Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

Red Ocean strategy


อธิบาย Red Ocean, Blue Ocean และ White Ocean พร้อมยกตัวอย่างทั้ง 3 กลยุทธ์

Red Ocean strategy


หรือ กลยุทธ์ Red Ocean นั้นก็คือการทำธุรกิจที่มีคู่แข่งขันสูงแต่หากมีการขยายความให้มีความหมายที่ลึกและชัดเจนมากยิ่งขึ้นนั้นก็หมายถึงว่าบริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมแต่ละรายก็มุ่งเน้นจะเอาชนะคู่แข่งคนอื่นๆ่เพื่อที่จะแย่งชิงลูกค้ามาให้ได้มากที่สุด และทำให้ได้กำไรมากที่สุดโดยที่ แนวทางส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเน้นไปที่ ดูว่าคู่แข่งทำอะไรบ้างและบริการของคู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อคู่แข่งออกสินค้าหรือบริการอะไรใหม่ออกมาก็จะทำตามและออกสินค้าใหม่ออกมาเช่นเดียวกันเพื่อไม่ให้น้อยหน้าและแย่งลูกค้าซึ่งกันและกันและเมื่อวงจรนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมก็จะมีลักษณะที่เหมือนกันหาความแตกต่างของสินค้าได้ยากและนำไปสู่การแข่งขันทางด้านราคาเป็นหลัก ซึ่งก็จะไม่ทำให้ใครได้ประโยชน์หรือเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนที่แท้จิง และนี่คือความหมายของ กลยุทธ์ที่เรียกว่า Red Ocean

ตัวอย่าง Red Ocean strategy : ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
จะเห็นได้ว่าธุรกิจโทรศัพท์มือถือมีการแย่งลูกค้าทางการตลาดกันมากเมื่อคู่แข่งออกแบบโทรศัพท์ที่มีฟังก์ชั่นไหนมาใหม่แล้วขายดีหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้าก็จะแข่งกันผลิตขึ้นมาและกลายเป็นว่ามีการแข่งขันทางการตลาดสูงทำให้ขายไม่ได้และผู้ประกอบการก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากขาดทุน

Blue Ocean strategy


หรือ กลยุทธ์ Blue Ocean นั้นก็จะเป็นกลยุทธ์ที่ตรงกันข้ามกับ Red Ocean หลักการของ
Blue Ocean นั้นจะไม่มุ่งเน้นทำในสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรือสิ่งที่ยังไม่มีขึ้นมาใหม่โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้าและอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า
โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร
หรือกล่าวอีกนัยหน่งว่า กลยุทธ์ Blue Ocean ก็คือธุรกิจที่มีคู่แข่งขันน้อยหรือไม่มีคู่แข่งขันนั่นเอง

ตัวอย่าง Blue Ocean strategy : เวิร์ค พอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์

จะเห็นได้ว่า เวิร์ค พอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ถือเป็นต้นแบบของการใช้กลยุทธ์การตลาดบลู โอเชียน ของวงการโทรทัศน์ เกมโชว์ในรูปแบบวาไรตี้ เช่น ชิงร้อย ชิงล้าน หรือระเบิดเถิดเถิง เป็นการสร้างรายการฉีกรูปแบบเกมโชว์ทั่วไปที่มีนับสิบรายการต่อสัปดาห์ใน เวลานั้น ไปสู่ตลาดที่ไร้ซึ่งคู่แข่งแต่คงไว้ซึ่งองค์ประกอบความสนุกของรายการเกมโชว์ครบถ้วน เช่นเดียวกับ เกมโชว์ในแนวสร้างความรู้ อย่าง แฟนพันธุ์แท้,
เกมทศกัณฑ์ และกล่องดำ รางวัลชนะเลิศการประกวดรายการโทรทัศน์แห่งเอเชีย แสดงให้เห็นถึงควาสำเร็จในการผลิตรายการที่มีความแปลกใหม่ ออกไปจากตลาด แต่ได้รับความนิยม ได้เป็นอย่างดี


White Ocean strategy

เป็นส่วนของกลยุทธที่อยู่ในอุดมคติที่มีการพูดถึงหลายปีมาแล้วสาเหตุที่มีการพูดถึงWhite Ocean
ก็เนื่องมาจากว่าเมื่อมี Blue Ocean แล้วก็ยังมีการแข่งขันกันมากขึ้นจน Blue Ocean จะกลายเป็น
Red Ocean มากขึ้นทุกวันจึงมีการคิดที่จะสร้างกลยุทธ์ White Ocean ขึ้นมาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ , ลูกค้า และสังคม ซึ่งต้องประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ เป็นการสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในกลุ่มธุรกิจและสังคม


ตัวอย่าง White Ocean strategy : บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นจำกัด

ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ White Ocean ทำให้ได้ลูกค้าที่มีแนวคิดเดียวกัน หรือที่เรียกได้ว่าเป็น "ธรรมะจัดสรร" ยกตัวอย่าง กลุ่มทาทาซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ของอินเดีย ที่เข้ามาขยายธุรกิจในเมืองไทย และมีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจด้วยการมุ่งเป้าหมายเพื่อช่วยให้สังคมที่ องค์กรธุรกิจเข้าไปอยู่ร่วมเป็นสังคมที่มีความหวังมากขึ้น ประกอบกับการใช้คุณธรรมและจริยธรรม ทำให้สามารถสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจเติบโตมาถึง 300 ปี

ตัวอย่างแผนการตลาด วิเคราะห์ Download Free


ตัวอย่าง แผนการตลาดธุรกิจบริการ


ตัวอย่างแผนการตลาด E-Commerce


ตัวอย่างแผนการตลาด Internet Cafe (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด WholesaleDistributoer


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจคาร์แคร์ (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจนำเที่ยว (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจบริการ


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจร้านรองเท้าสตรี (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ร้านสะดวกซื้อ


ตัวอย่างแผนการตลาด สำนักบัญชี (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด


แบบฟอร์มแผนการตลาด


แผนการตลาด i-home


แผนการตลาด NATURE'S CANDY


แผนการตลาด WHEELIE DEALS


แผนการตลาด การผลิต ธุรกิจน้ำดื่ม


แผนการตลาด น้ำฝรั่ง G-Fresh


แผนการตลาด น้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน


แผนการตลาดบริษัทโตโยต้า มอเตอร์


แผนการตลาดร้านไอศกรีมสมุนไพร






หัวใจสำคัญที่ต้องทราบMarketing Plan


ตัวอย่าง การวิเคราะห์ด้านการตลาด


การเขียนแผนการตลาด ทำอย่างไร



การเขียน แผนการ ตลาด ที่ดีควรเริ่มต้นอย่างไร...?

จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้มีข้อคิดที่อยากจะแนะนำผู้ประกอบการในธุรกิจ เอสเอ็มอีและผู้สนใจทั่วไปว่า การที่จะเขียนแผนการตลาดให้ออกมาแล้วดูดี และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ มีความสอดคล้องเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงานอย่างชัดเจน ผู้เขียนจึงอยากจะเสนอกฎของการเริ่มต้นก่อนเขียนแผนการตลาด มานำเสนอ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อ ที่จะนำเสนอดังนี้

การแข่งขันสูง เล็งธุรกิจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม Niche Market

ฉีกหนีการแข่งขันที่สูง ด้วยการจับธุรกิจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market)


     การดำเนินการธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างเราๆ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีปัญหาในเรื่องต้นทุนสินค้าและค่าแรง 300 บาท(นโยบายประชานิยมจากมันสมองรัตตะบานในพ.ศ.นี้) ที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมรับแล้ว การแข่งขันยังสูงขึ้นกว่าเดิมมากๆ ยังไม่รวมเรื่อง AEC ที่จะเกิดขึ้นอีก 
     นอกจากผลพวงจากค่าแรง อาจก่อให้เกิดการว่างงานแล้ว หลายๆ ท่านหันไปทำธุรกิจตัวเองกันมากขึ้นเพื่อให้มีรายได้ iTrendy360 เลยเขียนบทความเพื่อแนะนำสำหรับผู้ที่มองหาอาชีพใหม่ๆ
    กลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือนิช มาร์เก็ต(Niche Market) ที่มีการแข่งขันน้อยกว่าตลาดทั่วไปที่มุ่งมวลชนจำนวนมากหรือ แมส มาร์เก็ต (Mass Market) ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่ครองตลาดอยู่แล้ว ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดเฉพาะกลุ่มหรือนิช มาร์เก็ต จะเป็นตลาดกลุ่มย่อยที่แยกออกมาจากตลาดใหญ่ แต่ลูกค้าในกลุ่มนี้ก็มีกำลังซื้อที่สูง จึงมีมูลค่าตลาดมากเพียงพอที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยมีรายได้และผลตอบแทนที่คุ้มค่าในการประกอบธุรกิจนั้น เราสามารถแยกตลาดตามกลุ่มลูกค้าได้คร่าวๆเป็น 2 ตลาด ดังนี้


หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)


หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
 จัดและรวบรวมโดย.อาจารย์พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์






การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์


การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย

•ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ(สถานการณ์)ขององค์กร
•การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
•การนำสิ่งที่ได้(ข้อมูลที่รวบรวมได้) ไปใช้ในการวางทิศทางขององค์กร
•จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร (เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้)


การวางแผนกลยุทธ์ ต้องตอบโจทย์คำถาม 3 ประการให้ได้

1.ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
2.ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3.จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องให้ความสำคัญกับ

1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2.จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พัธกิจ(ภารกิจ) และวัตถุประสงค์ขององกรค์อย่างชัดเจน
3.กำหนดกลยุทธ์โดยพิจารณาความเหมาะสม และการสามารถไปปฎิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4.ปฎิบัติตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5.ความคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฎิบัติงาน ประเมินผลกระบวนการและผระเมินผลสำเร็จขององค์กร

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เมื่อเราต้องการ

1.เปลี่ยนทิศทางและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
2.สร้างกรอบการทำงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในองค์กร
3.กำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณและการประเมินผลการดำเนินงาน
4.ฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
5.เพิ่มความมั่นใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจ

เกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์ (การวางแผน)

1.เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
2.เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3.เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในะยะยาว
4.เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
5.เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้


หลักการ ที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนเชิงกลยุทธ์

1.ลักษณะธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ (What business you are in?)
2.ลักษณะธุรกิจในอนาคต (Where do you want to go?)
3.สภาพแวดล้อม (Environment)
4.การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation)
5.การปฎิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ (Achievement)


กฎของการวางแผนเชิงยุทธ์

1.การแปลงกลยุทธ์ไปสู่ทีมปฎิบัติการต่าง ๆ โดยสร้างให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งทุกคนจะรู้เป้าหมายของตนเองอย่างชัดเจน ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้าง
2.ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพราะแต่ละหน่วยงานย่อมมีบทบาทหน้าที่ มีองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การจะทำให้กลยุทธ์ได้รับการปฎิบัติและดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพื่อสร้างให้องค์กรมีเอกภาพและเข้มแข็ง
3.ทำให้กลยุทธ์เป็นเสมือนงานประจำวันของทุกคน ต้องทำให้ทุก ๆ คนเข้าใจกลยุทธ์ และสามารถทำงานประจำวันของตนไปในทิศทางที่สอดคล้อง สนับสนุนความสำเร็จของกลยุทธ์ ซึ่งไม่ใช่การสั่งการจากบนลงล่าง แต่เป็นการสื่อสารระหว่างทั้งสองระดับ
4.ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง


ปัญหามักเกิดขึ้นในการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ

1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ(ภารกิจ) ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์
2.การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
3.สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
4.หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้
5.การพัฒนาความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

การวางแผนเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ

1.จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนทุกขั้นตอน สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และกระบวนการมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามวงจร
Plan – Do – Check – Act (PDCA)
2.จัดทำแผนที่มีทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฎิบัติ การนำแผนไปปฎิบัติ และระบบปฎิบัติการ
3.กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสมดุลตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ค่านิยมด้านลูกค้า ค่านิยมด้านพนักงาน ค่านิยมด้านธุรกิจ ค่านิยมด้านชุมชน