
แล้วซุนวูก็ให้สัญญาณลั่นกลอง และออกคำสั่งต่อไป โดยให้ทหารหญิงเคลื่อนไปทางซ้าย และทางขวา เหล่าทหารหญิงก็ต่างหัวเราะและสนุกสนานกันยกใหญ่ ซุนวูจึงกล่าวขึ้นว่า
“การกำหนดคำสั่งยังไม่แจ่มชัด ระเบียบและวินัยทหารยังไม่เข้าใจดี ย่อมเป็นความผิดของแม่ทัพ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อได้มีการซักซ้อมและอธิบายหลายครั้งแล้ว ก็ยังไม่อาจรักษาระเบียบวินัยได้ ย่อมถือว่าเป็นความผิดของทหาร”
ซุนวู จึงสั่งให้นำทหารที่เป็นหัวหน้าหน่วยซึ่งเป็นสนมเอกของพระเจ้าเฮอหลู ไปประหารชีวิต (ตัดหัว) พระเจ้าเฮอหลูเห็นซุนวูทำเช่นนั้นก็ตกใจเป็นอย่างมาก รีบลงมาจากพลับพลาที่ประทับและร้องขอชีวิตนางสนมทั้ง 2
ซุนวูจึงกล่าวตอบไปว่า
“เมื่อข้าพเจ้าได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพ อาญาสิทธิ์ในการคุมกองทัพย่อมอยู่ที่ข้าพเจ้า ซึ่งราชโองการของพระประมุขย่อมไม่อาจจะมาลบล้างได้”
ในที่สุดซุนวูก็ได้ให้ทหารนำนางสนมที่เป็นทหารหญิง ไปประหารชีวิตต่อหน้าทหารหญิงทั้งหมด ครั้นแล้วก็ให้นางสนมที่ยื่นถัดไปขึ้นมาเป็นหัวหน้าหน่วยแทนผู้ถูกประหารชีวิต แล้วก็เริ่มให้สัญาณและลั่นกลองรบต่อไป คราวนี้จะให้ทหารหญิง หันซ้าย หันขวา หันหน้า หันหลัง ลุกนั่ง ทหารหญิงก็จะปฏิบัติอย่างพร้อมเพียงตามคำสั่ง ไม่มีใครกล้าออกเสียง หรือหัวเราะอีกเลย
ซุนวูจึงรายงานพระเจ้าเฮอหลูว่า
“บัดนี้ ทหารได้รับการฝึกซ้อมที่ถูกต้องตามกระบวนการรบเรียบร้อยแล้ว จึงขอให้พระองค์ลงมาชมได้ และไม่ว่าพระองค์จะมีพระประสงค์ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ไหน อย่างไรก็ได้ทั้งนั้น แม้แต่จะลุยไฟ ฝ่าคมดาบ ทหารหญิงเหล่านี้ก็ไม่มีความย่นระย่อกลัวความตายแม้แต่น้อย”
พระเจ้าเฮอหลูทรงตรัสว่า
“ข้าไม่ต้องการที่จะลงไปชมแล้ว ท่านกลับไปพักผ่อนได้”
ซุนวูจึงกล่าวต่อไปว่า
“พระองค์ทรงชอบแต่สำนวนในตำราพิชัยสงคราม แต่แท้ที่จริงพระองค์ยังเข้าไม่ถึง หลักการของกลยุทธและยุทธศาสตร์ เลย”

สรุป ทั้ง SWOT , PEST Environment , และ Five Force Model ก็เปรียบได้กับตำราพิชัยสงคราม แต่ละบท (กลยุทธแต่ละบทที่ใช้ในการทำสงคราม) แม่ทัพ ก็คือ CEO ( CEO ย่อมาจากคำเต็มว่า Chief Executive Officer หรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ) คำสั่งก็คือแนวทางปฏิบัติที่ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หากท่านเป็นหัวหน้าแล้วสั่งการ สั่งงานไป ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่ง ท่านจะทำเช่นไร ? ก็คงต้องเชือดไก่ให้ลิงดูแล้วในยุคนี้.... ( โหดเหมือนกันนี้ครับ ! )


กลยุทธ์ทางการตลาด(8 P's Strategy)



กลยุทธ์ทางการตลาด(8 P's Strategy) article

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่
                                                                                     กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้
                          1.แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s
       ซึ่งประกอบไปด้วยสว่นผสมทางการตลาด ดังนี้
                                   1.1 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์  ( Product  Strategy )
                                   1.2กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
                                   1.3กลยุทธ์การจัดจำหน่าย  ( Place  Strategy )
                                   1.4กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion  Strategy )
                                   1.5กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์  ( Packaging  Strategy )
                                   1.6กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ( Personal  Strategy )
                                   1.7กลยุทธ์การให้ข่าวสาร  ( Public  Relation Strategy )
                                   1.8กลยุทธ์ พลัง   ( Power  Strategy )
       ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆดังนี้