Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

วิธีซื้อบ้าน และ รถภายในเวลา 5 ปี โดยมหาเศรษฐีฮ่องกง ลี กา ชิง

วิธีซื้อบ้าน และ รถภายในเวลา 5 ปี





บทความยาวหน่อย แต่มีสาระ คุ้มค่าที่จะอ่านมากๆ ครับ 

มหาเศรษฐีฮ่องกง ลี กา ชิง แบ่งปันความภูมิปัญญาทางด้านการเงินของเขา สรุปแผนที่ใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับแผนห้าปีที่จะเปลี่ยนชีวิตคนไปในทางที่ดีขึ้นได้อย่างสิ้นเชิง

สมมติว่ารายได้ต่อเดือนของคุณมีแค่ 2,000 หยวน คุณสามารถมีการ เป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ โดยการที่คุณแบ่งเงินเป็น 5 ส่วน ส่วนแรก 600 หยวน, ส่วนที่สอง 400 หยวน, ส่วนที่สาม 300 หยวน, ส่วนที่สี่ 200 หยวน, ส่วนที่ห้า 500 หยวน


เงินส่วนแรก กันเอาไว้เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีง่ายๆ คุณแค่แบ่งเงินในแต่ละวันไว้ใช้จ่ายไม่เกิน 20 หยวนต่อวัน มื้อเช้าของทุกวันกินวุ้นเส้น ไข่หนึ่งฟอง และนมหนึ่งแก้ว ส่วนมื้อกลางวันก็กินอาหารเบาๆ และผลไม้ พอมือเย็นก็เข้าครัวไปทำอาหารที่ประกอบด้วยผัก และดื่มนมหนึ่งแก้วก่อนนอน ในหนึ่งเดือนค่าใช้จ่ายตกประมาณ 500-600 หยวน เมื่อคุณยังหนุ่มสาวร่างกายคุณยังไม่ค่อยเจ็บป่วยในช่วงปีแรกๆ พอเพียงสำหรับการกินอยู่แบบนี้

เงินส่วนที่สอง กันไว้สำหรับการสร้างเพื่อน และขยายความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในแวดวง สิ่งนี้จะทำให้คุณมั่งคั่ง กันไว้ 100 หยวนสำหรับค่าโทรศัพท์ กันเงินไว้สำหรับกินข้าวกับเพื่อนๆ 2 มื้อต่อเดือน มื้อละ 150 หยวน ใครคือคนที่คุณสมควรจะกินข้าวด้วย? จำไว้เสมอว่าคุณจะต้องกินข้าวกับคนที่มีความรู้มากกว่าคุณและรวยกว่าคุณหรือคนทีจะช่วยสนับสนุนคุณในด้านการงานได้ แน่ใจว่าคุณต้องทำเช่นนี้ทุกเดือน หลังจากนั้นหนึ่งปีแวดวงเพื่อนๆ ของคุณจะสร้างคุณค่ามากมายมหาศาลให้กับคุณ ชื่อเสียงและอิทธิพลของคุณจะเพิ่มมูลค่าเป็นที่จดจำ ภาพลักษณ์ของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

เงินส่วนที่สาม การเรียนรู้ คุณควรจะจ่ายเงินประมาณ 50 ถึง 100 หยวน ในการซื้อหนังสือ เพราะคุณมีเงินไม่มาก คุณควรเอาใจใส่กับการจ่ายเงินไปกับการเรียนรู้ เมื่อคุณซื้อหนังสือและอ่านมันอย่างระมัดระวัง จงเรียนรู้บทเรียนและกลยุทธต่างๆ ที่สอนไว้ในหนังสือ หลังจากอ่านหนังสือแต่ละเล่มให้เล่าเรื่องราวเป็นภาษาของคุณ การแบ่งปันกับคนอื่นจะช่วยให้คุณได้รับความน่าเชื่อถือและเป็นคนที่น่าสนใจ และประหยัดเงินเดือนละ 200 หยวนเพื่อเข้าคอร์สอบรมต่างๆ เมื่อคุณรายได้เพิ่ม ให้กันเงินส่วนนี้เพิ่มขึ้นและเข้าร่วมคอร์สอบรมในระดับที่สูงขึ้น เมื่อคุณเข้าร่วมคอร์สอบรมที่ดีมันจะไม่ช่วยแค่ให้คุณมีความรู้ที่ดี แต่ยังจะช่วยให้คุณเจอเพื่อนที่มีความคิดเหมือนกันซึ่งหาไม่ได้ง่ายๆ

เงินส่วนที่สี่ เก็บไว้ใช้สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศในวันหยุด ให้รางวัลแก่ตนเองโดยการเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อการเติบโตของประสบการณ์ในชีวิตอย่างต่อเนื่อง พักในโฮสเตลราคาประหยัด ในเวลาไม่กี่ปีผ่านไปคุณจะเดินทางไปหลายประเทศและจะมีประสบการณ์หลากหลาย ใช้ประสบการณ์เหล่านี้เป็นการเพิ่มพลังใหม่ให้ตัวเองมีแรงขับดันในการทำงานต่อไป

เงินส่วนที่ห้า ลงทุน ประหยัด 500 หยวนเก็บไว้ในธนาคารเพื่อเป็นทุนในการเริ่มต้นทำธุรกิจ เงินทุนสามารถใช้ในการเริ่มต้นทำธุรกิจเล็กๆ การเริ่มจากธุรกิจเล็กๆ มักจะปลอดภัยในการเริ่มต้น ไปหาผู้ค้าส่งและหาสินค้ามาขาย แม้คุณจะขาดทุน คุณจะเสียเงินไม่มาก อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณเริ่มหาเงิน มันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจกับความกล้า และได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ของการเริ่มต้นทำธุรกิจเล็กๆ เมื่อมีรายได้มากพอคุณสามารถเริ่มมองหาแผนการลงทุนระยะยาว และลงทุนในหลักทรัพย์ระยะยาวด้วยเงินของคุณและครอบครัวคุณ ดังนั้นคุณไม่จำเป็นต้องกังวลเพราะเงินจำนวนนี้ของคุณไม่ได้ทำให้คุณภาพชีวิตคุณตกต่ำลง

อย่างไรก็ดี หลังจากคุณดิ้นรนเป็นเวลาผ่านไปหนึ่งปี ถ้าเงินเดือนคุณยังคง 2,000 หยวน นั่นหมายความว่าคุณไม่ได้มีความก้าวหน้าขึ้นเลย คุณควรจะสำนึกละอายใจและสั่งสอนตัวเองด้วยการไปซื้อซุปเปอร์มาร์เก็ต และซื้อเต้าหู้ที่แข็งที่สุด แล้วเอามันปาใส่หัวตัวเองเพราะคุณสมควรโดนแบบนั้น

แต่ถ้าถึงตอนนั้นรายได้ต่อเดือนคุณอยู่ที่ 3,000 หยวน คุณต้องยังคงทำงานหนัก คุณต้องหางานเสริม จะเป็นการดีถ้าเป็นงานขาย ทำให้การขายเป็นเรื่องท้าทาย เป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่คุณจะได้เรียนรู้ศิลปะในการขายและความรู้อย่างลึกซึ้งซึ่งสามารถนำไปใช้กับอาชีพคุณได้ เจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเริ่มจากการเป็นนักขายที่ดี พวกเขามีความสามารถในการขายความฝันและวิสัยทัศน์ คุณจะพบผู้คนมากมายที่มีคุณค่าต่ออาชีพของคุณในภายหลัง เมื่อเริ่มขายคุณจะได้เรียนรู้ว่าอะไรขายได้และอะไรขายไม่ได้ ใช้ไหวพริบในการตรวจสอบตลาดเป็นวิธีในการดำเนินธุรกิจของคุณและหาผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นผู้ชนะในอนาคต

ซื้อเสื้อผ้าและรองเท้าให้น้อยที่สุด คุณสามารถซื้อมันทั้งหมดได้เมื่อคุณรวย ประหยัดเงินของคุณและซื้อของขวัญให้คนที่คุณรักและบอกพวกเค้าถึงแผนการและเป้าหมายทางการเงินของคุณ บอกพวกเค้าว่าทำไมคุณถึงต้องประหยัดอดออม บอกเค้าถึงความพยายาม ทิศทางที่คุณกำลังจะไป และความฝันต่างๆ ของคุณ

นักธุรกิจทุกคนต้องการความช่วยเหลือ ให้คุณเสนอตัวเองต่อพวกเขาในการทำงานนอกเวลาในโอกาสต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาความสามารถของคุณ และคุณจะได้พัฒนาทักษะในการเจรจาของคุณและในไม่ช้าคุณจะใกล้เป้าหมายทางการเงิน เมื่อเข้าปีที่สองรายได้ของคุณควรจะเพิ่มเป็น 5,000 หยวน อย่างน้อยสุดก็ควรจะเป็น 3,000 หยวน มิฉะนั้นคุณจะไม่สามารถสู้กับเงินเฟ้อได้

ไม่ว่าคุณจะหารายได้เพิ่มมาขึ้นเท่าไร จำไว้เสมอว่าแบ่งเงินเป็นห้าส่วน ทำตัวเองให้เป็นประโยชน์อยู่เสมอ จงใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นไปกับการสร้างเครือข่าย เมื่อคุณรู้จักผู้คนมากขึ้นเครือข่ายของคุณขยายมากขึ้นคุณจะสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จงใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นไปกับการเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นใจให้ตัวเองมากขึ้น จงใช้เงินเพิ่มขึ้นไปกับการท่องเที่ยวในวันหยุดในที่ใหม่ที่ยังไม่เคยไป จงเพิ่มการลงทุนไปกับอนาคตคุณซึ่งมันจะสร้างรายได้ให้คุณอย่างมหาศาล

รักษาสมดุลนี้ไว้ และคุณจะเริ่มมีเหลือกินเหลือใช้เรื่อยๆ คุณกำลังเดินทางมาถูกทางสำหรับการวางแผนในชีวิต สุขภาพของคุณจะดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคุณได้รับสารอาหารและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อนจะมีมากมายคุณจะสามารถสร้างคุณค่าจากเครือข่ายของเพื่อนได้ในเวลาเดียวกัน คุณจะได้รับโอกาสในการฝึกฝนตัวเองในทักษะระดับสูง และคุณจะได้รับผิดชอบโครงการที่ใหญ่กว่าเดิม โอกาสที่ใหญ่กว่าเดิม ในไม่ช้าคุณจะตระหนักว่าคุณมีความฝันมากมาย ซื้อบ้าน ซื้อรถ และเตรียมค่าเล่าเรียนของลูกของคุณ

ชีวิตและเส้นทางชีวิตสามารถออกแบบได้ซึ่งจะนำไปสู่ความสุข คุณควรเริ่มแผนตั้งแต่ตอนนี้ เมื่อคุณจนให้ใช้เวลาอยู่ที่บ้านให้น้อยกว่าการใช้เวลาอยู่ข้างนอก เมื่อคุณรวยอยู่ที่บ้านมากขึ้นอยู่ข้างนอกให้น้อยลง นี่คือศิลปะการใช้ชีวิต เมื่อคุณจนให้ใช้จ่ายเงินไปกับผู้อื่น แต่เมื่อคุณรวยใช้เงินไปกับตัวคุณเอง คนส่วนใหญ่ทำตรงกันข้ามกัน

เมื่อคุณจนจงทำดีกับผู้อื่นอย่ามัวแต่คิดเรื่องผลประโยชน์ เมื่อคุณรวยคุณต้องเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้อื่นดีต่อคุณ คุณต้องเรียนรู้ที่จะทำตัวเองให้ดีกว่าเป็นคนที่ดีกว่าที่เป็น เมื่อคุณจนคุณต้องผลักดันตัวเองออกมาในที่คนอื่นสามารถจะมองเห็นคุณได้เพื่อให้คนอื่นใช้งานและทักษะที่คุณมี เมื่อคุณรวยคุณต้องรู้จักปกป้องตัวเองอย่าปล่อยให้ใครมาหลอกใช้คุณได้ง่ายๆ เป็นความซับซ้อนในเส้นทางของชีวิตที่หลายคนยังไม่เข้าใจ

เมื่อคุณจนให้คุณใช้เงินเพื่อทำให้ผู้อื่นรู้จักคุณ แต่เมื่อคุณรวยจงอย่าโอ้อวดว่าคุณรวย ใช้จ่ายเงินของคุณในการซื้อของอย่างเงียบๆ เมื่อคุณจนคุณต้องเป็นคนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเมื่อคุณรวยคุณต้องไม่ถูกมองว่าเป็นคนฟุ่มเฟือย ชีวิตของคุณจะวนกลับมาสู่สามัญคุณควรจะอยู่อย่างเรียบง่ายเมื่อคุณมาถึงจุดนี้

ไม่มีสิ่งใดผิดเมื่อคุณยังหนุ่มสาว คุณไม่ต้องกลัวว่าคุณจน คุณต้องรู้วิธีลงทุนในตัวคุณเองที่จะเพิ่มปัญญาและระดับความสำเร็จ คุณต้องรู้ว่าอะไรจำเป็นและไม่สำเป็นต่อชีวิต คุณต้องรู้ว่าอะไรควรหลีกเลี่ยงและไม่จ่ายเงินฟุ่มเฟือยไปกับมัน นี่คือวินัยที่จำเป็นอย่างยิ่ง พยายามหลีกเลี่ยงในการใช้จ่ายเงินไปกับการซื้อเสื้อหลายๆ ชุดแต่รู้จักเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ดูดีเพียงไม่กี่ชุด พยายามกินข้าวนอกบ้านให้น้อยที่สุด ถ้าคุณกินข้างนอกบ้านคุณต้องแน่ใจว่าคุณซื้อมื้อกลางวันหรือมื้อเย็นที่คุณจ่าย คุณจ่ายเพื่อกินกับผู้คนที่มีความฝันใหญ่กว่า ทำงานหนักกว่าคุณ

เมื่อการทำมาหากินของคุณไม่เป็นเรื่องที่ต้องกังวลอีกต่อไป ใช้เงินที่เหลือไล่ตามความฝันของคุณ สยายปีกของคุณและกล้าที่จะฝันทำให้คุณแน่ใจว่าชีวิตของคุณเป็นสิ่งวิเศษ

ทฤษฎีที่มีชื่อเสียงจากฮาร์วาร์ด ความแตกต่างของโชคชะตาของแต่ละคนถูกตัดสินจากสิ่งที่เค้าจ่ายในเวลาว่างระหว่าง 20.00 น. ถึง 22.00 น. ใช้เวลา 2 ชั่วโมงนี้ในการเรียนรู้ คิด และเข้าร่วมในการเข้าร่วมการบรรยายหรือการสัมมนาที่มีความหมาย ถ้าคุณทำแบบนี้สักปีสองปี ความสำเร็จจะเข้ามาหาคุณ

ไม่สำคัญว่าคุณหาเงินได้เท่าไร จำไว้ว่าแบ่งเงินเป็นห้าส่วน ดูแลตัวเองรักษารูปร่างให้ดีอยู่เสมอ ลงทุนในการเข้าสังคมพบผู้คนใหม่อย่างต่อเนื่องและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้จากคนเหล่านี้ การขยายเครือข่ายทางสังคมจะทำให้รายได้คุณเพิ่มขึ้น เดินทางทุกปีในที่แตกต่างกันออกไป และคอยติดตามการพัฒนาการล่าสุดของโลกอุตสาหกรรมด้วย ถ้าคุณทำตามแผนนี้อย่างขยันขันแข็ง คุณจะมีเงินทุนเหลือมากมาย

อะไรที่ผ่านไปแล้วในอดีตก็ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ามัวจมอยู่กับความผิดพลาด ไม่จำเป็นที่จะมัวมานั่งเสียใจกับสิ่งที่สูญเสียไปแล้ว ทุกคนเคยทำผิดพลาด และคุณจะได้เรียนรู้จากมัน และสัญญากับตัวเองว่าจะไม่พลาดซ้ำอีก เมื่อคุณพลาดโอกาสอย่ามัวเศร้าเสียใจ มีโอกาสใหม่รออยู่ข้างหน้าเสมอ

คุณสามารถที่จะยิ้มรับเมื่อถูกเข้าใจผิดเล็กๆ น้อยๆ เมื่อคุณทำผิดและคุณยิ้มรับอย่างสงบนั้นคือความใจกว้าง เมื่อคุณถูกเอาเปรียบแต่คุณยังยิ้มได้คุณคือคนใจกว้าง เมื่อคุณทำอะไรไม่ถูกให้คุณค่อยๆ ยิ้มอย่างใจเย็นมันจะทำให้คุณอยู่ในสภาวะที่สงบนิ่ง เมื่อคุณเจ็บปวดคุณสามารถที่จะหัวเราะออกมาดังๆ ได้คุณคือคนใช้กว้าง เมื่อคุณถูกดูหมิ่นเหยียดหยามและคุณยิ้มได้อย่างสงบคุณคือคนที่มีความมั่นใจ เมื่อคุณถูกปฏิเสธในความสัมพันธ์และคุณสามารถยิ้มได้คุณคือคนอ่อนโยน

ยังมีคนอีกจำนวนมากที่จะดิ้นรนเพื่อที่จะมีเงินเพียงพอต่อการใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่มันไม่สำคัญว่าคุณจะรวยหรือจนน นี่คือทั้งหมดของบทเรียนที่คุณได้เรียนรู้จาก ลี กา ชิง หมายเหตุ : *1 หยวน ประมาณ 5 บาท


โค๊ด:http://บทความจาก : therealsingapore.com 

ขอขอบคุณ Meaw-IE แห่งบอร์ด TSB

ทำ "การตลาด" ยุคใหม่อย่างไร

ทำ "การตลาด" ยุคใหม่อย่างไร ให้ "โดนใจ" ผู้บริโภค

การตลาดยุคใหม่


โดย สุขุม เฉลยทรัพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าการผุดขึ้นราวกับ "ดอกเห็ด" ของทั้งผลิตภัณฑ์และตราสินค้า(Brand and Product Proliferation) จนทำให้การแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ในโลกธุรกิจสูงขึ้นอย่างมาก และพฤติกรรมของการบริโภคสินค้าในลักษณะลูกค้าที่เป็นเพียงผู้คอยซื้อสินค้า(Passive customers) ถูกใจก็ซื้อ ไม่ถูกใจก็ต้องจำใจซื้อเพราะไม่มีทางเลือกกำลังจะ "สูญพันธุ์" ไปหมดแล้ว สำหรับยุคทุนนิยมแบบเบ็ดเสร็จเฉกเช่นในปัจจุบัน

เพิ่มผู้ติดตามใน instagram ทำอย่างไร


ภาพจาก vagarms.wordpress.com
สุดสัปดาห์ คงเป็นวันสบาย ๆ สำหรับการพักผ่อนของมนุษย์เงินเดือน (รวมทั้งผมด้วย) แต่สำหรับ thumbsup ไม่มีวันหยุดในการนำเสนอข่าวและบทความเพื่อนำมาให้ thumbsuper ได้อ่านกันเหมือนเดิม สำหรับวันนี้จะพูดถึงแอพพลิเคชันถ่ายรูปบนสมาร์ทโฟนที่ใครๆ ก็ต้องรู้จัก นั่นคือInstagram?ที่ตอนนี้เจ้าของคือ Facebook?โดยจะพูดถึงการนำไปใช้งานทางธุรกิจด้วยแอพพลิเคชันตัวนี้ที่สามารถทำตามได้ไม่ยาก อยากให้อ่านและลองทำตามกันครับ
Instagram สำหรับการใช้งานของคนทั่วไปนั้นก็คือการเอามาถ่ายรูปสวย ๆ เพื่ออัพโหลดไว้อวดเพื่อน อวดคนบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค ให้คนกด Like เยอะ ๆ หรือเข้ามาเขียนคอมเมนต์ในภาพ?แต่สำหรับในทางธุรกิจนั้นได้มีแบรนด์ระดับโลกหยิบเอา Instagram มาใช้ในการทำการตลาดและโปรโมทด้วยเช่นกัน คำถามพื้นฐานแต่สำคัญที่สุด สำหรับผู้ที่เริ่มเปลี่ยนจากการเล็งไปถ่ายรูป,ถ่ายวิว มาถ่ายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ นั่นคือ จะเพิ่มจำนวนคนเพื่อให้มาติดตามคุณได้เป็นจำนวนมาก ๆ ได้อย่างไร วันนี้เลยมี 7+1 ขั้นตอนหรือช่องทางในการเพิ่มจำนวนผู้ติดตาม (Follower) บน Instagram ครับ (ทำไมต้องบวกหนึ่ง ต้องติดตามครับ)

1. โปรโมท Instagram ช่องทางที่คุณมีอยู่แล้ว

Facebook, Twitter หรือ E-mail น่าจะเป็นช่องทางที่เจ้าของธุรกิจใช้เป็นช่องทางแรกๆ ที่ถูกใช้ในการโปรโมทสินค้าหรือบริการของคุณมาก่อนแล้ว ในเมื่อเราต้องการจะเพิ่ม Instagram เป็นอีก 1 ช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลสินค้าและบริการผ่านรูปภาพ เราจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือที่ใช้อยู่ก่อนหน้าช่วยในการโปรโมทอีกแรง ด้วยการแจ้ง username ที่เราทำไว้เฉพาะธุรกิจของเราใช้งานบน Instagram ไปยังช่องทางที่มีได้ ไม่ว่าจะบอกบน status หรือบนลายเซ็นต์ใน Email เป็นต้น ถือเป็นการใช้รายชื่อที่เรามีอยู่หลายช่องทาง มาเพิ่มในช่องทางใหม่ได้อย่างง่ายดาย

2. เอาใส่ใจเนื้อหาและหาคนดูแลโดยเฉพาะ

การโพสต์รูปแต่ละรูปบน Instagram ย่อมมีผลต่อผู้ติดตามที่รอชมภาพของเรา และส่งผลต่อความสนใจและการเข้ามาใช้บริการและสินค้าจากผู้ติดตามได้อีกด้วย ดังนั้นการจัดหาคนที่มาดูแลส่วนของ Instagram นั้นจะแตกต่างจากผู้ดูแลโซเชียลเน็ตเวิร์คทั่วไป เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการจัดการในสังคมออนไลน์แล้ว ยังต้องมีความรู้และสนใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพหรืออาจเป็นคนชอบถ่ายภาพด้วย เพราะการเลือกรูปโพสต์ลง Instagram?จากผู้ที่ดูแลต้อง “เตะตา” ผู้ที่ชมได้ทันทีที่ได้เห็น รวมทั้งให้รายละเอียดสิ่งที่เราต้องการสื่อสารและสอดคล้องกับภาพอย่างเหมาะสมและสามารถตอบคำถามแก่ผู้ทีเข้ามาถามได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

3. วางแผนการโพสต์รูปหรือเนื้อหา

การโพสต์รูปส่วนตัวกับทางธุรกิจนั้นต่างกันครับ เพราะโดยปกติที่เราใช้งาน Instagram เราใช้ด้วยความเป็นส่วนตัว เราสามารถจะโพสต์ทุกๆ อย่างได้ที่เราต้องการอย่างไม่จำกัด แต่ในทางธุรกิจนั้นเราจำเป็นจะต้องวางแผนเพื่อให้คนที่ติดตามเราใน Instagram รู้สึกอยากติดตามไปเรื่อยๆ และสิ่งที่สำคัญคือความถี่ในการโพสต์รูปที่ไม่ควรทำรวดเดียวเป็นสิบสิบรูป แต่ควรวางแผนกำหนดเวลาที่ต้องการให้รูปขึ้นโดยดูตามเวลาที่จะมีคนใช้งานมากที่สุด และจำนวนรูปที่เหมาะสมในการโพสต์ไม่ควรเกิน 3-4 รูปต่อวัน

4. ใช้ Hashtag

ค้นหา hashtag ผ่านหน้าจอนี้เลย
หากคุณเคยใช้งาน Twitter มาบ้างจะคุ้นเคย Hashtag หรือ # ซึ่งประโยชน์ของมันคือสะดวกในการค้นหา รวมทั้งสามารถสื่อถึงแบรนด์หรือสิ่งที่เราต้องการได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องตั้งชื่อหลัง # ให้สื่อได้ถูกต้องรวมทั้งไม่ยาวจนเกินไปซึ่งจะง่ายต่อการจดจำและค้นหา เช่น ถ้าอยากทำแคมเปญอนุรักษ์โลก ก็อาจจะใช้ #<ชื่อbrand>saveworld ในคำอธิบายของภาพได้ เป็นต้น

5. สร้าง Event แจกรางวัลผ่านการแชร์รูป

การเล่นเกมชิงรางวัลหรือแข่งขันผ่าน Instagram จะคล้ายๆ กับที่มีกันอยู่บน Facebook และ Twitter ซึ่งอาศัยหลักการเดียวกันคือ ง่ายต่อการเข้าใจและเข้าร่วมเล่นเกมจากคนทั่วไปด้วยการถ่ายรูปสินค้าหรือสิ่งต่าง ๆ ตามที่เรากำหนด เพื่อกระตุ้นให้คนอยากที่จะเข้ามาเล่นโดยใช้ #hashtag มาช่วยในการค้นหา และสิ่งที่สำคัญ อย่าลืมตรวจสอบ?hashtag ที่จะเริ่มการชิงรางวัลว่าไปซ้ำกับคนอื่น ๆ หรือไม่ เพื่อที่จะให้ง่ายต่อการตรวจสอบและหาผู้ชนะนั่นเอง และอย่าลืมที่จะโปรโมทการชิงรางวัลในช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คอื่นๆ ด้วยครับ เพื่อการบอกต่อ

6. หาผู้มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ (Influencer) มาช่วยโปรโมท

สำหรับธุรกิจเริ่มต้น ในหัวข้อนี้อาจจะยากสักเล็กน้อยครับ แต่สำหรับแบรนด์ใหญ่ๆ ที่มีทุนหนาพอ สามารถว่าจ้างดาราหรือหาผู้ที่มีอิทธิพลบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คที่สามารถจะบอกต่อว่ามี Instagram ของเราอยู่ หรือเรากำลังทำแคมเปญอะไรอยู่ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับคนทั่วๆ ไป

7. ใช้หน้าเว็บไซต์เพื่อเปิดดูภาพบนคอมพิวเตอร์

โดยปกติเราจะโพสต์รูปผ่านแอพพลิเคชัน Instagram ที่มีอยู่ทั้งบนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต แต่หากเราจะติดตามดูความเคลื่อนไหวของภาพหรือ Hashtag ที่เราใช้ ทั้ง 2 ทางนั้นอาจจะไม่สะดวกนัก ดังนั้นหากเราจะดูผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์น่าจะสะดวกกว่ากันมาก ซึ่งเว็บไซต์ที่สามารถเข้าไปดูผ่านหน้า Browser เช่น StatigramFollowgram,?Instagrid?และ Webstagram เป็นต้น

7+1 (ข้อแถม)

สิ่งที่เราอาจจะละเลยแต่สำคัญอย่างยิ่งในการไปมีอีก 2 อย่างคือรูปภาพที่ใช้แทนแบรนด์ ควรจะสื่อกับแบรนด์โดยตรงซึ่งอาจเป็นโลโก้สินค้าที่สามารถเห็นได้ชัดเจน อีกสิ่งคือการเลือกชื่อที่จะเป็น Account ของเรา ควรที่จะมีชื่อที่ตรงกับแบรนด์และถ้าจะให้ดีควรใช้ชื่อเดียวกันกับที่เคยตั้งในโซเชียลมีเดียอื่นๆ เลย เพื่อความสะดวกต่อผู้ใช้งานและผู้ติดตามนั่นเอง

ตัวอย่างธุรกิจในเมืองไทยที่ใช้ Instagram

จากที่ได้ติดตามดูธุรกิจในเมืองไทยที่นำเอา Instagram มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมากได้แก่ @club21thailand ซึ่งมีการนำขั้นตอนแทบทั้งหมดมาใช้งาน จะสังเกตเห็นได้ว่ามีการระบุช่องทางในการติดต่อกับทางร้านได้อย่างละเอียดและกระชับ และรูปภาพที่โพสต์ไว้ล้วนเป็นสิ่งที่ทางร้านต้องการจะบอกให้ผู้ติดตามได้รับรู้
ทั้งหมดนี้จะเป็นแนวทางและตัวอย่างในการใช้งาน Instagram สำหรับธุรกิจที่สามารถทำตามได้ไม่ยาก อยากให้ผู้ที่ทำธุรกิจลองหันมาใช้อีก 1 ช่องทางที่จะช่วยในการสื่อสารบอกต่อแบรนด์ของคุณด้วยรูปภาพและรูปถ่าย หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
ที่มา: Social Fresh

การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Relationship Marketing



ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ พวกเรานักการตลาดและนักธุรกิจที่มีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้อยู่นิ่ง มักจะได้ยินได้ฟัง การจัดสัมมนาและ Workshop เกี่ยวกับเรื่อง CRM หรือ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ หรือบางทีเราก็เรียกว่า เป็นการทำการตลาดสัมพันธ์ แต่เรามักจะมีประสบการณ์กับ การจัดสัมมนาที่ลงท้ายด้วยการโฆษณาขาย Software Solution ของคนจัดและพยายามบอกเรา ว่า Software ของเขาสามารถทำได้ทุกอย่างที่เราต้องการ

ผมได้มีโอกาส เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้มาในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา และก็มีท่านผู้อ่าน E-mail และโทรศัพท์มาหาผมมากมาย เพื่อให้ผมไปพูดให้องค์กรของเขาฟังว่า CRM ที่แท้จริงคืออะไร ในฉบับนี้ ผมจึงอยากถือโอกาสนี้ สรุปบางประเด็นที่ผมพูดให้ท่านผู้อ่านได้อ่านบ้าง และสำหรับท่านที่ยังสงสัย ผมทราบมาว่า ทาง BrandAge กำลังรวบรวมเนื้อหาการสัมมนาในงานเปิดตัวหนังสือ รวมพลคนสร้างแบรนด์ เป็นเล่มเพื่อตอบสนองท่านผู้อ่านที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานในวันนั้นได้ ก็ขอให้ติดตามผลงานในเร็วๆ นี้

ว่าด้วยการตลาดความสัมพันธ์ 

ทำไมต้องมีการตลาดความสัมพันธ์ (Relationship Marketing)? 
ก็เพราะถ้าคุณสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดี คุณก็จะสามารถรักษายอดขายของคุณได้
 Relationship Marketing หรือ RM คืออะไร ? 
RM คือ ยุทธศาสตร์ใหม่ คือ เรื่องของการใช้เทคนิค และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้คุณชนะใจลูกค้าและรักษาลูกค้านั้นของคุณไว้ตลอดชีวิต หรือเรียกว่า Lifetime Customer ความแตกต่างระหว่างการทำ 

RM กับการทำการตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) คืออะไร? 

หนึ่ง : การตลาดแบบดั้งเดิมนั้นเป็นการทำการตลาดที่มุ่งเน้นที่ส่วนแบ่งตลาดเป็น สำคัญ ในขณะที่การตลาดแบบ RM เราต้องการส่วนแบ่งของลูกค้า (Share of Customer) การที่เราจะทุ่มเงินให้ได้ลูกค้ามาซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มขึ้นนั้นเป็นไปได้ยากขึ้น เพราะลูกค้าในปัจจุบันมีจำกัด ฉะนั้น สิ่งที่บริษัทธุรกิจจะทำได้ในศตวรรษนี้ คือ ทำอย่างไรที่จะให้คนๆหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกค้าของท่านซื้อเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 40% เท่านั้นเอง ท่านก็สามารถเพิ่มยอดขายอีกเท่าตัว นั่นคือ Share of Customer หรือส่วนแบ่งของลูกค้า 

สอง : การทำการตลาดแบบดั้งเดิมเป็นความพยายามที่จะสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ เช่น แชมพูสำหรับผมแตกปลาย ผมแห้ง ผมมัน ขณะที่ RM มุ่งเน้นที่การสร้างความแตกต่างของลูกค้า (Differentiate Customer) คุณต้อง Differentiate Customer ยกตัวอย่างพฤติกรรมลูกค้า ลูกค้าบางกลุ่มเป็นลูกค้าที่สบายๆ บางกลุ่มเป็นลูกค้าที่จู้จี้แต่ก็ยังพอรับได้ แต่ลูกค้าบางกลุ่มที่ Super JJ คือจู้จี้แอนด์จุกจิก พวกนี้คุณต้องค่อยๆ ใส่พานประเคนไปให้คู่แข่งคุณ คือ ยกชิ้นกระดูกไปให้คู่แข่ง !! ต้อง Differentiate Customer ไม่ใช่ไป Differentiate Product ครับ! 

สาม : การทำการตลาดแบบดั้งเดิมจะเน้นบริหารจัดการเรื่องผลิตภัณฑ์ แต่ถ้าเป็น RM คุณจัดการที่ลูกค้า ทำอย่างไรที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุด? เพราะฉะนั้น กล่าวโดยสรุป ก็คือ การตลาดแบบดั้งเดิมเป็นการผลิตสินค้าก่อนแล้วค่อยไปหาคนมาซื้อ แต่ถ้าเป็นการตลาดยุคใหม่ หรือการตลาดความสัมพันธ์ (RM) หรือการตลาดแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-One Market- ing) หรือ CRM ที่เราพูดกัน คุณต้องไปสำรวจหาลูกค้าก่อนที่คุณจะไปเสนอสินค้า เช่น ลูกค้าชอบอะไร? ลูกค้าชอบรสต้มยำหมูสับ แต่ไปออกต้มยำอย่างอื่นก็อาจจะไม่มีใครซื้อ เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากตลาดและอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กำหนดหรือมุ่งไปที่ลูกค้ามากกว่าตัว สินค้า ประกอบกับลูกค้ามีอิสระมากขึ้น มีความต้องการมากขึ้น ฉลาดมากขึ้น มีการศึกษาดีขึ้น สมัยก่อนเราได้ยินว่า ของดีราคาถูกมีที่ไหน? แต่ลูกค้าวันนี้บอกว่ามี ! ของดีแล้วต้องราคาถูก ! ถ้าของดีราคาแพงก็ไม่ซื้อ

เพื่อสร้างความ ได้เปรียบ องค์กรต่างต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับคู่ค้าและลูกค้ามากยิ่งขึ้น

 เราเรียนรู้ตำราพิชัยสงครามซุนวูว่า รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง 
ผมอยากถามท่าน ผู้อ่านว่า จะมีสักกี่คนที่รู้เขา ? 
เผลอๆยังมีที่ไม่รู้เราด้วย ไม่รู้ว่าตัวเองขายสินค้าอะไร? 
ไม่รู้ว่าตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของบริษัทคืออะไรด้วยซ้ำไป? 
ลองถามเจ้านายหรือลูกน้องท่านดูซิครับ นี่จึงเป็นประเด็นสำคัญที่สุด
 ถ้าคุณยังไม่รู้แม้กระทั่งตัวเองคือใคร? 
คุณจะไปสู้กับเขาได้อย่างไร? 
ในโลกทุกวันนี้ ทุกองค์กรต่างพุ่งความสนใจและให้ความสำคัญไปที่การเพิ่มความถี่ของการซื้อ หรือการใช้มากกว่า โดยเน้นไปที่ลูกค้าที่มีความจงรักภักดี เหตุผลที่ทำเช่นนั้นได้ 

ก็เพราะว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ได้ สามารถเข้าถึงลูกค้าแบบถึงตัวได้ ทำให้เราได้ศัพท์ใหม่ทางการตลาดที่เรียกว่า Mass Customization ก็คือ ทำแบบเฉพาะเจาะจงให้กับแต่ละคนได้เป็นจำนวนมากๆด้วย โดยอาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต และยังสามารถทำให้เราเพิ่มการตอบรับจากลูกค้าได้มากขึ้น ฉะนั้น การที่มีอินเตอร์เน็ต และเศรษฐกิจดิจิตอลเกิดขึ้นมานี้ ทำให้องค์กรต่างๆ ตื่นตัวและปรับตัวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ โดยเฉพาะการเปิดรับคนรุ่นใหม่ เข้าแทนที่พนักงานรุ่นเก่าที่จะเป็นไม้แก่ดัดยาก และมีปัญหาการใช้เทคโนโลยี เนื่องจากโลกเราเป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น พวกเรานักการตลาดรุ่นใหม่ เราจะต้องรับมือกับภาวะความซบเซาทางเศรษฐกิจที่หลายคนพูดกันตลอดเวลาว่า ปีนี้และปีหน้าอาจจะเกิดภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจโลกตกต่ำ เพราะสงครามอิรัก แต่สำหรับผมคิดว่า ภาวะเงินฝืดน่าจะไม่เกิด ยกเว้นอเมริกาโจมตีอิรักและทำให้สงครามยืดเยื้อ กว่าบทความนี้ออกตีพิมพ์ สงครามก็คงจะจบแล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากฝากไว้คือ

เราจะต้องประเมิน Resource ของท่านใหม่ ต้องมีการพิจารณาทรัพยากร

ในองค์กรใหม่ คือ


1. ส่วนผสมทางด้านภูมิศาสตร์ (Geographical Mix) จากเดิมที่ขายสินค้ากันทุกภาคเลย ทั้งที่สินค้าบางตัวของคุณอาจจะแข็งแรงและทำกำไรได้เฉพาะบางภาค บางภาคอาจไม่ได้กำไร เพราะฉะนั้น ควรจะตัดภาคที่ไม่ได้กำไรทิ้งไหม? แล้วรวมทรัพยากร ดึงทหารหรือถอนทหารกลับมาเสริมจุดที่เราแข็งแกร่งที่สุดและมีกำไรดีที่สุด หรือเปล่า? ผมเคยได้ยินผู้บริหารท่านหนึ่งพูดประโยคหนึ่ง ตอนที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งใหม่ๆ ผมชอบมาก เขาบอกว่า บางครั้งเราจำเป็นต้องยอมแพ้บางสมรภูมิรบ เพื่อเอาชนะสงครามในที่สุด และตัวอย่างที่เราได้เห็นก็คือ การที่ CP ตัดขายทิ้งทุกอย่างที่ไม่ใช่ Core Business ของตัวเองหลังเกิดวิกฤต เหลือแต่ธุรกิจหลักของเขาอยู่ 3 อย่าง นั่นคือ ธุรกิจการเกษตร ธุรกิจโทรคมนาคม กับธุรกิจค้าปลีก

2. ส่วนผสมทางด้านเซ็กเม้นต์ตลาด (Market Segmentation Mix) คุณเลือกทุก เซ็กเม้นต์ไม่ได้ ก็เหมือนกันคุณต้องพิจารณาใหม่ว่า ส่วนของตลาดส่วนไหนที่มีผลกำไรที่สุด แล้วมุ่งไปที่ตลาดนั้น

3.ส่วนผสมทางด้านลูกค้า (Customer Mix) กลุ่มลูกค้ากลุ่มใดที่ทำเงินให้คุณมากที่สุด ดูแลเขาให้ดีที่สุด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง รักษาลูกค้าที่ให้กำไรสูงสุดต่อองค์กรของเราไว้

4.ส่วนผสมทางด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย (Product, Channel & Promotion Mix) ก็เหมือนกัน คุณต้องตัดสินใจว่า คุณต้องการจะบุกเพื่อจะได้ส่วนแบ่งตลาด หรือตั้งป้อมเพื่อรักษาส่วนที่คุณมีอยู่

ในสถานการณ์แบบ นี้ โอกาสที่คุณจะได้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มคงยากมาก ยิ่งถ้าคุณเป็นผู้นำตลาด (Brand Leader) ยิ่งเป็นช่วงที่ลำบากที่สุดในการที่จะล้มหรือฆ่าแบรนด์อันดับ 2, 3, 4 ฉะนั้น คุณต้องแน่ใจว่า จะสามารถคงคำมั่นสัญญาที่มีคุณค่าโดยผ่านแบรนด์ของท่าน (Maintain the Value Proposition Promise by Your Brand) ด้วยการระดมทรัพยากรทั้งหมด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่า คุณจะคงรักษาภาพลักษณ์และคำมั่นสัญญาที่คุณให้กับลูกค้าไว้ได้ แล้วก็พยายามที่จะเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ แทนที่จะเข้าสู่สงครามราคา  



บทความโดย : www.mindphp.com
ประกาศบทความโดย : http://www.prosoftcrm.in.th - See more at: http://www.prosoftcrm.in.th/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=2148&ArticleID=8255#sthash.6eWWNBVW.dpuf

10 แนวทางอาร์เอสปั้นดิจิตอลทีวี



หลังจากดิจิตอลทีวีทยอยเปิดตัวกันไปแล้ว มาถึงคิว “อาร์เอส” ใช้ฤกษ์ดีวันที่ 8 พฤษภาคม เปิดตัว ดิจิตอลทีวีช่อง 8 อย่างเป็นทางการ หมายเลขช่อง 27 บนทีวีดิจิตอล และหมายเลขช่อง 8 กับ 37 ทางกล่องทีวีดาวเทียม




อาร์เอสยังคงใช้จุดขายเดิมของช่อง 8 ของการเป็นช่องที่นำเสนอละครแนวดราม่า ประเภทชิงรักหักสวาท เอาใจคอละครและฐานคนดูหลักจึงเป็นกลุ่มผู้หญิง และเพิ่มเนื้อหาข่าว รายการวาไรตี้ รายการกีฬา เพื่อขยายไปยังกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ชาย และเด็กวัยรุ่นมากขึ้น

เครดิต: positioningmag.com

10 อันดับธุรกิจซื้อสื่อโฆษณาสูงสุดปี 2013



ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงที่สุดในปี 2013 ก็คือกลุ่มรถยนต์ เป็นผลพ่วงมาจากนโยบายรถคันแรก ส่งผลให้มีการใช้เม็ดเงินสูงถึง 10,997 ล้านบาท โตขึ้น 14% รองลงมาเป็นกลุ่มสกินแคร์ใช้เม็ดเงิน 9,272 ล้านบาท แต่มีอัตราลดลง 1%

กลุ่มธุรกิจทางด้านโทรคมนาคมมีอัตราการใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นสูงที่สุด เพราะมีการแข่งขันกันที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีการเติบโตของสมาร์ทโฟน รวมไปถึงการพัฒนา 3G และ 4G มีการใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้น 25% เป็นมูลค่า 8,490 ล้านบาท และกลุ่มองค์กรเพื่อสังคมมีการใช้เม็ดเงินโฆษณาน้อยลงถึง 12% แต่ยังมีมูลค่า 6,337 ล้านบาท



ที่มา: www.positioningmag.com/

แคมเปญ Share a Coke โค้ก




เมื่อชื่อเล่นยอดนิยมของคนไทย อย่าง “ตุ๊ก เอก เตย ไอซ์ เปิ้ล …”

Red Ocean strategy


อธิบาย Red Ocean, Blue Ocean และ White Ocean พร้อมยกตัวอย่างทั้ง 3 กลยุทธ์

Red Ocean strategy


หรือ กลยุทธ์ Red Ocean นั้นก็คือการทำธุรกิจที่มีคู่แข่งขันสูงแต่หากมีการขยายความให้มีความหมายที่ลึกและชัดเจนมากยิ่งขึ้นนั้นก็หมายถึงว่าบริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมแต่ละรายก็มุ่งเน้นจะเอาชนะคู่แข่งคนอื่นๆ่เพื่อที่จะแย่งชิงลูกค้ามาให้ได้มากที่สุด และทำให้ได้กำไรมากที่สุดโดยที่ แนวทางส่วนใหญ่ก็จะมุ่งเน้นไปที่ ดูว่าคู่แข่งทำอะไรบ้างและบริการของคู่แข่งเป็นอย่างไร เมื่อคู่แข่งออกสินค้าหรือบริการอะไรใหม่ออกมาก็จะทำตามและออกสินค้าใหม่ออกมาเช่นเดียวกันเพื่อไม่ให้น้อยหน้าและแย่งลูกค้าซึ่งกันและกันและเมื่อวงจรนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายสินค้าและบริการในอุตสาหกรรมก็จะมีลักษณะที่เหมือนกันหาความแตกต่างของสินค้าได้ยากและนำไปสู่การแข่งขันทางด้านราคาเป็นหลัก ซึ่งก็จะไม่ทำให้ใครได้ประโยชน์หรือเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนที่แท้จิง และนี่คือความหมายของ กลยุทธ์ที่เรียกว่า Red Ocean

ตัวอย่าง Red Ocean strategy : ธุรกิจโทรศัพท์มือถือ
จะเห็นได้ว่าธุรกิจโทรศัพท์มือถือมีการแย่งลูกค้าทางการตลาดกันมากเมื่อคู่แข่งออกแบบโทรศัพท์ที่มีฟังก์ชั่นไหนมาใหม่แล้วขายดีหรือเป็นที่ต้องการของลูกค้าก็จะแข่งกันผลิตขึ้นมาและกลายเป็นว่ามีการแข่งขันทางการตลาดสูงทำให้ขายไม่ได้และผู้ประกอบการก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรนอกจากขาดทุน

Blue Ocean strategy


หรือ กลยุทธ์ Blue Ocean นั้นก็จะเป็นกลยุทธ์ที่ตรงกันข้ามกับ Red Ocean หลักการของ
Blue Ocean นั้นจะไม่มุ่งเน้นทำในสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรือสิ่งที่ยังไม่มีขึ้นมาใหม่โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม เป็นการสร้างความต้องการของลูกค้าและอุตสาหกรรมใหม่ขึ้นมา ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า
โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์กรก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปสู่การเติบโตขององค์กร
หรือกล่าวอีกนัยหน่งว่า กลยุทธ์ Blue Ocean ก็คือธุรกิจที่มีคู่แข่งขันน้อยหรือไม่มีคู่แข่งขันนั่นเอง

ตัวอย่าง Blue Ocean strategy : เวิร์ค พอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์

จะเห็นได้ว่า เวิร์ค พอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ถือเป็นต้นแบบของการใช้กลยุทธ์การตลาดบลู โอเชียน ของวงการโทรทัศน์ เกมโชว์ในรูปแบบวาไรตี้ เช่น ชิงร้อย ชิงล้าน หรือระเบิดเถิดเถิง เป็นการสร้างรายการฉีกรูปแบบเกมโชว์ทั่วไปที่มีนับสิบรายการต่อสัปดาห์ใน เวลานั้น ไปสู่ตลาดที่ไร้ซึ่งคู่แข่งแต่คงไว้ซึ่งองค์ประกอบความสนุกของรายการเกมโชว์ครบถ้วน เช่นเดียวกับ เกมโชว์ในแนวสร้างความรู้ อย่าง แฟนพันธุ์แท้,
เกมทศกัณฑ์ และกล่องดำ รางวัลชนะเลิศการประกวดรายการโทรทัศน์แห่งเอเชีย แสดงให้เห็นถึงควาสำเร็จในการผลิตรายการที่มีความแปลกใหม่ ออกไปจากตลาด แต่ได้รับความนิยม ได้เป็นอย่างดี


White Ocean strategy

เป็นส่วนของกลยุทธที่อยู่ในอุดมคติที่มีการพูดถึงหลายปีมาแล้วสาเหตุที่มีการพูดถึงWhite Ocean
ก็เนื่องมาจากว่าเมื่อมี Blue Ocean แล้วก็ยังมีการแข่งขันกันมากขึ้นจน Blue Ocean จะกลายเป็น
Red Ocean มากขึ้นทุกวันจึงมีการคิดที่จะสร้างกลยุทธ์ White Ocean ขึ้นมาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการ , ลูกค้า และสังคม ซึ่งต้องประกอบด้วย คุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ เป็นการสร้างมาตรฐานและบรรทัดฐานใหม่ให้เกิดขึ้นในกลุ่มธุรกิจและสังคม


ตัวอย่าง White Ocean strategy : บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นจำกัด

ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า การดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ White Ocean ทำให้ได้ลูกค้าที่มีแนวคิดเดียวกัน หรือที่เรียกได้ว่าเป็น "ธรรมะจัดสรร" ยกตัวอย่าง กลุ่มทาทาซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ของอินเดีย ที่เข้ามาขยายธุรกิจในเมืองไทย และมีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจด้วยการมุ่งเป้าหมายเพื่อช่วยให้สังคมที่ องค์กรธุรกิจเข้าไปอยู่ร่วมเป็นสังคมที่มีความหวังมากขึ้น ประกอบกับการใช้คุณธรรมและจริยธรรม ทำให้สามารถสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจเติบโตมาถึง 300 ปี

ตัวอย่างแผนการตลาด วิเคราะห์ Download Free


ตัวอย่าง แผนการตลาดธุรกิจบริการ


ตัวอย่างแผนการตลาด E-Commerce


ตัวอย่างแผนการตลาด Internet Cafe (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด WholesaleDistributoer


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจคาร์แคร์ (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจนำเที่ยว (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจบริการ


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ธุรกิจร้านรองเท้าสตรี (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด ร้านสะดวกซื้อ


ตัวอย่างแผนการตลาด สำนักบัญชี (Eng)


ตัวอย่างแผนการตลาด


แบบฟอร์มแผนการตลาด


แผนการตลาด i-home


แผนการตลาด NATURE'S CANDY


แผนการตลาด WHEELIE DEALS


แผนการตลาด การผลิต ธุรกิจน้ำดื่ม


แผนการตลาด น้ำฝรั่ง G-Fresh


แผนการตลาด น้ำพริกสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน


แผนการตลาดบริษัทโตโยต้า มอเตอร์


แผนการตลาดร้านไอศกรีมสมุนไพร






หัวใจสำคัญที่ต้องทราบMarketing Plan


ตัวอย่าง การวิเคราะห์ด้านการตลาด


การเขียนแผนการตลาด ทำอย่างไร



การเขียน แผนการ ตลาด ที่ดีควรเริ่มต้นอย่างไร...?

จากประสบการณ์ของผู้เขียน ได้มีข้อคิดที่อยากจะแนะนำผู้ประกอบการในธุรกิจ เอสเอ็มอีและผู้สนใจทั่วไปว่า การที่จะเขียนแผนการตลาดให้ออกมาแล้วดูดี และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้ อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ มีความสอดคล้องเป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินงานอย่างชัดเจน ผู้เขียนจึงอยากจะเสนอกฎของการเริ่มต้นก่อนเขียนแผนการตลาด มานำเสนอ ซึ่งมีทั้งหมด 10 ข้อ ที่จะนำเสนอดังนี้

การแข่งขันสูง เล็งธุรกิจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม Niche Market

ฉีกหนีการแข่งขันที่สูง ด้วยการจับธุรกิจลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market)


     การดำเนินการธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างเราๆ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีปัญหาในเรื่องต้นทุนสินค้าและค่าแรง 300 บาท(นโยบายประชานิยมจากมันสมองรัตตะบานในพ.ศ.นี้) ที่ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมรับแล้ว การแข่งขันยังสูงขึ้นกว่าเดิมมากๆ ยังไม่รวมเรื่อง AEC ที่จะเกิดขึ้นอีก 
     นอกจากผลพวงจากค่าแรง อาจก่อให้เกิดการว่างงานแล้ว หลายๆ ท่านหันไปทำธุรกิจตัวเองกันมากขึ้นเพื่อให้มีรายได้ iTrendy360 เลยเขียนบทความเพื่อแนะนำสำหรับผู้ที่มองหาอาชีพใหม่ๆ
    กลุ่มลูกค้าเฉพาะ หรือนิช มาร์เก็ต(Niche Market) ที่มีการแข่งขันน้อยกว่าตลาดทั่วไปที่มุ่งมวลชนจำนวนมากหรือ แมส มาร์เก็ต (Mass Market) ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่ครองตลาดอยู่แล้ว ทั้งนี้ แม้ว่าตลาดเฉพาะกลุ่มหรือนิช มาร์เก็ต จะเป็นตลาดกลุ่มย่อยที่แยกออกมาจากตลาดใหญ่ แต่ลูกค้าในกลุ่มนี้ก็มีกำลังซื้อที่สูง จึงมีมูลค่าตลาดมากเพียงพอที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยมีรายได้และผลตอบแทนที่คุ้มค่าในการประกอบธุรกิจนั้น เราสามารถแยกตลาดตามกลุ่มลูกค้าได้คร่าวๆเป็น 2 ตลาด ดังนี้


หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)


หลักของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
 จัดและรวบรวมโดย.อาจารย์พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์






การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) คือ จุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์


การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย

•ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพ(สถานการณ์)ขององค์กร
•การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
•การนำสิ่งที่ได้(ข้อมูลที่รวบรวมได้) ไปใช้ในการวางทิศทางขององค์กร
•จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรทำอย่างไร (เพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้)


การวางแผนกลยุทธ์ ต้องตอบโจทย์คำถาม 3 ประการให้ได้

1.ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
2.ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3.จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร

ขั้นตอนที่สำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องให้ความสำคัญกับ

1.วิเคราะห์สภาพแวดล้อม โดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2.จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พัธกิจ(ภารกิจ) และวัตถุประสงค์ขององกรค์อย่างชัดเจน
3.กำหนดกลยุทธ์โดยพิจารณาความเหมาะสม และการสามารถไปปฎิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4.ปฎิบัติตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5.ความคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฎิบัติงาน ประเมินผลกระบวนการและผระเมินผลสำเร็จขององค์กร

กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มักจะนำไปใช้เมื่อเราต้องการ

1.เปลี่ยนทิศทางและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
2.สร้างกรอบการทำงานที่ต้องอาศัยการตัดสินใจในองค์กร
3.กำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณและการประเมินผลการดำเนินงาน
4.ฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
5.เพิ่มความมั่นใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจ

เกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์ (การวางแผน)

1.เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
2.เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3.เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในะยะยาว
4.เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสม
5.เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้


หลักการ ที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนเชิงกลยุทธ์

1.ลักษณะธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ (What business you are in?)
2.ลักษณะธุรกิจในอนาคต (Where do you want to go?)
3.สภาพแวดล้อม (Environment)
4.การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation)
5.การปฎิบัติงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ (Achievement)


กฎของการวางแผนเชิงยุทธ์

1.การแปลงกลยุทธ์ไปสู่ทีมปฎิบัติการต่าง ๆ โดยสร้างให้เกิดความเข้าใจพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งทุกคนจะรู้เป้าหมายของตนเองอย่างชัดเจน ว่าตนเองต้องทำอะไรบ้าง
2.ปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพราะแต่ละหน่วยงานย่อมมีบทบาทหน้าที่ มีองค์ความรู้และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การจะทำให้กลยุทธ์ได้รับการปฎิบัติและดำเนินไปอย่างราบรื่นนั้น จำเป็นต้องปรับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ เพื่อสร้างให้องค์กรมีเอกภาพและเข้มแข็ง
3.ทำให้กลยุทธ์เป็นเสมือนงานประจำวันของทุกคน ต้องทำให้ทุก ๆ คนเข้าใจกลยุทธ์ และสามารถทำงานประจำวันของตนไปในทิศทางที่สอดคล้อง สนับสนุนความสำเร็จของกลยุทธ์ ซึ่งไม่ใช่การสั่งการจากบนลงล่าง แต่เป็นการสื่อสารระหว่างทั้งสองระดับ
4.ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้วยภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง


ปัญหามักเกิดขึ้นในการนำกลยุทธ์ไปปฎิบัติ

1.วิสัยทัศน์ พันธกิจ(ภารกิจ) ไม่ชัดเจน รวมถึงวัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และภารกิจหลักขององค์กรทำให้เกิดการขัดแย้งเชิงกลยุทธ์
2.การขาดภาวะผู้นำและทิศทางที่ชัดเจนของผู้บริหาร
3.สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป มีปัจจัยภายนอกซึ่งไม่สามารถควบคุมได้เกิดขึ้น โดยที่องค์กรไม่มีแผนฉุกเฉินรองรับ
4.หน่วยธุรกิจ และหน่วยงานต่าง ๆ ขาดการประสานงานที่ดีในองค์กร มีระบบสารสนเทศที่ไม่สามารถติดตามผลการดำเนินงานต่าง ๆ ได้
5.การพัฒนาความสามารถของพนักงานไม่เพียงพอ ไม่มีการระบุงานทั้งหมดไว้ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

การวางแผนเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ

1.จัดทำแผนเชิงกลยุทธ์ที่เป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีความชัดเจนทุกขั้นตอน สามารถทำซ้ำได้ สามารถวัดผลได้ และกระบวนการมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามวงจร
Plan – Do – Check – Act (PDCA)
2.จัดทำแผนที่มีทิศทางเดียวกันและมีการบูรณาการการเชื่อมโยงระหว่างแผนกลยุทธ์ แผนปฎิบัติ การนำแผนไปปฎิบัติ และระบบปฎิบัติการ
3.กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่มีความสมดุลตามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ได้แก่ ค่านิยมด้านลูกค้า ค่านิยมด้านพนักงาน ค่านิยมด้านธุรกิจ ค่านิยมด้านชุมชน

คู่มือการแบ่งเวลาในการทำงาน



จุดเล็กๆ น้อยๆ ที่ควรคำนึงถึงเพื่อให้คุณทำงานได้อย่างแฮปปี้ไม่มีคั่งค้าง


1. แบ่งลำดับความสำคัญ ให้เรียงลำดับโปรเจ็กต์ตามความสำคัญ และดูกำหนดเวลาว่างงานไหนที่ต้องส่งก่อน

การทำนามบัตรที่ดีเพื่อนักธุรกิจ

ลักษณะนามบัตรที่ดีเพื่อประกอบธุระกิจ


นามบัตร ถือเป็นสิ่งสำคัญของธุรกิจในระดับมืออาชีพที่เหล่าบรรดาผู้ประกอบการ นักบริหาร หรือแม้แต่กระทั่งพนักงานทุกคนที่ถือเป็นหน่วยปฏิบัติที่เล็กที่สุดของบริษัทจำเป็นต้องมีพกติดตัวเอาไว้ เนื่องจากในความเป็นจริงนามบัตรธุรกิจเป็นอะไรที่มีคุณค่ามากกว่าแค่กระดาษแผ่นเล็กๆแผ่นหนึ่ง เพราะนามบัตรธุรกิจเป็นการแสดงและแนะนำตัวตนของผู้ประกอบการ บริษัท หรือพนักงานผู้ถือบัตรให้บุคคลอื่นได้รู้จักเปรียบเสมือนเป็นบัตรประชาชนทางธุรกิจเลยก็เทียบได้ ซึ่งหลายวัฒนธรรมของการทำธุรกิจในการพบปะพูดคุยกันครั้งแรกๆของบริษัทผู้ค้ามักจะมีการแลกเปลี่ยนนามบัตรกันก่อนที่จะเริ่มลงมือพูดคุยเจรจาธุรกิจด้วยซ้ำไป นามบัตรจึงเป็นสิ่งสำคัญและกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกๆธุรกิจจะต้องมี ซึ่งโดยปกติแล้วนามบัตรไม่ได้มีรูปแบบตายตัวเหมือนสูตรทางคณิตศาสตร์แต่มันก็มีหลักการสากลที่ผู้ประกอบการควรจะต้องยึดเอาไว้เป็นหลักในการพิจารณาออกแบบอยู่บ้างพอสมควรเพื่อความเป็นมืออาชีพและได้รับการยอมรับจากภายนอกนามบัตรที่ดีควรมีลักษณะดัง องค์ประกอบหลักๆที่ควรพิจารณามีดังต่อไปนี้

เทคนิคการเจรจาต่อรองให้ประสบความสำเร็จ

การเจรจาต่อรอง




การเจรจาต่อรองนั้นไม่ว่าจะเป็นการเจรจากับลูกค้า หรือแม้แต่บุคลากรในหน่วยงานเดียวกันต้อง
มีเทคนิคที่ดี เพื่อให้การเจรจานำไปสู่ข้อตกลงที่พึงพอใจกันทั้งสองฝ่ายจึงจะถือว่าการเจรจาต่อรองนั้นประสบความสำเร็จ โดยมีเทคนิคในการเจรจาต่อรองดังนี้

การเลือกสื่อโฆษณา Media selection

การวัดประสิทธิผลของการโฆษณา

 (Measuring Advertinsing Effectiveness)



การวัดประสิทธิผลของการโฆษณา มักเกี่ยวกับการโฆษณาที่เจาะจง แคมเปญการโฆษณาโดยส่วนมาก บริษัทโฆษณามักจะทำการทดสอบการโฆษณาก่อนที่จะออกโฆษณานั้นแก่สาธารณะมากว่าที่จะทำการทดสอบการโฆษณาหลังจากได้เผยแพร่โฆษณาทางสื่อต่าง ๆ แล้ว
เทคนิคการวิจัยที่ใช้ในการวัดประสิทธิผลการโฆษณาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้โฆษณาว่าต้องการจะวัดผลอะไร โดยทั่วไปการวัดประสิทธิผลการโฆษณามักจะวัดประสิทธิผลทางการสื่อสาร (Communication effect)การวัดประสิทธิผลการสื่อสารเป็นความพยายามที่จะค้นหาว่าการโฆษณามีผลได้ในด้านการสื่อสารอย่างที่ต้องการหรือไม่ การประเมินผลทำได้โดยการทดสอบบทโฆษณา (Copy testing) ซึ่งอาจทำก่อนหรือหลังการออกสื่อโฆษณาก็ได้ สำหรับการทดสอบการโฆษณาก่อนว่า การออกสื่อนั้น มีจุดประสงค์ที่จะปรับปรุงการโฆษณาให้ดีที่สุดก่อนะเผยแพร่ การทดสอบขั้นต้นทำได้ 3 วิธี


1.การให้คะแนนโดยตรง คือ การให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เลือกมา หรือผู้เชี่ยวชาญทางการโฆษณาพิจารณาการโฆษณานั้น แล้วให้คะแนนตามความเหมาะสม หัวข้อที่จำมาพิจารณาได้แก่ ความสามารถในการเรียกร้องความสนใจ ความชัดเจนของข้องความโฆษณา ความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดการซื้อ วิธีการนี้มีกฎเกณฑ์ว่า บทโฆษณาที่มีประสิทธิภาพควรจะคะแนนสูงในทุกหัวข้อที่พิจารณา อย่างไรก็ตามวิธีการนี้เชื่อถือได้น้อย แต่วิธีนี้ก็สามารถช่วยคัดเลือกโฆษณาที่ไม่ดีออกไป


2.การทดสอบความจำ คือ การให้ผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ดูภาพโฆษณาเป็นจำนวนมาก และให้เวลาพิจารณาอย่างเพียงพอแก่ความต้องกร หลังจากนั้นก็จะวางภาพโฆษณานั้นลง และผู้สัมภาษณ์จะถามถึงภาพโฆษณาที่เขาจำได้ ซึ่งผลที่ได้ช่วยให้ทราบได้ว่า โฆษณาใดเด่นและทำให้คนจำได้ตลอดจนเข้าใจเนื่อหาโฆษณาที่ผู้โฆษณาต้องการจะบอก


3.การทดสอบความจำในห้องทดสอบ ผู้วิจัยบางคนวัดประสิทธิผลของการโฆษณา โดยการวัดปฏิกิริยาทางร่างกายของผู้ดูโฆษณา เช่น หัวใจเต้น ความดันของเลือด การหายใจ เป็นต้น การทดสอบทางจิตวิทยานี้ใช้ได้เพื่อวัดความสนใจที่ได้ และวัดความสามารถของโฆษณาที่กระตุ้นผู้ดู


1.การทดสอบความระลึกได้ คือ การหาบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าและเป็นผู้ที่ดูสื่อโฆษณาหนึ่งที่ผู้โฆษณาใช้ เช่น โทรทัศน์ นิตยสาร หรือวิทยุ เป็นต้น และให้เขาอธิบายถึงโฆษณาที่เรากำลังทดสอบอยู่ ซึ่งผลที่ได้นั้น จะช่วยชี้ให้เห็นว่าการโฆษณานี้เป็นที่สังเกตเห็นและอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคหรือไม่


2.การทดสอบความระลึกได้ วิธีนี้หาผุ้ที่ดูสื่อโฆษณาที่ใช้และให้เขาอธิบายว่าจำอะไรได้บ้าง สิ่งที่ควรจำไว้คือ วิธีการวัดนี้เป็นการวัดความสนใจและประสิทธิผลการสื่อสารของโฆษณา มิใช่การวัดผลกระทบต่อทัศนคติหรือพฤติกรรมการเลือกสื่อโฆษณา (Media Selection)

การเลือกสื่อโฆษณา (Media Selection)


หน้าที่ที่สำคัญของโฆษณาก็คือการตัดสินใจเลือกสื่อที่ดีที่สุด ที่จะนำสารโฆษณาไปสู่ตลาดเป้าหมาย สิ่งต่าง ๆ ที่ผู้โฆษณาอย่างได้มากที่สุด คือ การเข้าถึง (Reach) ความถี่ (Frequency) ผลกระทบ (impact)และความต่อเนื่อง (continuity) ในงบประมาณโฆษณาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ผู้โฆษณาควรจะต้องทราบถึงอุปนิสัยการใช้สื่อของตลาดเป้าหมายคุณภาพและต้นทุนของสื่อต่าง ๆ

การเลือกสื่อหลัก

บริษัทจะเลือกสื่อโฆษณา เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1.อุปนิสัยการใช้สื่อของตลาดเป้าหมาย เป็นปัจจัยแรกที่ควรจะพิจารณา โดยดูว่าตลาดเป้าหมายของเรามีอุปนิสัยในการใช้สื่ออย่างไรบ้าง เช่น บริษัทผลิตของเล่นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเชื่อว่าเด็กควรจะเป็นผู้ที่บริษัทควรพยายามเข้าให้ถึงแม้ว่าพ่อแม่จะเป็นผู้มีอำนาจซื้อ ดังนั้นการเลือกสื่อก็ควรจะหลีกเลี่ยง หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และวิทยุ สื่อที่จะเข้าถึงเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ โทรทัศน์ เป็นต้น


2.สินค้า เนื่องจากสื่อหลักต่าง ๆ มีคุณสมบัติที่โม่เหมือนกัน ในด้านการแสดงด้วยภาพ การอธิบายความน่าเชื่อถือ และสีสัน เช่นกล้องถ่ายรูปเหมาะที่จะใช้การโฆษณาทางโทรทัศน์ เพราะสามารถสาธิตวิธีการถ่ายรูปได้ และเห็นสีสัน ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ สินค้าแระเภทเสื้อผ้า สีก็เป็นเรื่องสำคัญ จึงเหมาะสมที่จะโฆษณาทางนิตยสาร เป็นต้น

3.ต้นทุนของสื่อเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีราคาแพงที่สุด ในขณะเดียวกันวิทยุเป็นสื่อที่ถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ราคาของสื่อแต่ละประเภทไม่สามารถเปรียบเทียบกันโดยตรง เพราะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน และเข้ากลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันด้วย

การเลือกสื่อเฉพาะเจาะจง


ขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์ควรตัดสินใจก่อนว่าจะใช้จ่ายสำหรับสื่อแต่ละประเภท เป็นจำนวนเท่าใด เช่นการตัดสินใจเพื่อที่จะใช้จ่ายเงินจำนวน 100,000 บาท ในการโฆษณาทางนิตยสารจากงบประมาณ500,000 บาท แต่จะเลือกนิตยสารฉบับใด และจะลงโฆษณากี่ครั้ง อัตราค่าโฆษณาขึ้นอยู่กับขนาด สี และตำแหน่ง นิตยสารโดยทั่วไปจะเสนอลดราคาได้ ถ้าการลงโฆษณามีจำนวนครั้งมากพอ

การคิดค่าโฆษณาใช้เกณฑ์ต้นทุนต่อพัน (The cost-per-thonsand criterion)

ผู้วางแผนสื่อโฆษณาพยายามคำนวณหาต้นทุนต่อพันคนของแต่ละสื่อ สมมุติว่าถ้าลงโฆษณาในนิตยสารดิฉัน เต็มหน้าสี่สี ราคา 60,000 บาท และประมาณว่ามีจำนวนผู้อ่าน 240,000 คน ดังนั้นตันทุน ของการเข้าถึงคนต่อหนึ่งพันคนเท่ากับ 250 บาท ในขณะที่นิตยสารเปรียวอัตราค่าโฆษณาสี่สี่เต็มหน้าราคา 60,000บาท และสามารถเข้าถึงผู้อ่านได้จำนวน 180,000 คน ตันทุนของการเข้าถึงคนต่อหนึ่งพันคนเท่ากับ 333บาท ผู้วางแผนสื่อโฆษณาอาจจะจัดลำดับนิตยสารต่าง ๆ ตามอัตราของต้นทุนต่อพันคน เพื่อพิจารณาการเลือกว่านิตยสารฉบับใดมีต้นทุนต่อพันคนต่ำ


การใช้เกณฑ์ต้นทุนต่อพัน มีจุดอ่อนอยู่หลายประการ1.วิธีการนี้ใช้วัดตัวเลขจำนวนผู้อ่านทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้อ่านเป้าหมายเป็นกลุ่มใด และจะมีคุณค่ากับผู้อ่านกลุ่มใดมากที่สุด เช่น นิตยสารฉบับหนึ่งมีจำนวนผู้อ่านมาก ต้นทุนต่อพันต่ำ แต่ ถ้ากลุ่มผู้อ่านส่วนใหญ่เป็นแม่บ้านที่มีอายุมาก และสินค้าที่โฆษราเป็นสินค้าสำหรับวัยรุ่น การโฆษณาโดยใช้เกณฑ์นี้เป็นตัววัดก็จะไม่ได้ผล


2.โดยทั่วไปมักจะเข้าใจว่าโฆษณาที่ลงในสื่อ เช่น นิตยสารจะประกฎแต่ผู้อ่านนิตยสารนั้นทุกคน แต่ความจริงแล้วมีคนบางกลุ่มเท่านั้นที่จะอ่านโฆษณาและมีบางคนเท่านั้นที่จะประทับใจ ดังนั้นการใช้วิธีต้นทุนต่อพันจะทำให้ไม่ได้ตัวเลขที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะอ่านหรือเห็นโฆษณา เพราะจะเป็นตัวเลขรวม


3.คุณภาพของนิตยสาร วิธีการนี้ไม่ได้คำนึงถึงคุณภาพที่แตกต่างกันของนิตยสาร ถึงแม้นิตยสารหลาย ๆ ฉบับจะเข้าถึงผู้ซื้อกลุ่มเป้าหมายเหมือนกัน ผู้โฆษณาก็ยังมีความเห็นว่าความเชื่อถือ คุณภาพอื่น ๆ ของนิตยสารแต่ละฉบับไม่เท่ากัน

การกำหนดเวลาของค่าใช้จ่ายการโฆษณา

 (Timing of Advertising Expenditures)



ปัญหาของการกำหนดเวลาสำหรับค่าใช่จ่ายการโฆษณา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ การกำหนดเวลามหภาค และจุลภาค


กำหนดเวลามหภาค เกี่ยวข้องกับวิธีการที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายการโฆษณา ตลอดทั้งปีเพื่อให้สอดคล้องกับยอดขายของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนไปตามฤดูการ สมมุติว่ายอดขายของอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งสูงสุดในเดือนธันวาคม และตกต่ำในเดือนมีนาคม ผู้ขายมีทางเลือกในการจัดสรรค่าใช้จ่ายการโฆษณาอยู่ 3 ทาง คือ


1.จ่ายค่าโฆษณาตามยอดขายที่เปลี่ยนแปลง2.จ่ายค่าโฆษณาตรงกันข้ามกับยอดขายที่เปลี่ยนแปลง3.จ่ายค่าโฆษณาเท่ากันตลอดทั้งปี


มีทฤษฏี 2 แบบ ที่ถูกพัฒนาเพื่อแนะนำการกำหนดเวลาแบบมหภาค
ก.ทฤษฏีของ Jay Forrester เขากล่าวว่าควรจะศึกษาและวิเคราะห์สินค้าแต่ละชนิดว่า ช่วงระยะเวลาระหว่างโฆษณา ความตระหนักใจ และการซื้อยาวเพียงใด ถ้าตามปกติผู้ซื้อจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก่อนที่จะเกิดความตระหนักใน และใช้เวลาอีก 1 เดือนก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ก็หมายความว่าจะต้องโฆษณา 2 เดือน ก่อนที่จะมีการซื้อสินค้า ถ้าเราสามารถวิเคราะห์ถึงช่วงระยะระหว่างองค์ประกอบเหล่านี้ เราก็จะสามารถปรับการโฆษณาให้เข้ากับระบบการผลิตของเราได้ เพื่อให้มีการผลิตสม่ำเสมอตลอดปี


ข.ทฤษฏีของ Alfred Kuehn เขากล่าวว่า การกำหนดระยะของการโฆษณาขึ้นอยู่กับระยะของความทรงจำ และอุปนิสัยของพฤติกรรมการเลือกตราสินค้า
ระดับของความทรงจำหมายถึงระดับของการโฆษณาที่ยังเหลืออยู่ในความทรงจำของผู้รับ ถ้าระดับของความทรงจำ = .75/เดือน หมายความว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของการโฆษณาในเดือนที่แล้วยังอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ถ้าระดับควาททรงจำ = .10/เดือน หมายความว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ของการโฆษณาในเดือนที่แล้วยังอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภค ถ้าอัตรานี้สูงมากเท่าใด ความถี่ของการโฆษณาก็ลดน้อยลงได้


อุปนิสัยของพฤติกรรมการเลือกตราสินค้า หมายถึงอัตราที่ผู้ซื้อจะเลือกตราสินค้านี้โดยไม่มีการส่งเสริมสินค้า ถ้าอัตราอุปนิสัย = .90 หมายความว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ซื้อสินค้านี้โดยไม่มีการส่งเสริมสินค้า เพราะอุปนิสัยหรือมีความภักดีในตราสินค้า ซึ่งไม่ต้องมีแรงกระตุ้นทางการตลาด


การกำหนดเวลาจุลภาค เกี่ยวข้องกับวิธีการที่จะจัดสรรงบค่าใช้จ่ายการโฆษณาในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ได้ผลสูงสุด สมมุติว่า บริษัทจะซื้อเวลาโฆษณาของสถานีวิทยุจำนวน 30 ครั้ง ในเดือนกันยายน ทางเลือกที่จะทำได้คือ1.โฆษณาในช่างในช่วงหนึ่งเป็นช่วงสั้นแต่โฆษณาให้ถี่มาก2.โฆษณาต่อเนื่องทั้งเดือน3.โฆษณาต่อเนื่องเป็นช่วง ๆ ทั้งเดือน


การกำหนดวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้า ลูกค้าเป้าหมาย ช่องทางการจำหน่าย และปัจจัยการตลาดอื่น ๆ


หลักการกำหนดเวลาสำหรับค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้1.อัตราการหมุนเวียนของผู้ซื้อ คือ อัตราที่ผู้ซื้อใหม่เข้ามาในตลาด ถ้าอัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ยิ่งจำเป็นที่จะเข้าถึงลูกค้าใหม่2.ความถี่ของการซื้อ คือจำนวนครั้งที่ซื้อสินค้าในงวดหนึ่ง ๆ อัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ต้องมีความสำคัญมากที่จะรักษาความซื่อสัตย์ต่อตราสินค้าให้มากขึ้น3.อัตราการลืม คืออัตราที่ผู้บริโภคลืมสินค้านี้ ถ้าไม่มีแรงกระตุ้น ยิ่งอัตรานี้สูงเท่าไร การโฆษณาต่อเนื่องก็ยิ่งจำเป็นมาก เพื่อให้ผู้บริโภคจำสินค้านี้อยู่ได้
การพัฒนาข้อความ (Message Development)


ผลของการโฆษณาต่อยอดขายไม่ใช่ฟังก์ชันของจำนวนการจ่ายเงินโฆษณาเพียงใดเท่านั้น สิ่งที่สำคัญของผลการโฆษณาต่อยอดขายหรือทัศนคติ มีแนวโน้ม คือ ใช้จ่ายเงินนั้นอย่างไรโดยเฉพาะในด้านข้อความที่ให้ไปว่า พูดอะไร พูดอย่างไร และพูดบ่อยเพียงใด การศึกษาทางด้านสถิติส่วนใหญ่ละเลยปัจจัยความคิดสร้างสรรค์ ทำให้แต่ละแคมเปญการโฆษณาไม่แตกต่างกันหรือไม่มีอันใดเด่น มีผลให้ไม่สามารถอธิบายถึงการเคลื่อนไหวของส่วนครองตลาดได้ จากการศึกษาเกี่ยวกับการโฆษณาไดผลสรุปออกมาว่ากลยุทธ์การสร้างสรรค์ที่ดีและมีความแตกต่างกัน มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการโฆษณา


การกล่าวถึงสินค้าชนิดหนึ่งอาจทำได้หลายแบบ แต่ผู้ซื้อจะไม่เชื่อ หรือไม่สามารถจำข้อมูลในสิ่งที่โฆษณาอ้างถึงหลาย ๆ อย่างได้ ข้อความควรเน้นแต่สิ่งสำคัญที่ผู้ซื้อจะสามารถเรียนรู้ลักษณะพิเศษหรือจุดเด่นเกี่ยวกับสินค้า การพัฒนาข้อความแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การสร้างข้อความ การประเมินข้อความและการเลือกข้อความ
การสร้างข้อความ (Message Generation)

ปัญหาของการสร้างข้อความคือ การสรรหาคำพูดที่ทำให้มีประสิทธิผลต่อสินค้าหรือตลาดเป้าหมาย กล่าวโดยทั่วไป กลยุทธ์การสร้างข้อความควรจะต้องตัดสินใจก่อนเกี่ยวกับแนวความคิดสินค้า การวางตำแหน่งสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ทางด้านกลยุทธ์การตลาดและวัตถุประสงค์ ถ้าได้มีการกำหนดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เกี่ยวกับสินค้าแล้ว การกำหนดกลยุทธ์ข้อความโฆษณาเป็นสิ่งไม่ยาก

ในขณะเดียวกัน สินค้าเมื่อเป็นไปตามวัฏจักรสินค้าจะพบคู่แข่งขันมากมายซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการทบทวนคุณลักษณะและประโยชน์ของสินค้าที่ตลาดต้องการ ซึ่งมีผลให้ต้องเปลี่ยนข้อความโฆษณาใหม่ตามความต้องการของตลาดหรือเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขัน นักสร้างสรรค์พยายามหาวิธีจะสร้างข้อความโฆษณาให้น่าสนใจและดึงดูดตลาดเป้าหมาย หลายความคิดจากบุคคลเหล่านี้ ลูกค้าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดที่จะทำให้ได้ความคิดที่ดี ความรู้สึกต่อตราสินค้าของบริษัทเป็นแนวทางสำหรับกลยุทธ์การสร้าวสรรค์

ปัจจุบันการใช้วิธีการสรุปจากหลักเกณฑ์ (dedective) ในการสร้างความสนใจต่อโฆษณาได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้คือการได้มาจากทฤษฏีการวางตำแหน่งสินค้า (Product positioning theory) ผู้โฆษณาจะดูว่าตราสินค้าของผลิตภัณฑ์ของเขามีตำแหน่งอย่างไรในความคิดของผู้บริโภค ซึ่งวิธีนี้จะให้โอกาสที่จะสร้างข้อความโฆษณาสำหรับการสื่อสารที่เหมาะสม

การประเมินและการเลือกข้อความ

 (Message evaluation and selection)


การเลือกข้อความที่ดีที่สุด จำเป็นต้องมีกำหนดกฏเกณฑ์การเลือกข้อความโฆษณาต่าง ๆ Twedt ได้แนะนำการพิจารณานั้นควรคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้เป็นสำคัญ คือความปรารถนา (Desirabilty) ความเฉพาะเจาะจง(Exclusiveness) และความเชื่อถือ (Believability) เขาเชื่อว่าการจะดึงดูดความสนใจของตลาดเป้าหมายได้ควรคำนึงถึง 3 แฟกเตอร์ นั่นคือ ข้อความควรพูดถึ่งสิ่งที่น่าปรารถนาในตัวสินค้า ซึ่งยังไม่เป็นการเพียงพอเพราะสินค้าหลาย ๆ ตรา ก็จะกล่าวในทำนองเดียวกัน ดังนั้นข้อควาทที่ใช้ควรจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงสำหรับสินค้าของบริษัทเท่านั้นและข้อความนั้นต้องน่าเชื่อถือและสามารถพิสูจน์ได้

การจัดอันดับความดึงดูดใจของการโฆษณาโดยการสอบถามผู้บริโภคอาจจะสะท้อนถึงความคิดเห็น แต่ไม่ใช่สะท้องถึงพฤติกรรม ดังนั้นผู้โฆษณาควรต้องทำการทดสอบขั้นต้นเพื่อพิจารณาข้อความใดดึงดูดมากที่สุด


การทำข้อความโฆษณา (Message execution)

ผลกระทบของการโฆษณาไม่ใช่จะขึ้นอยู่กับว่าควรจะพูดอะไร แต่ยังขึ้นอยู่กับว่าควรจะพูดอย่างไร


ขั้นตอนของการทำข้อความ ประกอบด้วย1.โครงสร้างข้อความ (Message structure) คือวิธีที่จะวางข้อความให้เหมาะสมเพื่อจะได้ผลมากที่สุด เรื่องนี้ได้อธิบายแล้วในบทก่อน


2.การพัฒนาบทโฆษณา (Copy development) คือการค้นหาถ้อยคำ รูปภาพ สัญลักษณ์ สี และแนวที่จะใช้ในการสร้างบทโฆษณา บริษัทโฆษณากำหนดกฏเกณฑ์อย่างกว้างในการสร้างข้อความไว้ดังนี้
ก.ออกแบบข้อความโฆษณาที่จะเรียกความสนใจ
ข.ปรับข้อความให้เหมาะสมกับสื่อโฆษณา
ค.ทำข้อความให้ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้
ง.ใช้คำพูดหรือสิ่งที่ผู้รับสื่อคุ้นเคย


ส่วนประกอบของบทโฆษณา เช่น สี ขนาด พาดหัว และอื่น ๆ อาจจะมีผลกระทบที่แตกต่างกัน อย่างมากต่อบทโฆษณา เช่นเดียวกับต้นทุน การวิเคราะห์ธุรกิจโฆษณา แฟกเตอร์สำคัญที่จะมีผลต่อการวัดจำนวนของผู้อ่านคือ สี และขนาด โฆษณาสี่สี จะดึงดูดความสนใจมากกวาโฆษณาขาว-ดำ โฆษณาขนาดเต็มหน้าจะเรียกร้องความสนใจมากกว่าขนาด ¼ หน้า เป็นตัน


ลูกค้าของบริษัทโฆษณามักต้องการให้บริษัทโฆษราสร้างแนวความคิดโฆษณามาหลาย ๆ แบบเพื่อจะได้ทดสอบดูว่าแนวความคิดแบบใดดีที่สุด แต่ยิ่งสร้างแนวคิดโฆษณามากเท่าไร ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากเท่านั้น ถ้าบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์จ่ายค่าใช้จ่ายในการสร้างแนวคิดโฆษณาได้บริษัทโฆษณาก็จะสร้างออกมาหลาย ๆ แบบ แต่จากผลตอบแทนที่ได้เป็นเปอร์เซนต์นั้น อาจจะไม่กระตุ้นให้บริษัทโฆษณาอยากทำ แนวคิดโฆษณาหลายแบบเพื่อมาใช้ทำการทดสอบก่อนออกสื่อโฆษณา อย่างไรก็ตามการสร้างแนวคิดโฆษณาออกมาหลาย ๆ แบบเพื่อทดสอบขั้นต้นนั้นเป็นการเสียค่าใช้จ่ายสูง บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์มักไม่ยินดีจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้