Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

พระประจำวันเกิด วันพุธ



ปางอุ้มบาตร


4. ผู้ที่เกิดวันพุธ

พระประจำวันพุธ (กลางวัน) ได้แก่ ปางอุ้มบาตร
 

 ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตรราวสะเอว

ความเป็นมา

          
เมื่อพระพุทธเจ้าได้สำแดงอิทธิปาฏิหารย์ เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าพระประยูรญาติทั้งหลาย เพื่อให้พระญาติผู้ใหญ่ได้เห็น และละทิฐิถวายบังคมแล้ว จึงได้ตรัสเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดก ครั้นแล้วพระญาติทั้งหลายก็แยกย้ายกันกลับโดยไม่มีใครทูลอาราธนาฉันพระกระยาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น ด้วยเข้าใจผิดคิดว่าพระองค์เป็นราชโอรสและพระสงฆ์ก็เป็นศิษย์ คงต้องฉันภัตตาหารที่จัดเตรียมไว้ในพระราชนิเวศน์เอง แต่พระพุทธองค์กลับพาพระภิกษุสงฆ์สาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวงในเมือง เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ (ผู้ที่พึงสั่งสอนได้)อันเป็นกิจของสงฆ์ และนับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองกบิลพัสดุ์ได้มีโอกาสชมพระพุทธจริยาวัตรขณะทรงอุ้มบาตรโปรดสัตว์ ประชาชนจึงต่างแซ่ซ้องอภิวาทอย่างสุดซึ้ง แต่ปรากฏว่าพระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดาทรงทราบเข้า ก็เข้าใจผิดและโกรธพระพุทธองค์ หาว่าออกไปขอทานชาวบ้าน ไม่ฉันภัตตาหารที่เตรียมไว้ พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงอธิบายว่า การออกบิณฑบาตรเป็นการไปโปรดสัตว์ มิใช่การขอทาน จึงเป็นที่เข้าใจกันในที่สุด

พระประจำวันเกิด วันอังคาร


ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน


3. ผู้ที่เกิดวันอังคาร

พระประจำวันอังคาร ได้แก่ ปางโปรดอสุรินทราหู หรือ ปางไสยาสน์ หรือ ปางปรินิพพาน 
  

           ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)

พระประจำวันเกิด วันจันทร์



ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร

2. ผู้ที่เกิดวันจันทร์

พระประจำวันจันทร์ ได้แก่ ปางห้ามญาติ หรือ ห้ามสมุทร

           ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาห้าม เป็นปางเดียวกันกับปางห้ามสมุทร ต่างกันตรงที่ปางห้ามญาติจะยกมือขวาขึ้นห้ามเพียงมือเดียว ส่วนปางห้ามสมุทร จะยกมือทั้งสองขึ้นห้าม แต่ส่วนใหญ่มักจะนิยมสร้างเป็นปางห้ามญาติ และนิยมทำเป็นแบบพระทรงเครื่อง

พระประจำวันเกิด วันอาทิตย์


ปางสมาธิเพชร


เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก dhammathai.org 

          เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า ประชากรร้อยละ 95 ของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท ซึ่งถือว่าเป็นศาสนาประจำชาติ ทั้งนี้ นอกจากพระประธานที่พุทธศาสนิกชนเคารพกราบไหว้บูชาแล้ว ในแต่ละวัดยังจัดพระพุทธรูปประจำวันเกิด ให้ผู้คนได้ไหว้บูชาเพื่อเป็นสิริมงคลกับตัวเองอีกด้วย ส่วนที่ไปที่มาของการกำหนดพระพุทธรูปแต่ละปางนั้น ไม่มีปรากฎสมัยที่แน่ชัด กล่าวกันว่าการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ให้เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดแต่ละวันนั้น เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนที่จะหาที่พึ่งทางใจ และถือว่าการบูชาพระประจำวันเกิดเป็นมงคลอันสูงยิ่งอีกประการหนึ่ง

          สำหรับพระพุทธรูปประจำวันเกิดจะมีทั้งหมด 7 ปาง ตามวันในสัปดาห์ คือ วันอาทิตย์ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ วันพฤหัสบดี วันศุกร์ และเสาร์ และเพิ่มปางวันพุธกลางคืน ที่เรียกว่าวันราหูเข้าไปด้วย ซึ่งพุทธศาสนิกชนคนไทยคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า "พระประจำวันเกิด" ของตนเองคือพระพุทธรูปปางอะไร แต่เชื่อว่าหลายคนคงยังไม่รู้จักที่ไปที่มา หรือบทสวดบูชาต่างๆ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงรวบรวมเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับ "พระประจำวันเกิด" มาฝากกันค่ะ... 
ปางถวายเนตร


1. ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์

พระประจำวันอาทิตย์ ได้แก่ ปางถวายเนตร

           ลักษณะพระพุทธรูป: พระพุทธรูปที่อยู่ในพระอริยาบถยืน ลืมพระเนตรทั้งสองเพ่งไปข้างหน้า พระหัตถ์ทั้งสองห้อยลงมาประสานกันอยู่ระหว่างพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาซ้อนเหลื่อมพระหัตถ์ซ้าย อยู่ในพระอาการสังวรทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์

ความเป็นมา

          เมื่อครั้งพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ) อยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งทางทิศอีสานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตรเลยตลอดระยะเวลา 7 วัน ซึ่งสถานที่ประทับยืนนี้ได้มีนามปรากฏว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนปัจจุบัน เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า ปางถวายเนตร นิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปเพื่อสักการะบูชาประจำของคนเกิดวันอาทิตย์

ล็อบบี้ยีสต์


"ล็อบบี้ยิสต์" (lobbyist)  คำนี้คุ้นหูมาตั้งแต่ปีก่อน
และได้ยินหนาหูมากขึ้นในทุกวันนี้
ป้าเสลาจึงอยากค้นหาว่ามันเป็นอย่างไร
และก็ได้เรื่องมาจากคอลัมน์ ในไทยโพสท์ 1 พฤษภาคม 2548
ดังนี้...

..."ล็อบบี้ยิสต์"  ในพจนานุกรมไทย
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เมษายน  2544 ไม่ปรากฏว่ามีความหมาย
แต่ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า
การล็อบบี้ คืออาการพยายามโน้มน้าวให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่
สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมาย
หรือเปลี่ยนสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งได้
คนที่ทำอาการล็อบบี้นี้เรียกว่า "ล็อบบี้ยิสต์"(lobbyist)

หรือ "นายหน้า"   ในพจนานุกรรม  ให้ความหมายไว้ว่า
เป็นบุคคลผู้ชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคล 2 ฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน