AEC การค้าเสรีอาเซี่ยน |
การเปิดเสรีด้านการค้า
เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA (ASEAN Free Trade Area) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2535 โดยมีการทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง และในปี 2553 นี้ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะต้องลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือ 0% ในรายการ Inclusive List ขณะที่ ประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม ต้องทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรจนเหลือ 0% ภายในปี 2558 การเปิดเสรีการค้าของอาเซียนทำให้สินค้าส่งออกหลายรายการของไทยได้เปรียบคู่แข่งในอาเซียนในขณะที่สินค้าบางรายการต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่มีความรุนแรงขึ้น
สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศแล้วจะได้เปรียบดังนี้
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ ยาง และ เฟอร์นิเจอร์
ประเทศมาเลเซีย อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ ยาง และ เฟอร์นิเจอร์
ประเทศมาเลเซีย อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์
สินค้าที่ไทยต้องปรับตัวสู้
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผ้าผืน เม็ดพลาสติก
ประเทศฟิลิปปินส์ อาทิ ยางพารา ผ้าผืน
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผ้าผืน เม็ดพลาสติก
ประเทศฟิลิปปินส์ อาทิ ยางพารา ผ้าผืน
ซึ่งแนวทางในการปรับตัวของสินค้าเกษตร ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืช การพัฒนาระบบชลประทานและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว รวมถึงการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย ในส่วนของแนวทางปรับตัวของสินค้าอุตสาหกรรมนั้น ผู้ประกอบการควรหันมาแข่งขันด้านคุณภาพแทนการแข่งขันด้านราคา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & Innovation) ผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า สาเหตที่ทำให้สินค้าส่งออกของไทยบางรายการแข่งขันได้ยากนั้น ส่วนนึงเป็นเพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็นข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AFTA อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) การที่บางประเทศยังคงปกป้องผู้ผลิตในประเทศของตน รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการของไทยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลง AFTA เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาทที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้การใช้ประโยชน์จาก AFTA มีมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า สาเหตที่ทำให้สินค้าส่งออกของไทยบางรายการแข่งขันได้ยากนั้น ส่วนนึงเป็นเพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็นข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AFTA อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) การที่บางประเทศยังคงปกป้องผู้ผลิตในประเทศของตน รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการของไทยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลง AFTA เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาทที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้การใช้ประโยชน์จาก AFTA มีมากขึ้น
http://www.thai-aec.com/32#ixzz20MLGCJ5R