Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

การตั้งชื่อโดเมน Domain

เทคนิคนี้ เราเจอกับตัวเองเลย   เลยเอามาแบ่งให้เพื่อนๆค่ะ
(เหมาะสำหรับเวปภาษาอังกฤษ)
ก่อนจะตั้งชื่อโดเมนแล้วเข้าไปที่ ตามที่นำเสนอ

หลักการง่ายๆ ก็คือ เข้าไป
https://adwords.google.com/select/KeywordToolExternal 

1.0 เลือก languages and countries เป็น all countries
1.1พิมพ์ keyword เกี่ยวกับเรื่องที่เราต้องการ เช่น ทำเวป เช่นเราหาเรื่อง thailand
เราก็พยายามหาดู ชื่ออะไรคนค้นหามาก ปกติชื่อที่คนเข้าหามากมาก มักมีคนซื้อแล้ว
แต่ไม่เป็นไร ค่อยๆพยายามหาดู อันใหนที่มีคนเข้า มากมาย แต่ยังไม่มีคนซื้อโดเมนนั้น

เมื่อวานเราเลยได้ domain นึงมา ซื้อไว้แล้ว 
คือ khaothai.com    เชื่อใหม คนพิมคำนี้ ถึง 30000 กว่าคนต่อเดือน แต่โดเมนนี้กลับไม่มีคนเอาเลย

ชื่อโดเมน

ชื่อโดเมน หรือ โดเมน คือ  ชื่อที่ใช้เรียกแทนตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย แทนการใช้หมายเลข IP Address ถ้าจะให้เปรียบเทียบแล้ว IP Address คือ บ้านเลขที่ แต่ชื่อโดเมน คือ ชื่อบ้าน หรือ ชื่ออาคาร และแน่นอนว่าถ้ากล่าวถึงชื่อโดเมนแล้ว สิ่งที่คู่กัน คือ นามสกุลโดเมนต้องถูกกล่าวถึงด้วยเช่นกัน นามสกุลของโดเมนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
         •    gTLD (Generic Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนทั่ว ๆ ไป เช่น .com .net .org .biz .info
         •    ccTLD (Country Code Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนของประเทศ หรือ ภูมิภาค เช่น .in.th .co.uk


Google PageRank คืออะไร ?

Google PageRank คืออะไร ?
1. Google PageRank คืออะไร ?
Google PageRank คือวิธีการวัดความสำคัญของเว็บเพจนับล้านๆเว็บเพจบนอินเตอร์เน็ท โดยมีตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 10 ยิ่งตัวเลขยิ่งสูง PageRank ก็ยิ่งสูง นั่นหมายความว่าเว็บไซต์นั้นๆมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าเว็บไซต์ที่มี PageRank ต่ำกว่า

โดยเราสามารถทราบค่า PR ของเว็บไซต์เราได้ โดย download และ install google toolbar (http://toolbar.google.com) หลังจากนั้นคุณจะสามารถดูคะแนน PR ของคุณที่จัดโดย google ได้ดังรูป
ถ้าไม่ต้องการ install google toolbar สามารถ check ค่า PageRank ได้ที่เว็บไซต์ www.pagerank.net

** หัวใจ ของ Page Rank คือ แลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ ให้มาก และถ้าเป็นเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บเรา และ เป็นเว็บที่มีค่า PR สูง ยิ่งทำให้เว็บไซต์เรามีค่า PR สูงขึ้นด้วย
2. ค่า PR นั่นแสดงค่าทุกๆหน้าของเว็บไซต์เราใช่หรือไม่ ?
ค่า PR ของแต่ละเว็บเพจ ในเว็บไซต์หนึ่งๆ นั้นจะมีค่าแตกต่างกันไป ทั้งนี้ โดยมากโฮมเพจ มักมีค่า PR สูงกว่าหน้าอื่นๆ แต่ก็ไม่เสมอไป

ความกลัว ความวิตกกังวล

ความวิตกกังวล เกิดจากการคิดสมมุติ ยกตัวอย่างเช่น คิดสมมุติว่า ถ้าเกิดธุรกิจการงานเราผิดพลาดล้มเหลวทรัพย์สินเงินทองของเราหมดไป ก็จะเกิดความวิตกกังวลว่า ชีวิตจะต้องลำบาก ลูกเต้าจะทำอย่างไร หรือคิดสมมุติว่า ถ้ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นชีวิตจะเป็นอย่างไร ถ้าโจรมาปล้นจะทำอย่างไร ถ้าสุขภาพไม่ดีเกิดป่วยเป็นมะเร็งจะทำอย่างไร ฯลฯ การคิดสมมุติไปในทางร้าย ก็จะเกิดเป็นความวิตกกังวล

วิธีเอาชนะ ความขี้เกลียด

" ความขี้เกียจ " ร้ายกาจกว่าที่คุณคิด เพราะมันคอยซุ่มโจมตีให้คนล่าฝันอย่างเราๆ ไปไม่ถึงดวงดาวมานักต่อนัก จึงขอส่งเทียบเชิญคุณผู้อ่านมาร่วมกันหักด่านความขี้เกียจไปด้วยกัน 

" ความขี้เกียจ " สัญชาตญาณหลงยุคของมนุษย์ 

" ความขี้เกียจไม่ใช่อะไรเลย นอกจากนิสัยที่ชอบหยุดพักก่อนที่จะรู้สึกเหนื่อย " จูลส์ เรอนาร์ด ( Jules Renard ) กวีชาวฝรั่งเศส 

บางทีเหตุผลหนึ่งที่เราเอาชนะความขี้เกียจไม่ค่อยได้ เป็นเพราะเราไม่รู้จักมันดีพอนั่นเอง ทั้งๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเรื่องความขี้เกียจมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น จากนิทานอีสปเรื่องมดขยันกับตั๊กแตน ขี้เกียจ หรือจากคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่า ความขี้เกียจ ( Sloth ) คือหนึ่งในบาปเจ็ดประการของมนุษย์ 

เป็นที่รู้กันดีว่า ความขี้เกียจก่อให้เกิดผลร้ายมหาศาล แต่เรามักจะอภัยให้ " ความขี้เกียจ " อย่างง่ายดายและรวดเร็วเกินไป สงสัยไหมว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ 

ดร. นานโด เปลูซี ( Nando Pelusi ) นักจิตวิทยาผู้เขียนบทความเรื่อง "The Lure of Laziness" ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Psychology Today ฉบับกรกฎาคม - สิงหาคม 2007 อธิบายว่า บรรพบุรุษของมนุษย์มีสัญชาตญาณที่จะสงวนพลังงานในร่างกายไว้ให้มากที่สุด เพราะในยุคโบราณ อาหารเป็นสิ่งที่หาได้ยาก อีกทั้งยังมีอันตรายมากมายรออยู่ภายนอก เช่น สัตว์ร้าย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฯลฯ สัญชาตญาณนี้จึงตกทอดอยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์ที่จะไม่ยอมทำอะไรที่ต้องใช้ความทุ่มเทหรือพลังงานสูงๆ ตราบใดที่ไม่รู้ว่าผลลัพธ์ที่ได้คุ้มค่าหรือไม่ พูดอีกอย่างก็คือ เมื่อปัจจัยที่แวดล้อมอยู่รอบตัวไม่ได้สร้างความมั่นใจเพียงพอ เราก็จะเกิดความรู้สึกอยากประวิงเวลาที่จะต้องลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้นานออกไป 

เมื่อเทียบกับมนุษย์ยุคดึกดำบรรพ์ พวกเขาต้องใช้ชีวิตแบบไม่มีเวลาหยุดคิด เช่น หิวต้องล่าสัตว์ กลัวต้องวิ่งหนี พายุมาต้องหลบทันที ฯลฯ ผิดกับมนุษย์ยุคนี้ที่ต้องเผชิญกับปัจจัยทางสังคมและจิตใจที่ซับซ้อนกว่า และต้องใช้เวลานานกว่าที่จะเห็นผลลัพธ์ของการกระทำ และนี่จึงเป็นคำอธิบายว่า ทำไมบางคนต้องรอให้ถึงเส้นตายก่อนเท่านั้น เขาจึงจะทำงานเสร็จหรือทำได้ดี