Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

เทคนิคการจำชื่อคนให้แม่น


จำชื่อให้แม่น

6 ขั้นตอนในการจำชื่อคนให้แม่น



คุณมีปัญหาเกี่ยวกับการจำชื่อคนหรือเปล่าครับ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งพบกันครั้งแรก ถ้ามี ลองนำเทคนิคง่ายๆ ต่อไปนี้ไปลองใช้ดูสิครับ

1. เมื่อแรกพบหน้า ให้คุณมองหาสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษบนใบหน้าของบุคคลนั้น (มองเฉย ๆ อย่างสุภาพนะครับ ไม่ต้องถึงกับลงมือสำรวจ หรือกระทำให้เสียอาการแต่อย่างใด) เช่นไฝ ปาน ขี้แมลงวัน แผลเป็นบนใบหน้า ลักษณะรูปร่างของจมูก หรือรูปร่างของเรียวปาก เมื่อคุณได้พบหน้าคนนี้ครั้งต่อไป ลักษณะพิเศษที่คุณได้จดจำเอาไว้มันจะเด่นออกมาในความรู้สึกคุณ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้จดจำเขาได้

2. เมื่อเขาได้แนะนำชื่อให้คุณรู้จัก ต้องตั้งใจฟังชื่อเอาไว้ให้ดี

3. เมื่อได้ยินชื่อแล้ว ให้แปลชื่อนั้นไปเป็นภาพในหัวของคุณ เช่นถ้าคนนั้นชื่อคุณธนชาติ คุณอาจจะคิดภาพของธนบัตรที่เป็นรูปธงชาติ หรือชื่อสมบัติ ก็ให้นึกถึงหีบสมบัติที่มีทรัพย์สินเงินทองล้นออกมามากมาย (วาดภาพให้เวอร์ๆ ไว้ครับ แล้วจะทำให้คุณจำได้แม่น) ลูกน้องผมคนนึงชื่อ Barry ผมก็นึกถึงข้าว Barley ซึ่งออกเสียงคล้ายๆ กัน

4. ขั้นตอนต่อไปให้กล่าวทักทายด้วยการเอ่ยชื่อคนนั้น แทนที่จะกล่าวว่าสวัสดีหรือยินดีที่ได้รู้จัก เฉยๆ เช่นเมื่อเขาแนะนำว่าเขาชื่อสมชาย ให้คุณกล่าวทันทีว่า "สวัสดีครับคุณสมชาย" หรือ "ยินดีที่ได้รู้จักครับ คุณสมชาย"

5. ในขณะที่คุณได้กล่าวชื่อของเขาอยู่นั้นก็ให้นึกถึงภาพในใจที่คุณสร้างขึ้นมาหรือนึกถึงลักษณะพิเศษบนใบหน้าของผู้นั้น

6. ตลอดระยะเวลาที่คุณพบบุคคลนั้นให้หมั่นทบทวนในใจถึงชื่อของเขาและภาพเชื่อมโยงที่ท่านสร้างขึ้นมา

รับรองครับว่าถ้าท่านนำวิธีนี้ไปใช้่ท่านจะจำชื่อคนได้แม่นขึ้นกว่าเดิมแน่นอน แล้วพบกันใหม่ครับ



ความหมายของ "ความจำ" เป็นคำที่ใช้อธิบายวิธีการที่ข้อมูล หรือสิ่งที่เรียนรู้ถูกบันทึก และเก็บไว้ถาวรในความจำระยะยาวและสามารถที่จะค้นคืนหรือเรียกมาใช้ (Retrieve) ในเวลาที่ต้องการได้ ความรู้ที่นักเรียนเรียนรู้แล้วแต่จำไม่ได้ก็จะไม่มีประโยชน์ นักเรียนส่วนมากจะไม่มีวิธีการเรียนและวิธีจดจำที่มีประสิทธิภาพ วิธีทั่วๆไป
ที่นักเรียนใช้อยู่เสมอ เช่น การอ่านทบทวนการสรุปและการขีดเส้นใต้ใจความสำคัญนั้น ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยความจำ ความจริงแล้วมนุษย์เราได้ค้นพบวิธีช่วยความจำ (Memonic Device) ที่ได้ผลดีมากมานานนับเป็นพันๆ ปีแล้ว เยสท์ ลูเรีย ฮันท์ และเลิฟ (Yates, 1966 Luria, 1968 Hunt and Love, 1972) พบว่า การสอนเทคนิคในการช่วยความจำให้แก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้ในความทรงจำได้นาน ๆ
เทคนิคช่วยความจำที่ใช้กันอยู่มีทั้งหมด 6 วิธี คือ
(1) การสร้างเสียงสัมผัส
(2) การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ
(3) การสร้างประโยคที่มีความหมายจากอักษรตัวแรกของกลุ่มของที่จะจำ
(4) วิธี Pegword
(5) วิธีโลไซ (Loce)
(6) วิธี Keyword ซึ่งเป็นวิธีที่ใหม่ที่สุด

1. การสร้างเสียงสัมผัส เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมาก และสิ่งที่จดจำจะอยู่ในความทรงจำเป็นเวลานาน บทเรียนภาษาไทยมีผู้คิดแต่งกลอนที่มีสัมผัสและมีความหมายเพื่อให้จำได้ง่าย เช่น การจำการันใช้ไม้ม้วนและคำที่ขึ้นต้นด้วย " บัน "


2. การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ การสร้างคำเพื่อช่วยความจำวิธีนี้ทำได้โดยการนำอักษรตัวแรกของแต่ละคำที่จะต้องการจำมาเน้นคำใหม่ที่มีความหมาย เช่น การจำชื่อทะเลสาปที่ใหญ่ทั้งห้าของอเมริกาเหนือสร้างคำว่า Homes ซึ่งหมายถึงทะเลสาป Huron, Ontario, Michigan, Eric, Superior ตามลำดับการท่องจำทิศทั้ง 8 ก็มีผู้คิดว่า ควรจะท่องจำ "อุ-อิ-บุ-อา-ทัก-หอ-ประ-พา" เริ่มจากทิศเหนือแล้ววนขวาตามลำดับ


3. การสร้างประโยคที่ความหมายช่วยความจำ (Acrostic) ตัวอย่างการใช้ประโยคที่มีความหมายสร้างจากอักษรตัวแรกของการจำชื่อ 9 จังหวัดที่อยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยว่า "ชิดชัยมิลังเลเพียงพบอนงค์" ซึ่งศาสตราจารย์สมุน อมรวิวัฒน์ ได้คิดขึ้น ถ้าถอดคำออกมาจะเป็นชื่อจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปางแพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ น่าน


4. วิธี Pegword เป็นวิธีที่มีประโยชน์สำหรับการท่องจำรายชื่อ สิ่งของหลาย ๆ อย่างที่จะต้องมีลำดับ 1, 2, 3…การใช้จำเป็นจะต้องสร้าง Pegs ขึ้น และท่องจำปกติ มักจะใช้ตัวเลขมีความสัมผัสกับสิ่งของให้มีเสียงสัมผัส(Rhyme)การใช้ก็ต้องใช้จินตนาการช่วยในการจำ การไปซื้อของหลายอย่างอาจจะใช้วิธี Pegword ตัวอย่างเช่น ต้องซื้อของ 7-8 อย่าง อย่างที่หนึ่ง คือ สี อย่างที่สอง คือ ดอกกุหลาบ ฯลฯ ก็อาจจะใช้จิตนาการว่า Bun ลอยอยู่บนป๋องสี เป็นอย่างที่ 1 และดอกกุหลาบโผล่ออกมาที่รองเท้า ประโยชน์ของวิธี Pegword ช่วยความจำ เป็นการช่วยให้ระลึกให้ง่าย และอาจจะระลึกได้ง่ายทั้งลำดับปกติ คือจากหน้าไปหลัง (Foreard) หรือย้อนจากหลังไปหน้า (Backwards)


5.วิธีโลไซ (Loci Method) วิธีโลไซนับว่าเป็นวิธีช่วยความจำที่เก่าแก่ที่สุด คำว่า "Loci" แปลว่า ตำแหน่ง แหล่งที่มาของวิธีโลไซไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีเรื่องนิยายเกี่ยวกับวิธีช่วยความจำโลไซที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีวิธีโลไซเน้นหลักการจำโดยการสร้างมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ต้องการจะจำ โดยใช้สถานที่และตำแหน่งเป็นสิ่งเตือนความจำ (Memory Pegs) เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อราว 450 ปี ก่อนคริสตกาล
วิธีช่วยความจำ โลไซมักจะใช้ช่วยความจำเกี่ยวกับสถานที่ เช่น ห้องต่าง ๆ ในบ้าน อาคารต่าง ๆ ของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย หรือร้านค้าต่าง ๆ บนถนนก็ได้ กฎเกณฑ์พื้นฐานของวิธีช่วยความจำโลไซมีดังต่อไปนี้
1.สถานที่หรือตำแหน่งต่าง ๆ ที่จะเลือกใช้ควรจะอยู่ใกล้กัน
2.จำนวนสถานที่หรือตำแหน่งที่จะใช้ควรจะเป็นจำนวนไม่เกิน 10 แห่ง
3.ควรกำหนดหมายเลขให้แต่ละสถานที่ตามลำดับตั้งแต่หนึ่งไปจนถึงสถานที่สุดท้าย และควรจะสามารถระลึกได้ทั้งหน้าไปหลังและหลังไปหน้า
4.สถานที่ใช้ควรจะเป็นที่ ๆ คุ้นเคย และผู้ใช้สามารถจะนึกภาพได้อย่างชัดเจน ฉะนั้นสถานที่ ๆ จะใช้ควรจะมาจากประสบการณ์
5.สถานที่จะใช้เป็นเครื่องช่วยความจำโลไซ ควรจะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นชัด ผู้ใช้ควร
จะเน้นสิ่งเด่นของแต่ละสถานที่
6.ผู้ใช้จะต้องสามารถที่จะสร้างจินตนาการภาพของลักษณะเดิมของแต่ละสถานที่ได้ เป็นต้นว่าเครื่องแต่งห้องมีลักษณะพิเศษอะไรบ้าง
ในการปฏิบัติ ผู้ที่ประสงค์จะใช้วิธีช่วยความจำโลไซจะต้องนำมาเป็นสิ่งแรกคือ เลือกหาสถานที่ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบตามธรรมชาติ เช่น บ้าน สิ่งแรกคือห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องครัว เป็นต้น หลังจากนั้นก็นำสิ่งที่คนอยากจะจดจำ อาจจะเป็นสิ่งของเหตุการณ์หรือความคิดก็ได้ พยายามเชื่อมโยงสิ่งที่จะจำกับสถานที่หรือสิ่งของที่ได้ให้หมายเลขไว้ และเมื่อจะระลึกถึงสิ่งที่ต้องการจำก็เริ่มจากหมายเลข 1 เป็นต้นไป
Kla : วิธีนี้เป็นวิธี นักจำแชมป์โลก ส่วนใหญ่ใช้กันอยู่นะครับ   ยกตัวอย่างในการแข่งขัน จดจำตัวเลข โดยจะสุ่มขึ้นมาเช่น  1 3 2 3 5 5  โดยให้เวลาจำทั้งหมด 1 ชั่วโมง และให้เวลาเรียนตัวเลข 2 ชั่วโมง   DR-Gunther จดจำตัวเลขได้ 1949 ตัว โดยสามารถทวนตัวเลขได้อย่างสมบูรณ์แบบ  แถมยังเป็น แชมป์อีก 8 สมัย




6.วิธี Keyword วิธีช่วยความจำที่เรียกว่า Keyword เป็นวิธีใหม่ที่สุด มีผู้เริ่มใช้ เมื่อปี พ.ศ. 2518 แอตคินสัน
หรือผู้ร่วมงาน ขั้นตอนของวิธี Keyword มีเพียง 2 ขั้น คือ
1.พยายามแยกคำภาษาต่างประเทศที่จะเรียน ซึ่งเวลาออกเสียงแล้วคล้ายภาษาไทย นี้คือ Keyword 2.นึกถึงความหมายของคำ Keyword ในภาษาไทยแล้ว แล้วมาหาคำสัมผัสของความหมายของ Keyword ในภาษาไทยตามเสียงที่อ่านและความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่จะเรียน
สรุปแม้วิธีช่วยความจำแบบ Keyword ใช้การเรียนคำในภาษาต่างประเทศเป็นการเชื่อมโยงกับความหมายของ
คำกับ Keyword โดยเสียง และเชื่อมโยงกับความหมายของคำในภาษาไทยได้โดยการใช้จินตนาการ ตัวอย่างเช่น คำภาษาอังกฤษ Potato แปลว่า มันฝรั่ง อ่านว่า โพเทโท คำ Keyword ใช้คำว่าโพหรือโพธิ์ ฉะนั้นอาจจะจำคำ
"โพเทโท" โดยนึกวาดภาพคำว่า โพธิ์ และมันฝรั่งตามตา มีใบโพธิ์โผล่ขึ้นมาวิธี Keyword ช่วยในการเรียนเรื่องอื่น ๆ เช่น การจำชื่อเมืองหลวงต่าง ๆ และความสำเร็จของบุคคลต่าง ๆ นักจิตวิทยาได้ทดลองวิจัยเกี่ยวกับการใช้วิธี Keyword ช่วยความจำทั้งในโรงเรียนประถม มัธยม และมหาวิทยาลัยปรากฏว่าได้ผลดีทุกระดับ

สรุปแล้ว เครื่องช่วยความจำ (Memonic Devices) ช่วยให้ผู้เขียนสามารถที่จะเข้ารหัส สิ่งที่เรียนเก็บไว้ในความจำระยะยาว และเวลาที่ต้องการใช้ก็สามารถค้นคืนหรือเรียกมาใช้ได้ง่าย ฉะนั้นการสอนนักเรียนให้ใช้เครื่องช่วยจำจึงมีประโยชน์ เพราะจะได้แก้ความเข้าใจผิดที่ว่า คนจำเก่งเป็นคนที่มีระดับสติปัญญาสูง ถ้านักเรียนได้ทดลองใช้วิธีช่วยความจำในการเรียนขึ้นและสนุกในการที่จะค้นคืนวิธีที่จดจำสิ่งที่เรียกได้ดี เวลาสอบก็จะทำคะแนนได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยทั่วไปแล้ว ไม่แต่เพียงว่าให้นักเรียนสามารถที่จะระลึกถึงสิ่งที่เรียนรู้แล้วเท่านั้นแต่จะต้องให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์และรวบรวมสิ่งที่เรียนให้เป็นหมวดหมู่ และสามารถที่จะประเมินสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วย การสอนวิธีช่วยความจำ เพื่อช่วยให้นักเรียนระลึกถึงสิ่งที่เรียนรู้ได้เท่านั้น จึงยังไม่พอ นักจิตวิทยาได้ค้นหาวิธีที่จะช่วยนักเรียนจดจำได้นาน ๆ โดยใช้วิธีที่เรียกว่า TACE (Topic, Area,Characteristic และ Example) และ วิธี Loci ผสมกัน
2.ยุทธศาสตร์การเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบ วิธีเรียนรู้ที่ช่วยความจำด้วยวิธีนี้ ประกอบ ด้วย 2 ส่วน
1. การใช้สมาธิ (Concentration Management) นักเรียนและนักศึกษาได้รับการ สอนให้ใช้สมาธิฝึกตัวเองให้ผ่อนคลายความเครียด (Relax) และลดความกังวล (Anxiety) นอกจากนี้ยังสอนให้มีเป้าหมายเป็นความหวังว่าจะมีความสำเร็จ
2. แผ่นภาพเครือข่าย (Networking หรือ Mapping) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยนนักเรียนให้สามารถที่จะได้ความคิดรวบยอดและหลักการจากสิ่งที่ตนอ่าน และสามารถจะหาความสัมพันธ์และเชื่อมโยงได้ ความสัมพันธ์อาจจะเรียงจากลำดับขั้นสูงไปหาต่ำ ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องแร่ อาจจะเขียนเป็นเครือข่ายแดนเชอโรและคณะ (Dansereau et al, 1979) ได้ทำการทดลองใช้วิธีดังกล่าวกับนิสิตมหาวิทยาลัยโดยใช้เวลาฝึกหัดการใช้สมาธิและการสร้างเครือข่าย ปรากฎว่านิสิตที่อยู่ในกลุ่มทดลองสามารถทำคะแนนได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการฝึกหัดระบบยุทธศาสตร์การเรียนรู้อย่างสมบูรณ์แบบ
สรุป ทฤษฎีวิธีช่วยความจำมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ และถ้าสอนให้นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถที่จะใช้วิธีช่วยความจำ เพื่อที่จะแน่ใจว่าสิ่งที่สอนให้นักเรียนหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ให้นักเรียนได้รับการเข้ารหัสบันทึกในความจำระยะยาว และสามารถที่จะเรียกมาใช้ได้ตามความต้องการทุกเวลา


http://www.unigang.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น