Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

การปรับปรุงธุรกิจเพื่อเพิ่มผลกำไร


ผู้เขียน : Warren P Tibbotts
แปล/เรียบเรียง : สาระดีดี.คอม


          ในการพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจของคุณด้วยการปรับปรุงบางส่วนของธุรกิจ  มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ     ทั้งนี้หากผู้ประกอบการต้องการเพิ่มผลประกอบการของธุรกิจ  สามารถเริ่มต้นด้วยองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งซึ่งจะมีผลต่อผลประกอบการประมาณ 10% ในแต่ละองค์ประกอบ  และในบางครั้งอาจเพิ่มผลกำไรให้กับผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นได้ถึง 50%
           องค์ประกอบ 5 ประการ
          1.  ควบคุมและสอดส่องธุรกิจของตนเองเปรียบเทียบตลอดทุกระยะ         
          ควบคุมและสอดส่องธุรกิจของตนเองเปรียบเทียบตลอดทุกระยะทั้งรายวัน  รายเดือน หรือรายปี    เพื่อรับทราบผลตอบรับของลูกค้าต่อข่าวสารทางการตลาดและสื่อโฆษณาที่เราได้สร้างขึ้น ยกตัวอย่างเช่น  โดยปรกติสามารถจำหน่ายสินค้าได้ 200 ชิ้นต่อสัปดาห์  ให้สังเกตว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อเราสร้างเป้าหมายใหม่โดยเพิ่มยอดขายเพิ่มขึ้นอีก 10% เป็น 220 ชิ้นต่อสัปดาห์  เป็นต้น
          2. จำนวนครั้งของการติดต่อสอบถามกับการสั่งซื้อจริง
          อย่าสับสนกับจำนวนครั้งของโทรศัพท์  หรืออีเมล์สอบถามข้อมูลจำนวนมากๆ กับการสั่งซื้อจริง   การสั่งซื้อจริงเป็นจำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่จะมีโอกาสตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้ประกอบการ    พิจารณาจากตัวอย่าง  โดยทดลองเปลี่ยนแปลงจำนวน 30% ของกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าของเรา   ซึ่งหากเราทำได้ 10% ของเป้าหมายที่ตั้งไว้  30%  นั่นหมายความว่าความพยายามของเราได้บรรลุผลไปถึง 33% ของเป้าหมายที่เราตั้งขึ้นแล้ว
          3.  จำนวนครั้งที่ลูกค้าซื้อสินค้า
          กลับไปมองการตลาดและพิจารณาจำนวนลูกค้าปัจจุบันที่ผู้ประกอบการมีอยู่  ทั้งนี้เจ้าของกิจการหลายแห่งไม่เคยนับจำนวนลูกค้าเก่าหรือลูกค้าประจำ  หรือบางครั้งอาจทำเฉพาะช่วงใดช่วงหนึ่ง   ให้ทดลองคิดว่าหากลูกค้าซื้อสินค้า 10 ครั้งต่อปี  และให้ทดลองคิดว่าหากลูกค้าเหล่านั้นเพิ่มจำนวนการซื้อขึ้น 10% จาก 10 ครั้งต่อปีเป็น 11 ครั้งต่อปี  จากลูกค้าประจำของท่าน   ดังนั้นน่าจะเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการจะมุ่งทำการตลาดเพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกค้าประจำและลูกค้าดั้งเดิมที่มีอยู่แล้ว
          4.  ค่าเฉลี่ยของยอดขายต่อครั้ง 
          ปรกติผู้ประกอบการจะคำนวณยอดขายโดยนับจำนวนสินค้าทั้งหมดและลบออกด้วยจำนวนที่ขายออกไป   ซึ่งนั่นจะเป็นค่าเฉลี่ยต่อการขายหนึ่งครั้ง   ดังนั้นลองมาตั้งเป้าหมาย  โดยลองยกตัวอย่างว่าค่าเฉลี่ยของการขายต่อครั้งเท่ากับ 2,000 บาท  หากเราต้องการเพิ่มยอดขายต่อครั้งขึ้น 10%  เราจำเป็นต้องคำนวณและวางแผนอย่างรอบคอบเป็นพิเศษเพื่อหาแนวทางการเพิ่มยอดขายเพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยการขายต่อครั้งเพิ่มเป็น 2,200 บาทให้ได้
          5.  พิจารณากำไรเบื้องต้นจากการขายในแต่ละครั้ง
          พิจารณา margin ของธุรกิจ (กำไรเบื้องต้น = ยอดขายหักต้นทุนสินค้าขาย) หรือ gross profit จากการขายในแต่ละครั้ง (รายรับทั้งหมดจากการขายหักต้นทุนสินค้าคือกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ)   เจ้าของกิจการหลายแห่งพยายามลดค่าใช้จ่าย หรือลดราคาผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อเพิ่มยอดขาย    อย่างไรก็ตามการเพิ่มราคาขายเพียงเล็กน้อยเพื่อรักษาหรือปรับฐานกำไรของสินค้ามักไม่มีผลกระทบต่อยอดขาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามาพร้อมกับการปรับปรุงการบริการลูกค้าโดยรวมที่ดีขึ้น   ให้ลองนึกภาพว่าหากกำไรเบื้องต้นของเราอยู่ที่ 20%  และให้ขยับกำไรเบื้องต้นขึ้นอีกเป็น 22% 
          ลองมองในภาพรวมจากตัวอย่าง  เรามีผู้ซื้อ 200 รายต่อสัปดาห์ (10,400 รายต่อปี)  และมีการสั่งซื้อจริง  10%  หรือ 1,040 ราย   ซึ่งลูกค้าทั้งหมดมีการสั่งซื้อเฉลี่ย 10 ครั้งต่อปี  ยอดขายต่อครั้งเท่ากับ 500 บาท จะเท่ากับมียอดขาย 10,400 x 500 = 5,200,000 บาท ต่อปี   เมื่อคำนวณกำไรเบื้องต้นที่ 20% จะเท่ากับมีกำไรทั้งปีที่ 1,040,000 บาท
          จากนั้นทดลองตั้งเป้าหมายใหม่โดยเพิ่มเป้าหมายการขายในทุกองค์ประกอบขึ้น 10%   ในทันทีลูกค้าของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 220 รายต่อสัปดาห์ (11,440 รายต่อปี)  และจะมีการสั่งซื้อจริงเพิ่มเป็น  11%  หรือ 1,144 ราย  ที่ยอดขายต่อครั้งเท่ากับ 550 บาท จะเท่ากับมียอดขาย 11,440 x 550 = 6,292,000 บาท ต่อปี   เมื่อคำนวณกำไรเบื้องต้นที่ 22% จะเท่ากับมีกำไรทั้งปีเพิ่มเป็น 1,384,240 บาท
Source : http://ezinearticles.com/?How-to-Grow-Your-Business-Profits-With-Small-Improvements&id=5400649
แปล/เรียบเรียง : สาระดีดี.คอม http://www.sara-dd.com
margin คือ กำไรเบื้องต้น (ยอดขายหักต้นทุนสินค้าขาย) โดยคิดเป็นร้อยละของยอดขาย (%) ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันหรือแข่งกับตัวเอง กล่าวคือ เทียบกับที่เคยทำได้แล้วในอดีต
gross profit  คือ (กำไรเบื้องต้น) รายรับทั้งหมดจากการขายหักต้นทุนสินค้าคือกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ


เครดิต: http://www.sara-dd.com


การตลาดเชิงกิจกรรม ( Event Marketing )



การตลาดเชิงกิจกรรม ( Event Marketing ) 

          การตลาดยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตลอดเวลา   การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นสินค้าใด สิ่งสำคัญที่สุด คือ การทำให้ลูกค้าได้มีโอกาสทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ และมั่นใจในคุณสมบัติของสินค้า    การจัดกิจกรรมทางการตลาดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้ ประกอบการ   เพราะนอกจากจะเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นยอดขายหรือสร้างกระแสให้เกิดขึ้น ในช่วงใดช่วงหนึ่ง ทำให้สินค้าหรือกิจกรรมที่จัดขึ้นได้รับการกล่าวถึง   การจัดกิจกรรมให้เป็นที่สนใจและเป็นที่กล่าวขานกับทั้งกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สื่อมวลชนและสาธารณชนเพื่อแนะนำสินค้า  เพื่อตอกย้ำความเหนียวแน่นกับลูกค้า เพื่อบอกกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของกิจการ ฯลฯ  เป็นวิธีการของการตลาดเชิงกิจกรรม (Event Marketingที่นับวันจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น   กิจกรรมในรูปแบบการตลาดเชิงกิจกรรมจึงเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่เป็นจุด เด่นหลักในยุคปัจจุบัน   ทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มีโอกาสสัมผัสกับสินค้าอย่างใกล้ชิดมากยิ่ง ขึ้น  

การตลาดแนวใหม่ (Modern Marketing )



การตลาดแนวใหม่ (Modern  Marketing )

การสื่อสารการตลาดแนวใหม่ (Modern Marketing)      IMC-ไอเอ็มซี เป็นการวางแผนภายใต้แนวความคิดเดียวกันโดยใช้เครื่องมือการสื่อสาร(Tools) ที่หลากหลาย
ปัจจุบันกลยุทธ์ไอเอ็มซี เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงและคุณค่าตลอดจนบุคลิกภาพของตราสินค้าผ่านเครื่อง มือสื่อสารการตลาด เพื่อใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย  โดยเครื่องมือเหล่านี้จะต้องพูดในเนื้อหาเดียวกัน (Speak with one voice) เพื่อสนับสนุนและตอกย้ำตราสินค้า  เครื่องมือไอเอ็มซีมีหลากหลายประเภทด้วยกัน(IMC in Action,ผศ.ธีรพันธ์โล่ทองคำ.2545:29)

กลยุทธ์ทางการตลาด(8 P's Strategy)



กลยุทธ์ทางการตลาด(8 P's Strategy) article

การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่
                                                                                     กลยุทธ์ทางการตลาดสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)หรือที่เรียกสั้นๆว่า 8P’s ซึ่งต้องมีแนวทางความคิดทางการสื่อสารการตลาด(IMC)โดยอาศัยเครื่องมือการ ติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภคแบบสมัยใหม่ซึ่งแบ่งส่วนขยายเพิ่มเติมจากเดิมอีก หลายส่วนทั้งงานศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศเชื่อมโยงสู่การทำธุรกิจสมัย ใหม่ซึ่งเน้นการสร้างผลกำไรสูงสุดบนความพอใจของผู้บริโภคซึ่งเป็นการทำ ธุรกิจระยะยาว(Long-Term Business) พร้อมกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนไปอย่างมากโดย เฉพาะการแบ่งส่วนการตลาด(Segmentation)ซึ่งไม่สามารถแบ่งส่วนการตลาดแบบ เดิมๆได้แล้ว ซึ่งการเอกสารการศึกษาในส่วนแรกเป็นแนวทางทำธุรกิจและก่อให้เกิดพฤตกรรมใน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  ส่วนที่เอกสารอื่นๆจะช่วยในการวางแผนการตลาด ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการศึกษาใน ครั้งนี้
                          1.แนวคิดทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดโดยใช้ 8P’s
       ซึ่งประกอบไปด้วยสว่นผสมทางการตลาด ดังนี้
                                   1.1 กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์  ( Product  Strategy )
                                   1.2กลยุทธ์ราคา ( Price  Strategy )
                                   1.3กลยุทธ์การจัดจำหน่าย  ( Place  Strategy )
                                   1.4กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด ( Promotion  Strategy )
                                   1.5กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์  ( Packaging  Strategy )
                                   1.6กลยุทธ์การใช้พนักงานขาย ( Personal  Strategy )
                                   1.7กลยุทธ์การให้ข่าวสาร  ( Public  Relation Strategy )
                                   1.8กลยุทธ์ พลัง   ( Power  Strategy )
       ซึ่งสามารถอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

รถเสีย กด 1137

รถเสีย กด 1137


ผู้ใช้รถ หรือ ผู้ที่ไม่ได้ใช้รถส่วนตัวจะไปบอกต่อกันก็ ได้ช่วยกันบอกต่อๆ ไป


รถเสีย กด 1137

    ชาวกรุงซึ้งน้ำใจรถเสียช่วยฟรี 24 ชม.รถเสียกลางกรุงไม่ต้องตกใจ กด 1137
เรียกใช้บริการช่างซ่อมอาสาได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ตามโครงการ
ช่วยป้องกันทั้งโจรในคราบพลเมืองดีและภัยสุภาพสตรีที่รถเกิดเสียกลางทาง