Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

สิ่งที่สำคัญก่อน วันนี้เลย

กินกบตัวนั้นซะ --- ทำสิ่งที่สำคัญก่อน วันนี้เลย Eat That Frog

หนังสือเรื่อง "กินกบตัวนั้นซะ" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้เวลาอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด เพราะ คนเราไม่มีเวลา พอที่จะทำทุกอย่างได้ในเวลาเดียวกัน จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ วิธีการบริหารเวลา จากคนที่ ประสบความสำเร็จ เขาจะไม่พยายามทำทุกสิ่ง แต่จะมุ่งความสนใจ ไปยังงานที่สำคัญที่สุดก่อน และทำมันเป็นอันดับแรก
"กินกบตัวนั้นซะ" เป็นการอุปมาให้เห็นภาพว่าหากสิ่งแรกที่คุณจะทำในแต่ละเช้า คือ การกินกบเป็นๆ ตัวหนึ่งซึ่งมันคงเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดของวันนั้นแล้ว แต่ถ้าคุณรีบกินมันเสีย อย่างน้อยคุณจะได้ ภาคภูมิใจว่า คุณจะสามารถผ่านพ้นวันนั้นไปได้ด้วยดี เพราะคงไม่มีอะไรเลวร้ายมากไปกว่านี้อีกแล้ว เปรียบเหมือนกับ การรีบจัดการงานที่ท้าทายที่สุด ในแต่ละวันของคุณ ที่คุณเห็นว่า มันยากและพยายาม ผัดวันประกันพรุ่งไปทำวันอื่น โดยลืมนึกไปว่า บางทีสิ่งนั้นอาจมีผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อชีวิตของคุณ
สิ่งสำคัญที่หนังสือเล่มนี้ ย้ำอยู่เสมอไม่ใช่ให้ยึดเพียงหลักการ แต่เป็นการลงมือปฏิบัติจริงอย่างเคร่งครัด เพื่อจัดระเบียบ และหาวิธีที่จะลงเอยกับงานที่สำคัญยิ่งเหล่านี้ เพื่อให้ไม่เพียงทำงานได้เร็วขึ้น แต่ได้ทำงานที่ใช่เลยอีกด้วย

ประเมินตนเองว่าพร้อมหรือยัง

วัตถุประสงค์ คือ เพื่อหาช่องว่าง แล้วพัฒนาแผนการดำเนินการ เพื่อที่จะปิดช่องว่างเหล่านั้น
เมื่อคุณตอบคำถาม คุณอาจจะพบจุดแข็งในพื้นที่หนึ่ง แต่ก็อาจจะพบจุดอ่อนในอีกพื้นที่หนึ่ง ซึ่งคุณอาจจะไม่เคยตระหนักเลยก็เป็นไปได้
ควรใช้เวลาทบทวนคำถามต่อไปนี้ และตอบอย่างตรงไปตรงมา สำหรับธุรกิจของคุณ
รายการตรวจสอบการตลาด (Marketing Checklist)
บริษัท ของคุณ มีลักษณะเช่นนี้ ใช่ หรือ ไม่ ... 
(Yes / No)
1. มีภาพที่ชัดเจนของลูกค้าหลัก (ผู้บริโภคเป้าหมาย) ของคุณ (Target Market) หรือไม่ (Yes / No)
อธิบายให้ได้มากที่สุด ว่า
เขา เป็นใคร (เพศ, อายุ, ระดับรายได้ สไตล์ ฯลฯ)
เขา อยู่ที่ไหน (ประเทศ, ภาค, ในเมืองหรือชนบท, บ้านเดี่ยวหรือคอนโด ฯลฯ)
เขามีทัศคติในการดำเนินชีวิตอย่างไร
เขามีรูปแบบการใช้ชีวิต และการซื้อสินค้าอย่างไร

2. มีความเข้าใจที่แท้จริงว่า สิ่งที่ผู้บริโภคเป้าหมายของคุณต้องการอย่างแท้จริง คือ อะไร (Need, Want, Demand)หรือไม่ (Yes / No)
ปัจจัยอะไรที่เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้พวกเขาซื้อสินค้าประเภทนี้
ทำไมเขาจึงซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณ
มีใครเกี่ยวข้องในการการตัดสินใจซื้อบ้าง และมีบทบาทที่เกี่ยวข้องอย่างไร
เขาไปซื้อสินค้าประเภทนี้ที่ไหน
เขาไปซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณที่ไหน
ความสามารถในการซื้อเป็นอย่างไร
3. ความชัดเจนในสิ่งที่คุณขาย หรือไม่ (Yes / No)
ไม่ใช่แค่เพียง คุณสมบัติ (
Feature / Attribute) คือ ส่วนผสม, องค์ประกอบ ที่ผลิตภัณฑ์ของคุณมี
หรือ กระบวนการ (Function) คือ ผลลัพธ์ สิ่งที่ผลิตภัณฑ์ของคุณทำได้
ต้องแสดงให้เห็นถึง ประโยชน์ (Benefit) คือ สิ่งที่ผู้บริโภคและลูกค้าได้รับจากผลิตภัณฑ์ของคุณ

4. มีรายชื่อลูกค้า (ทุกราย) หรือไม่ (Yes / No)
ซึ่งจะทำให้คุณรู้ (ที่อย่างน้อยที่สุด) ว่า
ลูกค้าของคุณ เป็นใคร
เป็นลูกค้า ประเภทไหน (ช่องทางจัดจำหน่าย)
วิธีการที่พวกเขาซื้อ เช่น เงินสด, เงินเชื่อ 7วัน, 15วัน, 30วัน, 45วัน, 60วัน, มากกว่า 60วัน อย่างละเท่าไร
กำลังซื้อของแต่ละรายว่า ซื้อสินค้าอะไรบ้าง
ขอบเขตการทำธุรกิจ และการขายอยู่ที่ไหน

5. รู้จำนวนคำสั่งซื้อ และแหล่งที่มาของยอดขาย หรือไม่ (Yes / No)
กำลังซื้อของลูกค้าแต่ละประเภท (ช่องทางจัดจำหน่าย) ว่า ซื้ออะไร จากคุณบ้าง ปีละเท่าไร เดือนละเท่าไร
ความถี่ในการซื้อ
อัตราการปิดการขาย ในแต่ละประเภทลูกค้า
6. ขั้นตอน กระบวนการ และระบบการขายที่ชัดเจน และได้ตกลงกันอย่างเป็นทางการ (มีลายลักษณ์อักษร) หรือไม่(Yes / No)
ระบบการขายที่ได้ตกลงกันอย่างชัดเจนว่า
วิธีการสั่งซื้อ แบบฟอร์มการสั่งซื้อ ระยะเวลาการสั่งซื้อ ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำของแต่ละคำสั่งซื้อ (Minimum Order / Invoice)
ประเภทสินค้าและปริมาณสินค้าที่สามารถสั่งซื้อได้ในแต่ละเดือน (Monthly Sales Forecast by SKU)
ขั้นตอนการขนส่ง ระยะเวลาในการส่งสินค้าในแต่ละพื้นที่ เงื่อนไขการส่งสินค้า ฯลฯ
แนวทางการขายสินค้า เช่น คุณภาพ, ราคา, กำไรรวม หรือความเชื่อมั่นในระบบของลูกค้า ฯลฯ
ทักษะการขายของพนักงานขาย ที่จำเป็น เช่น ความรู้ในองค์ประกอบและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์, ขั้นตอนการขาย, วิธีการตอบข้อโต้แย้งของลูกค้า, การปิดการขาย, การบริการลูกค้า, การพัฒนาธุรกิจร่วมกับลูกค้า ฯลฯ
7. ภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพ หรือไม่ (Yes / No)
ความเป็นเอกภาพ (Identity) ของ ชื่อ โลโก้ สี คำขวัญ ในทุกสื่อ เช่น บนผลิตภัณฑ์, ชุดเครื่องแบบพนักงาน, วัสดุการพิมพ์ ซองจดหมาย หัวกระดาษเอกสาร, การโฆษณาประชาสัมพันธ์ รถบริษัท ฯลฯ กระทั่ง เว็บไซค์ของคุณ เป็นหนึ่งเดียว
8. มีวิธีการในการสื่อสารกับผู้บริโภค ลูกค้า และผู้เกี่ยวข้อง อย่างสม่ำเสมอ และมีแบบแผน หรือไม่ (Yes / No)
มีการวางแผนในการสื่อสารให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวยข้องให้ รู้จัก และมีความรู้ในองค์ประกอบและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ อย่างสม่ำเสมอ
ติดตามวัดผล ความเข้าใจ และความสามารถในการตอบสนองความต้องการของเขาว่า ดีกว่าคู่แข่งหรือไม่
9. มีความโดดเด่น ชัดเจน ในตลาดเป้าหมาย หรือไม่ (Yes / No)
การบริหารจัดการสินค้า ป้ายโฆษณา การสื่อสาร ฯลฯ ณ จุดซื้อ
ที่สามารถสื่อสารให้ให้ผู้บริโภค และลูกค้า เห็นสินค้าอย่างโดดเด่น และเข้าใจประโยชน์ของสินค้าอย่างง่ายๆ ชัดเจน

10. มีนโยบายการกำหนดราคาที่ชัดเจน หรือไม่ (Yes / No)
มีหลักการในการตั้งราคาอย่างชัดเจน
ราคาตั้งของแต่ละสินค้า
ส่วนลดปริมาณ ในแต่ละช่องทาง มีกี่ขั้น อะไรบ้าง
ส่วนลดในการส่งเสริมการขาย ในแต่ละช่องทาง มีกี่ขั้น อะไรบ้าง
ส่วนลดเงินสด มีกี่ขั้น อะไรบ้าง
มีการบันทึก และอนุมัติอย่างเป็นทางการ (มีลายลักษณ์อักษร) หรือไม่
มีการทบทวนทุกปีอย่างสม่ำเสมอว่า เหมาะสม หรือไม่
ทุกคนใน บริษัท เข้าใจ และได้ดำเนิการตามที่กำหนดไว้ หรือไม่

นับคะแนน ที่คุณได้

ถ้าคุณตอบว่า 
ใช่ มากกว่า 7 ข้อ
แสดงว่า
คุณมีการเตรียมการด้านการตลาด และมีประสิทธิภาพมากในความพยายามทางการตลาด
แต่ถ้าคุณไม่รู้สึกว่า คุณยังไม่มีประสิทธิภาพ
คุณควรคิด เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ :
คุณซื่อสัตย์กับคำตอบ หรือไม่ เป็นจริงและดีเอย่างที่คุณคิด หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำถามที่ 1, 2, 3 และ 7
- การสื่อสารทางการตลาดของคุณ ได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของคุณ ต่อสิ่งที่ที่ลูกค้าต้องการ และประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับ ที่ดีกว่าคู่แข่ง และเขียนขึ้นในภาษาของพวกเขาให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ หลีกเลี่ยงของคุณศัพท์แสงทางเทคนิค หรือไม่
ถ้าคุณตอบว่า ใช่ 4 - 6 ข้อ
หากคุณตอบว่าใช่ ในข้อ 1
2, 3, 7 และ 9 นอกนั้นคุณอาจจะไม่ได้สำคัญ
เพราะคุณมีปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จแล้ว
 ปัญหาที่เหลืออยู่ อาจเป็นได้ว่าคุณจะต้องจัดระบบ และขั้นตอน วิธีการในการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมเพื่อที่คุณจะสามารถวัดประสิทธิภาพของกิจกรรมทางการตลาดของคุณ หรือ การส่งมอบบริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอกับลูกค้าทุกราย
แต่ถ้าคุณตอบว่าใช่ ในข้อ 1
2, 3, 7 และ 9 แล้ว
คุณไม่ควรที่จะทำให้กิจกรรมการตลาดมากเกินไป จนกว่าคุณจะปรับการพื้นฐานการตลาดให้ถูกต้องเสียก่อน
- มีความเข้าใจที่ชัดเจนว่า ผู้บริโภคเป้าหมาย ของคุณ เป็นใคร
สิ่งที่พวกเขาต้องการ และทำไมพวกเขาควรจะซื้อสินค้าของคุณ
ถ้าคุณตอบว่า ใช่ น้อยกว่า 3 ข้อ
คุณควรที่จะลงทุนด้านเวลา และความพยายามในการตลาดของคุณ เพื่อพัฒนาธุรกิจ
อาจจะมอบหมาย ให้มีคนรับผิดชอบในการพัฒนาแผนการตลาด โดยเฉพาะ
เพื่อ ตอบคำถามเหล่านี้ โดยมุ่งเน้นไปที่คำถามที่สำคัญที่ 1
2, 3, 7 และ 9
หรืออาจจะมีการประชุมทีมงาน เพื่อหารือเกี่ยวกับคำถามแต่ละข้อ ทุกๆ เดือน
ให้ทุกคนในทีมที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการกำหนด จุดขาย หรือ ข้อเสนอให้กับลูกค้า และสร้างความเข้าใจร่วมกัน ในตลาดที่คุณแข่งขันอยู่
แน่นอนคุณอาจที่จะขอรับความช่วยเหลือจากภายนอก โดยการใช้ที่ปรึกษาก็ได้
อย่า...มีเพียงข้ออ้างต่างๆมากมายที่จะไม่ทำ
แล้วตกลงไปอยู่ในกับดักของการตัดสินใจระยะสั้น ด้วยการแก้ปัญหาด้วยการสื่อสารการตลาด (เช่น ทำโฆษณาใหม่, โลโก้ใหม่, บรรจุภัณฑ์ใหม่, โบรชัวร์ใหม่ หรือ ทำซ้ำเว็บไซต์ใหม่ รวมถึงสินค้าใหม่ ฯลฯ
หากปราศจากการแก้ปัญหาพื้นฐานของผู้บริโภค และแสดงสิ่งผลิตภัฑ์ของคุณ สามารถส่งมอบประโยชน์ที่ดีกว่าของคู่แข่งได้ กิจกรรมมากมายก็ไม่สามารถสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจในระยะยาวได้


จะวางกลยุทธ์อย่างไรให้ธุรกิจสามารถแข่งขันได้

จากปัญหาการแข่งขันทางธุรกิจที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ธุรกิจจึงได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามการแข่งขันในด้านต่าง ๆ Micheal E. Porter ได้เสนอกลยุทธ์หลักสำหรับการแข่งขันทางการตลาด เพื่อให้ธุรกิจต่อสู้กับภัยคุกคามจากการแข่งขันได้ มี 3 ประการคือ
 1. กลยุทธ์สร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation Strategy) คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน หรือมีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) มากกว่าผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างเหนือคู่แข่งขันถือเป็นการสร้างจุดเด่น (Unique) ให้ผลิตภัณฑ์เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ดีที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ง่ายที่สุด เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง หรือใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ให้แตกต่างจากคู่แข่งขัน ในปัจจุบันวิธีการนี้การสร้างความแตกต่างด้านกายภาพให้ผลิตภัณฑ์ (Physical Differentiation) ทำได้ยากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีต่าง ๆ สามารถตามกันทันได้ในเวลาที่รวดเร็ว ดังนั้นธุรกิจควรมีการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ทางปัญญา เช่น ยาไวอาก้าที่มีการจดสิทธิบัตร หรือรูปทรงของรถยนต์โฟกสวาเก้นที่มีการจดสิทธิบัตรไว้ เป็นต้น
 2. กลยุทธ์การตลาดต้นทุนต่ำ (Low Cost Marketing Strategy) คือ การควบคุมต้นทุนทางการผลิตให้ต่ำ เพื่อให้ธุรกิจสามารถขายสินค้าหรือบริการได้ในราคาถูกกว่าคู่แข่งขัน กลยุทธ์นี้ธุรกิจจะทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าที่เหมือนคู่แข่งขัน แต่ธุรกิจต้องสามารถหาวิธีลดต้นทุนทางการผลิตให้ได้ต่ำกว่าคู่แข่งขัน โดยการใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคน โดยการผลิตสินค้าจำนวนมาก (Economy of Scale) หรืออาจไปตั้งโรงงานในเขตที่มีค่าแรงงานต่ำ เพื่อให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ต่ำกว่าคู่แข่งขัน ธุรกิจก็จะได้เปรียบคู่แข่งขัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าของจีนยี่ห้อไฮเออร์ที่มีต้นทุนต่ำและขายในราคาถูก หรือธุรกิจเสื้อผ้าก็จะใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automatic Machine) มาช่วยในการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตมากและต้นทุนต่ำลง
 ในธุรกิจค้าปลีกจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้มี Discount Store และ Super Store ที่ใช้กลยุทธ์การตลาดต้นทุนต่ำ เพื่อสามารถขายสินค้าอุปโภคบริโภคได้ในราคาถูก แต่ลดบริการบางอย่าง เช่น ไม่มีบริการห่อของขวัญ ไม่มีถุงสำหรับใส่สินค้า มีพนักงานให้บริการน้อย และไม่ใช้งบโฆษณา เพื่อทำให้ต้นทุนทางการตลาดต่ำลง ทำให้ธุรกิจสามารถขายสินค้าได้ถูกกว่าธุรกิจค้าปลีกทั่วไป
 3. กลยุทธ์ตลาดย่อย (Niche Marketing Strategy) สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและมีเงินทุนจำกัด ไม่สามารถทำการผลิตสินค้าจำนวนมากเพื่อให้มีต้นทุนต่ำ หรือลงทุนวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน ธุรกิจขนาดเล็กอาจต้องเลือกตลาดย่อย และเจาะจงตลาดใดตลาดหนึ่ง ซึ่งเป็นตลาดที่ไม่มีคู่แข่งรายใหญ่ แต่มีลูกค้า (หรือ Demand) ที่มากเพียงพอที่จะทำธุรกิจมียอดขายและมีกำไรได้ กลยุทธ์ตลาดย่อยเหมาะสำหรับเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น
 • ธุรกิจบริการเฉพาะด้าน เช่น คลินิกรักษาผิว รักษาสิว ลดความอ้วน ทัวร์สุขภาพ บริการดูแลเด็กเล็ก หรือคนชรา เป็นต้น
 • ธุรกิจบริการเฉพาะเขต เช่น ร้านค้าปลีกสะดวกซื้อที่ขายเฉพาะคนในเขตนั้น เป็นต้น
 • ธุรกิจผลิตสินค้าเฉพาะกลุ่ม เช่น ผลิตเสื้อสำหรับคนอ้วน คนสูง คนท้อง เสื้อผ้าสำหรับสุนัข อาหารแคลอรี่ต่ำ นิตยสารสำหรับผู้ที่สนใจกีฬาเทนนิส ว่ายน้ำ หรือกอล์ฟ
 สำหรับนักธุรกิจหน้าใหม่ การศึกษากลยุทธ์หลักที่ Michael E. Porter กล่าวถึง จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้ธุรกิจใหม่สามารถแข่งขันและมีกำไรได้
 • ถ้าธุรกิจใหม่สามารถสร้างความแตกต่างด้านผลิตภัณฑ์ ธุรกิจนี้จะเป็นผู้นำในด้านผลิตภัณฑ์
 • ถ้าธุรกิจสามารถลดต้นทุนได้ต่ำ ธุรกิจนี้จะเป็นผู้นำด้านราคาต่ำ
 • ถ้าธุรกิจมีข้อจำกัดด้านเงินทุนและกำลังคน ธุรกิจนี้ควรเลือกตลาด Niche หรือตลาดย่อยเพื่อลดการแข่งขันจากคู่แข่งขันรายใหญ่
 แนวคิดกลยุทธ์หลักของ Michael E. Porter ช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภัยคุกคามจากการแข่งขันได้ แม้จะไม่ทั้งหมดแต่จะทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันในตลาด และมีกำไร
 แต่จากสภาพปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจสูงมากขึ้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะเลือกใช้กลยุทธ์หลักเพียงกลยุทธ์เดียว Philip Kotler ได้กล่าวเสริมกลยุทธ์หลักของ Michael E. Porter ว่า สำหรับธุรกิจขนาดเล็กควรใช้กลยุทธ์ Niche แต่ธุรกิจต้องสร้างผลิตภัณฑ์ และธุรกิจที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งขันด้วย ไม่ว่าจะเป็นในด้านผลิตภัณฑ์หรือราคา เพื่อให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
 ดังนั้น การตลาดในปัจจุบันธุรกิจต้องมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เจาะจงมากขึ้น ธุรกิจใดสามารถมองเห็นความแตกต่างของบุคคล และสามารถพัฒนาในสิ่งที่แตกต่าง เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้ก่อน ธุรกิจนั้นย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จมาก หรืออาจเรียกว่า การตลาดสมัยใหม่ควรเป็นการตลาดที่มุ่งสร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ (Product Differentiation) และนำเสนอให้แก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งจะเห็นได้จากความสำเร็จของบริษัท Dell Computer ที่ให้ผู้บริโภคให้ข้อมูลความต้องการ และช่วยออกแบบคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด


http://www.learners.in.th/blogs/posts/44996

การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ

 การวางแผนกลยุทธ์ เป็นงานที่สำคัญที่สุดของทีมการจัดการ
แต่น่าเสียดายสำหรับผู้ประกอบการที่เชื่อ การวางแผนยุทธศาสตร์ หรือการวางแผนกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง การวางแผนกลยุทธ์มีความสำคัญต่อธุรกิจ และสามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่
การวางแผนกลยุทธ์เป็นเครื่องมือที่จะกำหนด และขับเคลื่อนองค์กรของท่านให้ไปยังเป้าหมายที่ต้องการในอนาคต 
การวางแผนกลยุทธ์ที่ดี จะสามารถนำเอาจุดแข็งของธุรกิจของท่าน ไปช่วงชิงโอกาสที่เป็นไปได้ในอนาคต ทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และยังสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงอีกด้วย
การวางแผนกลยุทธ์ หรือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นกระบวนการ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งภายในและภายนอก เพื่อหาตัวเองให้พบว่า ท่านคือใคร มีผลิตภัณฑ์อะไร อยู่ในอุตสาหกรรมอะไร ทำไมผู้บริโภคจึงซื้อแบรนด์ของท่าน สรุปว่าท่านมีจุดแข็งอะไร (Where are we now?)
และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกว่า จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น มีโอกาสอะไรบ้าง แล้วท่านสามารถนำเอาจุดแข็งที่ท่านมี ไปเก็บโอกาสอะไรได้บ้าง ที่จะทำให้ท่านสามารถแตกต่างจากคู่แข่ง ดีกว่าคู่แข่ง และสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้โดนใจมากกว่า (Where we want to go?) ซึ่งไม่ใช่เก็บทุกโอกาส ควรจะเลือกโอกาสที่จะทำให้แบรนด์ของท่านโดดเด่น และเป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
แล้วนำไปพัฒนาวิสัยทัศน์ (Vision) ว่า การที่จะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้  และสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงนั้น องค์กรของท่านควรจะมีลักษณะเป็นอย่างไรในอนาคต เช่น เป็นเลิศในการพัฒนาผลิตภัณฑ์... ด้าน... เป็นเลิศในการลดต้นทุน เป็นเลิศในการบริการด้าน... เป็นเลิศในการตอบสนองความต้องการของกลุ่ม... ด้าน... ฯลฯ
จากนั้น กำหนดว่า การที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ข้างต้นนั้นได้ ต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งบางท่านเรียกว่า พันธกิจ(Missionกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ว่า ในอีก 3 – 5 ปี ข้างหน้า เช่น ท่านจะอยู่ในอุตสาหกรรมอะไร ขอบเขตทางภูมิศาสตร์เท่าไร บรรลุยอดขายเท่าไร ส่วนแบ่งตลาดเท่าไร มีประเภทของผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง จำนวนเท่าไร
ขั้นตอนต่อไป คือ วางแผนกลยุทธ์ (How to go there?) หมายถึง เครื่องมือที่จะทำให้องค์กร หรือแบรนด์ของท่าน บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจที่กำหนดไว้ เช่น
จะต้องเติบโต (Growth Strategy) ในอุตสาหกรรม... ผลิตภัณฑ์ประเภท... โดยการเจาะตลาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ขยายขอบเขตและประเภทของตลาด
จะต้องตัดทอน (Retrenchment Strategy) ในอุตสาหกรรม... ผลิตภัณฑ์ประเภท... โดยการดูผลกำไร ไม่ต่ำกว่า... ส่วนแบ่งตลาด ไม่ต่ำกว่า... การเป็นผู้นำในตลาด ไม่ต่ำกว่าอันดับที่...
แล้วทำการสื่อสารให้ทีมงานทั้งหมอ รู้ เข้าใจ เห็นด้วย และช่วยกันไปลงมือดำเนินการ โดยการวางแผนประจำปีของแต่ละฝ่าย แต่ละแผนก ให้สอดคล้องกัยกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร
และสุดท้าย
ในการดำเนินการในแต่ละระยะ เช่น ทุกเดือน ควรจะตรวจสอบว่า ทุกส่วนงานได้ดำเนินงานตามแผนที่ตกลงกันไว้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ทำ จะแก้ไขอย่างไร
และประเมินผล วัดผลของการดำเนินงานว่าได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่  ถ้าไม่ได้ผล จะแก้ไขอย่างไร
ทุกสิ้นปี เมื่อจะวางแผนของปีต่อไป ควรจะสรุปผลงานที่ได้ทำไปว่า บรรลุเป้าหมายเพียงไร ได้เรียนรู้อะไรบ้าง และควรจะพัฒนา ปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อที่จะทำให้ทีมงานและองค์กรสามารถจะพิชิต พันธกิจ ให้ได้ดีกว่า หรือ เร็วกว่าที่กำหนดไว้ เพื่อให้องค์กรสามารถเพิ่มศักยภาพในการบรรลุ วิสัยทัศน์ ได้ในที่สุด
ประโยชน์ของการวางแผนสามารถเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม
องค์กรจะไม่ทราบว่า ตัวเองอยู่ในธุรกิจอะไร ตั้งใจจะทำอะไร อย่างไร กำลังดำเนินการอย่างไร ที่จะเป็นไป หรือจะให้เป็นอย่างไร หากองค์กรที่มีการกำหนดและตรวจสอบเป้าหมายเป็นระยะ ๆ
การวางแผนกลยุทธ์ จะช่วยให้ทีมงานสามารถช่วงชิงโอกาสที่เกิดจากปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่จะเกิดในอนาคต มาเป็นประโยชน์และเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กร โดยการ จัดสรร และทุ่มเททรัพยากรที่สำคัญขององค์กร เช่น เวลา คนที่มีความสามารถและเงินให้กับสินค้า แบรนด์ได้อย่างถูกต้อง ทำให้การจัดสรรทรัพยากรเหล่านี้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่าการลงทุน
การวางแผนกลยุทธ์สะท้อนถึง บุคคลิก หรือรูปแบบเชิงรุก ของทีมบริหาร ที่คาดการณ์และวางแผนรับมือต่อเหตุการณ์ในอนาคต ไม่ใช่เป็นฝ่ายรับ รอแก้ ตามปัญหาที่เกิดขึ้น
การบริหารเชิงรุก สามารถลดเหตุการณ์ แตกตื่นตามสถานการณ์ได้ โดยการทำงานตามแผนและขั้นตอน เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการคาดการณ์ยอดขาย งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และจำนวนเงินทุน ที่จะลงทุนในด้านต่างๆ จึงสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในระยะยาวได้ เพราะไม่ต้องเสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายไปในการคิดค้น สร้าง ผลิต โฆษณา ฯลฯ ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่จุดแข็ง และอนาคตขององค์กร
แผนกลยุทธ์ธุรกิจ เป็นผลลัพธ์ของกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และจะกลายเป็น แผนที่สู่ความสำเร็จ (Road Map)
คุณแผนกลยุทธ์ธุรกิจ จะช่วยให้คุณบรรลุวิสัยทัศน์ได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังสามารถจัดทำ และแสดงเอกสารต่างๆที่จำเป็น ในการสนับสนุนว่าจะสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ได้อย่างไร ทำให้ผู้มีส่วนได้เสียของคุณ(Stakeholders) อันได้แก่ ธนาคารผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ลูกค้า คู่ค้า และพนักงานของบริษัท มีความเข้าใจ เชื่อใจ และรู้สึกมั่นคง ปลอดภัยที่ได้ทำธุรกิจร่วมกับท่าน เพราะเขาเข้าใจที่ดีขึ้น และได้เห็นถึงวิวัฒนาการความสามารถของค์กรที่จะไปบริหารโอกาส อุปสรรค รวมถึงความสามารถที่จะปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในสภาพสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

วิธีหุ่นเพรียว

วิธีลดน้ำหนักวิธีหุ่นเพรียว "ต้องทิปส์นี้ซิค่ะ!!!"

วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) มีวิธีหุ่นเพรียวซึ่งเป็นทิปส์น่ารู้ๆ มาฝากคนที่อยากลดน้ำหนักลดความอ้วนกันค่ะ และคุณสาวๆ ที่กำลังมองหาเทคนิคเพื่อหุ่นสวยกับ วิธีหุ่นเพรียว เชื่อได้เลยค่ะว่าการมีหุ่นเพรียวเป็นอีกหนึ่งความต้องการที่ผู้หญิงอย่างเราๆ นั่นใฝ่ฝัน แต่จะมีสักกี่คนหล่ะค่ะที่เกิดมาพร้อมกับรูปร่างที่แป๊ะแบบนี้ เพราะฉะนั้นสาวๆ ส่วนมากจึงต้องหาวิธีต่างๆ นาๆ เพื่อการมีหุ่นเพรียวและวิธีหุ่นเพรียว ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของสาวๆ กันในตอนนี้ วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็เลยได้ได้นำเอาทริปดีๆ กับ วิธีหุ่นเพรียว เชื่อว่า วิธีหุ่นเพรียว นี้คงจะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญและวิเศษสุดๆ สำหรับคุณสาวๆ นะค่ะ และที่สำคัญ วิธีหุ่นเพรียว นี้ยังเป็นทิปส์ง่ายๆ ที่สาวอย่างคุณก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าพร้อมแล้วก็บอกลาหุ่นตุ๊ต๊ะที่ขาดความมั่นใจของคุณสาวๆ แล้วเริ่มต้นสู่การมีหุ่นสวยสมใจไปพร้อมกับวิธีหุ่นเพรียวที่เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) นำมาฝากกันได้เลยค่ะ