Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ AEC แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ AEC แสดงบทความทั้งหมด

ซีพี ออลล์ ซื้อกิจการ แม็คโคร




"ซีพี ออลล์" เตรียมพร้อมรับ AEC ซื้อกิจการ"แม็คโคร"หวังใช้เป็นช่องทางนำสินค้าSMEs และสินค้าเกษตรไทยลุยตลาดอาเซียน


ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านอิ่มสะดวกของคนไทย ประกาศความพร้อมเตรียมรับมือการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือเออีซีซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ด้วยการลงทุนครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของบริษัท ซื้อกิจการบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) (“แม็คโคร”) ผู้นำในธุรกิจศูนย์จำหน่ายสินค้าระบบสมาชิกแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศไทยด้วยมูลค่าประมาณ 188,880 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นช่องทางนำสินค้าจากประเทศไทยโดยเฉพาะสินค้าจากผู้ผลิตขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMEs และสินค้าผลิตผลทางการเกษตรของไทย รวมถึงสินค้าประเภทอาหารแช่แข็งและอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ฯลฯ ไปจำหน่ายในประเทศกลุ่มอาเซียน เพื่อหวังนำเงินตราเข้าสู่ประเทศ และช่วยให้ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง และเกษตรกรไทยมีช่องทางจำหน่ายสินค้าที่มีศักยภาพสูง สามารถแข่งขันได้



นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในอีก 20 เดือนข้างหน้า ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น ในฐานะผู้นำในธุรกิจค้าปลีกของคนไทย เล็งเห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสดีของผู้ผลิตสินค้าชาวไทยที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายในตลาดอาเซียนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรถึง 600 ล้านคน เนื่องจากสินค้าของไทยเป็นที่ยอมรับว่ามีคุณภาพสูง ปัจจุบันยังขาดอยู่แต่เพียงช่องทางจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ซีพี ออลล์ จึงอาสาที่จะมาทำหน้าที่นี้เพราะมีความมั่นใจในศักยภาพของบริษัทเองที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจค้าปลีกมา 25ปี รวมกับศักยภาพของ สยามแม็คโคร ซึ่งก็เป็นผู้นำในธุรกิจจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค อาหารสดและแช่แข็ง ของใช้ประจำวันที่ประสบความสำเร็จมาโดยตลอดเช่นกัน เห็นได้จากยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา



“นอกเหนือจากการจะใช้ สยามแม็คโคร เป็นทัพหน้าในการกระจายสินค้าสู่ตลาด AEC แล้ว ซีพี ออลล์จะนำจุดเด่นของ สยามแม็คโคร ด้านการช่วยเหลือร้านโชห่วย โดยทำหน้าที่ "มิตรแท้โชห่วย" ด้วยการเป็นแหล่งป้อนสินค้าให้กับร้านโชห่วยทั่วประเทศ มารวมพลังกับภารกิจประจำของเซเว่น อีเลฟเว่น คือการตระเวนจัดอบรมสัมนาให้ความรู้ด้านการบริหารร้านค้าปลีก ให้กับร้านโชห่วยทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งจะช่วยให้ภารกิจด้านการช่วยเหลือผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยแบบดั้งเดิมหรือโชห่วย สัมฤทธิ์ผลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นและรวดเร็วขึ้น”



สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับเพิ่มเติมจากการลงทุนครั้งสำคัญนี้ คือ การเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของกลุ่ม ซีพี ออลล์ ในหลายๆ ด้าน ทั้งทางด้านการผนึกกำลังแสวงหาสินค้าและบริการใหม่ๆ และหลากหลาย มาอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค และการได้ประโยชน์จากการประหยัดเชิงขนาด (Economy of Scale) นอกจากนี้ ยังเป็นการขยายโอกาสให้กับนักศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อสังคมของ ซีพี ออลล์ จะได้มีสถานที่สำหรับฝึกภาคปฏิบัติได้กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น



ขณะเดียวกันพนักงานของทั้งสองบริษัทก็มีโอกาสพัฒนาตนเองด้วยการเข้ามาศึกษาในสถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งมากขึ้นด้วย สอดคล้องกับนโยบายหลักของซีพี ออลล์ ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และการพัฒนาบุคลากรของประเทศอย่างจริงจังและต่อเนื่อง



การเข้าซื้อหุ้นของบริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ในครั้งนี้ บริษัทได้แต่งตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงินแต่เพียงผู้เดียว (Sole Financial Advisor) และเป็นหนึ่งในผู้จัดการวงเงินสินเชื่อร่วม (Joint Mandated Lead Arranger and Underwriter) กับธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงค์กิ้งคอร์ปอเรชั่น (เอชเอสบีซี) ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ ธนาคารยูบีเอส เอจี และ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น ซึ่งได้เข้าร่วมในการจัดเตรียมวงเงินสินเชื่อร่วม โดยมี Baker & McKenzie เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย ทั้งนี้ บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น กับ ผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าว จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ซึ่งบริษัทคาดว่าจะจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 มิถุนายน 2556 และหากได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้น บริษัทจะเข้าทำการชำระค่าซื้อหุ้นแม็คโครทั้งหมดตามสัญญา รวมทั้งจะดำเนินการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดต่อผู้ถือหุ้นรายอื่นทุกรายของแม็คโคร ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2556 โดยราคาเสนอซื้อ (Tender offer price) จะเป็นราคาเดียวกันกับราคาที่บริษัทจะได้มาที่ 787 บาทต่อหุ้น

การค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA (ASEAN Free Trade Area)


AEC การค้าเสรีอาเซี่ยน


การเปิดเสรีด้านการค้า 
เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA (ASEAN Free Trade Area) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2535 โดยมีการทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง และในปี 2553 นี้ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะต้องลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือ 0% ในรายการ Inclusive List ขณะที่ ประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม ต้องทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรจนเหลือ 0% ภายในปี 2558 การเปิดเสรีการค้าของอาเซียนทำให้สินค้าส่งออกหลายรายการของไทยได้เปรียบคู่แข่งในอาเซียนในขณะที่สินค้าบางรายการต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่มีความรุนแรงขึ้น
สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศแล้วจะได้เปรียบดังนี้
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ ยาง และ เฟอร์นิเจอร์
ประเทศมาเลเซีย อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์
สินค้าที่ไทยต้องปรับตัวสู้
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผ้าผืน เม็ดพลาสติก
ประเทศฟิลิปปินส์ อาทิ ยางพารา ผ้าผืน
ซึ่งแนวทางในการปรับตัวของสินค้าเกษตร ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืช การพัฒนาระบบชลประทานและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว รวมถึงการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย ในส่วนของแนวทางปรับตัวของสินค้าอุตสาหกรรมนั้น ผู้ประกอบการควรหันมาแข่งขันด้านคุณภาพแทนการแข่งขันด้านราคา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & Innovation) ผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า สาเหตที่ทำให้สินค้าส่งออกของไทยบางรายการแข่งขันได้ยากนั้น ส่วนนึงเป็นเพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็นข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AFTA อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) การที่บางประเทศยังคงปกป้องผู้ผลิตในประเทศของตน รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการของไทยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลง AFTA เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาทที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้การใช้ประโยชน์จาก AFTA มีมากขึ้น

 http://www.thai-aec.com/32#ixzz20MLGCJ5R