Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

กระหึ่มวงการเหรียญ “SCBX” เข้าไปซื้อหุ้น “BITKUB” จำนวน 51%

 


SCBX” เข้าไปซื้อหุ้น “BITKUB” จำนวน 51% ดังกล่าวด้วยว่า “BITKUB” เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่รายงานต่อ ก.ล.ต. ประมาณ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาด 92%

.
กลายเป็นข่าวใหญ่ในแวดวงธุรกิจ-ไอที พลันที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) หรือ “SCBX” ประกาศลงทุน 1.78 หมื่นล้านบาทในบริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ “BITKUB” ธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ในเครือของบริษัท แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด โดย “SCBX” ถือหุ้น 51% ทำให้ “BITKUB” กลายเป็นส่วนหนึ่งในเครือ “ไทยพาณิชย์” ทันที
.
สำหรับธุรกิจ “BITKUB” ถูกก่อตั้งขึ้นโดย “ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” นักธุรกิจวัยรุ่นชื่อดัง โดยธุรกิจ “BITKUB” แห่งนี้ มีการเติบโตในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รายได้ก้าวกระโดดราว 1,000% ต่อปีเลยทีเดียว
.



อย่างไรก็ดีสำหรับ “ท๊อป-จิรายุส” ปัจจุบันแม้จะเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด แต่มิได้มีชื่อเป็นกรรมการบริษัทแห่งใดในเครือ “BITKUB” แต่มีบุคคลระดับ “คีย์แมน” คือ “ต้น-สกลกรย์ สระกวี” CEO ของ “BITKUB” กุมบังเหียน
.
โดย “ต้น-สกลกรย์” มีชื่อเสียงจากการเป็นนัดเทรด “คริปโต” (Crypto) อันดับต้น ๆ ของไทย เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่ม “Bitcoin Thai Club” และเป็นอดีต CEO ของ Garena Thailand บริษัทเกมชื่อดังอีกด้วย
.
สำหรับอาณาจักรธุรกิจของ “BITKUB” มีอย่างน้อย 5 แห่ง (เท่าที่ตรวจสอบพบ) ได้แก่
.
1. บริษัท แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด เป็น “บริษัทแม่” จดทะเบียนเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2561 ทุนปัจจุบัน 74,154,380 บาท ตั้งอยู่ที่ 2525 อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ตึก 2 ชั้นที่ 11 ยูนิต 2/1101-2/1107 ถนนพระรามที่ 4 คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด กิจกรรมทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคนิคอื่น ๆ ซึ่งมิได้ จัดประเภทไว้ในที่อื่น
.
ปรากฏชื่อ นายสกลกรย์ สระกวี นายทวีทรัพย์ ราวรรณ์ นายอรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์ นายนิธิวัฒน์ มณีสินธุ์ นายสุกฤษฏิ์ พุทธวิริยะ นายอธิชนัน พูลเกษ นายต่อภพ คงตาดำ เป็นกรรมการ
.
นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 340,825,708 บาท มีหนี้สินรวม 21,005,296 บาท มีรายได้รวม 22,305,019 บาท รายจ่ายรวม 25,886,552 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 121,370 บาท เสียภาษีเงินได้ 683,460 บาท ขาดทุนสุทธิ 3,019,443 บาท
.
2. บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2561 ทุนปัจจุบัน 8 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 2525 อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ตึก 2 ชั้นที่ 11 ยูนิต 2/1101-2/1107 ถนนพระรามที่ 4 คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด กิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์อื่น ๆ
.
ปรากฏชื่อ นายภาสกร ปานนอก นายธนเสฏฐ์ เสนีวงศ์ เป็นกรรมการ
.
นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 12,600,396 บาท หนี้สินรวม 4,384,063 บาท รายได้รวม 14,699,243 บาท รายจ่ายรวม 12,298,762 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 10,362 บาท เสียภาษีเงินได้ 124,151 บาท กำไรสุทธิ 2,265,968 บาท
.
3. บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 ทุนปัจจุบัน 5 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 2525 อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ตึก 2 ชั้นที่ 11 ยูนิต 2/1101-2/1107 ถนนพระรามที่ 4 คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด การจัดการประชุม
.
ปรากฏชื่อ นายสกลกรย์ สระกวี เป็นกรรมการรายเดียว
.
นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 2,019,903 บาท หนี้สินรวม 858,644 บาท มีรายได้รวม 1,470,122 บาท รายจ่ายรวม 1,308,863 บาท กำไรสุทธิ 161,259 บาท
.
4. บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2563 ทุนปัจจุบัน 1 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 2525 อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ตึก 2 ชั้นที่ 11 ยูนิต 2/1101-2/1107 ถนนพระรามที่ 4 คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด กิจกรรมของบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่ได้ลงทุนในธุรกิจการเงินเป็นหลัก
.
ปรากฏชื่อ นายสกลกรย์ สระกวี เป็นกรรมการรายเดียว
.
นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 1 ล้านบาท หนี้สินรวม 87,170 บาท ยังไม่มีรายได้ รายจ่ายรวม 87,170 บาท ขาดทุนสุทธิ 87,170 บาท
.
5. บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด หรือ “BITKUB” เจ้าของธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ก.ล.ต.) และถูก “SCBX” ซื้อหุ้นไป 51% พบว่า จดทะเบียนเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2559 ทุนปัจจุบัน 450 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ 2525 อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ ตึก 2 ชั้นที่ 11 ยูนิต 2/1101-2/1107 ถนนพระรามที่ 4 คลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร วัตถุประสงค์ที่ส่งงบการเงินปีล่าสุด การบริหารงานตลาดเงินและตลาดทุน
.
ปรากฏชื่อ นายสกลกรย์ สระกวี นายทวีทรัพย์ ราวรรณ์ นายนิธิวัฒน์ มณีสินธุ์ เป็นกรรมการ
.
นำส่งงบการเงินล่าสุดเมื่อปี 2563 มีสินทรัพย์รวม 422,299,164 บาท หนี้สินรวม 59,522,220 บาท รายได้รวม 330,592,803 บาท รายจ่ายรวม 226,900,025 บาท ดอกเบี้ยจ่าย 13,797 บาท เสียภาษีเงินได้ 23,759,024 บาท กำไรสุทธิ 79,919,957 บาท
.
ทั้งนี้ “SCBX” ยังระบุถึงข้อมูลที่เข้าไปซื้อหุ้น “BITKUB” จำนวน 51% ดังกล่าวด้วยว่า “BITKUB” เป็นศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย. 2564 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่รายงานต่อ ก.ล.ต. ประมาณ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาด 92% อีกด้วย
.
ส่วน “คีย์แมน” อย่าง “ต้น-สกลกรย์ สระกวี” ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2564 พบว่า เป็นกรรมการบริษัทอย่างน้อย 12 แห่ง ยังดำเนินกิจการอยู่ 8 แห่ง ได้แก่ บริษัท ซิลิก้าแคปปิตอลเทรดดิ้ง จำกัด บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด บริษัท บิทคับ แล็บส์ จำกัดบริษัท วัคคีรี วัลเลย์ จำกัด (ทำธุรกิจกิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์อื่น ๆ) บริษัท เพลย์พอยท์ ออนไลน์ จำกัด (ทำธุรกิจร้านขายปลีกอุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคม) และบริษัท เพลย์อัลติเมท จำกัด (ทำธุรกิจการขายปลีกทางอินเทอร์เน็ต)
.
ทั้งหมดคือข้อมูลเท่าที่ตรวจสอบพบเกี่ยวกับ อาณาจักร “BITKUB” ก่อนที่จะพุ่งขึ้น ยานแม่ “SCBX” ด้วยมูลค่ากว่า 1.7 หมื่นล้านบาท จนกลายเป็นที่ฮือฮาในแวดวง ตลาดเงินดิจิทัล อยู่ตอนนี้!
.
.


เศรษฐีใหม่มาแรง “จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา” ปั้น "บิทคับ" ยูนิคอร์น ตัวใหม่ของไทย

 


“กลุ่มเอสซีบี เอกซ์” ประกาศเข้าลงทุนใน บิทคับ ออนไลน์” ด้วยการเข้าซื้อหุ้นสามัญในสัดส่วน 51% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด  (SCBSที่สำคัญ ดีลนี้ยังส่งผลให้ Bitkub ก้าวขึ้นสู่สถานะ “ยูนิคอร์น” เบอร์สองของไทยอย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้ การเข้าทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีเงื่อนไขว่าผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญต้องเป็นที่น่าพอใจ และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปี 2565

สำหรับดีลนี้ ในวงการลงทุนได้ประเมินมูลค่าทั้ง “Bitkub” ที่เขาถือหุ้น 23.87% ใน“บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์”  หมายความว่า “จิรายุส” จะมีมูลค่าหุ้นที่ถือในบริษัทราว 8,354 ล้านบาท จากบริษัทที่สูงถึง 35,000 ล้านบาท และเมื่อ SCBS ประกาศซื้อหุ้น 51% ของบริษัท นั่นหมายความว่า เขาจะได้เงินสดจาก SCBS ทันที 4,260 ล้านบาท  ซึ่งแน่นอนว่าสัดส่วนหุ้นที่เหลือที่ยังไม่ได้ขายก็น่าจะทำให้เขายังมีบทบาทในบริษัทต่อไป และเป็น “คนสำคัญ” ที่ยังคงพัฒนาสิ่งใหม่ในโลกคริปโตเคอเรนซี่ ที่จะเป็น “สะพานเชื่อมโยงโลกเก่าสู่โลกอนาคต” ให้สำเร็จอย่างที่ตั้งใจไว้ให้คนไทยภาคภูมิใจ

ขณะที่  “อรรถกฤต ชิมผลาพิบูลย์”  ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO แห่ง "Bitkub Online” กล่าวว่า โครงสร้างการถือหุ้นใน “บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” โดยส่วนตัวถือไว้สัดส่วนราว 5% แต่หลังจากการเข้ามาซื้อหุ้นของSCBS ครั้งนี้ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นเหลือราว 2.5% ซึ่งในส่วนของ “จิรายุส”ที่ถือในสัดส่วนราว 20% กว่าลดลงเหลือ 10% กว่า ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นสัดส่วนลงตามการเข้ามาถือหุ้นของ SCBS

ส่วนทางด้าน "โครงสร้างผู้บริหารของ Bitkub Online" ยังไม่มีการเปลี่ยน รวมถึงโร้ดแมพของบริษัทยังดำเนินงานตามแผนและเป้าหมายเดิมที่วางไว้ก่อนหน้านี้  แต่แน่นอนว่า เรายังมีแผนที่จะพัฒนาธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้านต่างๆผ่านโมเดลทางธุรกิจรูปแบบใหม่ร่วมกับทาง SCBS  ซึ่งหลังจากนี้บริษัทยังต้องหารือกับทาง SCBS ก่อน และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการทำดีลดิจิเจนท์ จึงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ 

“ดีลนี้เราได้มีการพูดคุยกันมาในปีนี้มาระยะหนึ่งในแล้ว การที่เราตัดสินใจเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในครั้งนี้ เนื่องจาก SCBX เป็นเพียงรายเดียวที่โดดลงมาทำเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลอย่งจริงจังในปีนี้ อีกทั้งยังเป็นบริษัทคนไทยและมีเป้าหมาย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาวและวางรากฐานในการเข้าสู่โลกการเงินแห่งอนาคตต่อไป”

เส้นทางของ "จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา”  Group CEO ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด  มาถึงวันนี้ได้ผลักดัน “Bitkub" มาถึงจุดที่เราได้กลายเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศไทย หรือที่เรียกว่า Digital Economy และเพื่อที่จะนำ Bitkub ให้ก้าวไปสู่ระดับโลก

 “พวกเราต้องการพาร์ทเนอร์ที่แข็งแกร่งมาเป็นกำลังเสริมให้ไปถึงได้เร็วขึ้นอย่างยั่งยืน นั่นเป็นเหตุผลที่เราจับมือร่วมกับ SCBS” 

ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา  "จิรายุส"  มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มองเห็นโลกอนาคตจะเปลี่ยนไปทางด้านไหน ในขณะที่  “Bitkub”   มีความสามารถ มีทรัพยากรต่างๆ มีหลายปัจจัยที่พร้อมกว่าคนอื่น 

"จิรายุส" มองว่า ในช่วงลมเปลี่ยนทิศเร็วมากในเวลานี้นับว่า เป็นจังหวะเวลาที่ดีอย่างมากของ “Bitkub” ซึ่งเป็นธุรกิจยุคใหม่  ขอเป็นตัวแทนเชื่อมโยงโลกเก่าไปสู่โลกใหม่  และยังคงยืนหยัดเป็นบริษัทคนไทย100% ในระยะ 10ปีข้างหน้าปกป้องวงการนี้ไม่ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ ภายใต้ดีลความร่วมมือกับ SCBS  นั่นเอง

จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา (เกิด 8 ก.พ. 2533)  อายุ 31 ปี เกิดที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ชื่อเล่นชื่อ "ท็อป" เป็นนักธุรกิจผู้ก่อตั้งบริษัทบิทคับ ศูนย์แลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซี 

จิรายุสก่อตั้ง บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด ในปี  2561 เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่อาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนในการทำธุรกิจที่ได้รับรองโดยคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และและเป็นอนุกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

ในปี  2562 เขาได้ร่วมเป็นกรรมการสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย ได้มีบทบาทในการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเงินสกุลดิจิทัลในประเทศไทย รวมถึงการจัดงานประชุมในด้านสกุลเงินดิจิทัลและบล็อกเชน ทั้งกับทางภาคเอกชน และภาครัฐร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เครือข่ายยูโรเปียนบล็อกเชนฮับ และองค์กรนานาชาติที่ไม่แสวงผลกำไรโดยเขาได้รับรางวัล 1 ใน 100 คนของโลกที่สร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ร่วมกับ ปรมินทร์ อินโสม ผู้พัฒนา ZCoin

ตลอด 4 ปีที่ผ่านมานี้ "Bitkub"  บริษัทมีรายได้โตเกิน 1,000 % ต่อปี คาดว่าภายในสิ้นปี 2564 มีรายได้แตะ 4,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2561มีรายได้เพียง 3 ล้านบาทและจะมีกำไรเติบโตก้าวกระโดดภายในสิ้นปีนี้คาดกำไรจะอยู่ที่2,000 ล้านบาท จากปีก่อนมี กำไร 100 ล้านบาทเท่านั้น ปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ของลูกค้าดูแลทั้งสิ้น 50,000ล้านบาท

ช่วง 9 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ย.2564) "Bitkub"  มีมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่รายงานต่อ ก.ล.ต. รวมประมาณ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 92% โดย Bitkub มีรายได้รวม 3,279 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,533 ล้านบาท (อ้างอิงจากงบการเงินยังไม่สอบทาน)

ทั้งนี้ "จิรายุส " มองเห็นอนาคต ในระยะ 3 -5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นโลกของ “ไฟแนนซ์เชียลแฟลตฟอร์ม” บริษัทตั้งเป้าหมายจะเป็นธุรกิจที่ติดอันดับ 1 ใน10 ของธุรกิจรายใหญ่ของประเทศไทย ทั้งในแง่มูลค่าธุรกิจและมูลค่าที่สร้างต่อเศรษฐกิจของประเทศ  

บทเรียนจากเอเวอร์แกรนด์



 ในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา คงไม่มีข่าวในแวดวงธุรกิจข่าวไหนจะดังยิ่งกว่าข่าวการผิดนัดชำระดอกเบี้ยของ ไชน่าเอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป บริษัทอสังหาริมทรัพย์ยักษ์ใหญ่อันดับสามของจีน

.
บริษัทไชน่าเอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป เดิมชื่อ เฮงดากรุ๊ป (Hengda Group) ก่อตั้งในปี 1996 โดย สวี่ เจียยิ่น (Xu Jiayin) หรือหากอ่านเป็นภาษาจีนกวางตุ้งจะเป็น ฮุยกาหยาน (Hui Ka Yan) ปัจจุบันอายุ 63 ปี หากท่านอ่านข่าวแล้วงงว่าประธานบริษัทชื่ออะไรกันแน่ ทั้งสองชื่อเป็นคนเดียวกันค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าจะอ่านเป็นภาษาจีนกลาง หรือจีนกวางตุ้ง
.
บริษัทเอเวอร์แกรนด์ ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเติบใหญ่จนเข้าไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2552 ใช้รหัส 3333:HK ในขณะนั้นมียอดขายปีละ 30,300 ล้านหยวน หรือประมาณ 140,000 ล้านบาท และได้เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ จนขยายอาณาจักรไป ลงทุนในธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า เป็นเจ้าของทีมฟุตบอลในเมืองกวางโจว และถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์
.
บริษัทสร้างที่อยู่อาศัยไปมากกว่า 1,300 โครงการ ใน มากกว่า 280 เมืองทั่วประเทศจีน และมีรายได้ในปี 2563 เท่ากับ 507,248 ล้านหยวน หรือประมาณ 2.6 ล้านล้านบาท กำไรสุทธิในปี 2563 เท่ากับ 8,076 ล้านหยวน หรือประมาณ 41,590 ล้านบาท แต่อัตรากำไรสุทธิต่ำมากคือ 1.59% (ข้อมูลจากบลูมเบิร์ก)
.
บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยอาศัยเงินทุนหมุนเวียนจากการกู้ยืม มียอดหนี้มากกว่า 1.95 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 10 ล้านล้านบาท โดยหนึ่งในสามของเงินกู้ยืม เป็นการกู้จากนอกตลาด หรือเรียกว่า shadow loan ซึ่งทางการจีนเข้าควบคุมเข้มงวดตั้งแต่ปี 2019 จึงทำให้แหล่งเงินกู้ยืมนี้เหือดหายไป
.
ข้อมูลจากบีบีซีแสดงว่า บริษัทเป็นหนี้ธนาคารจีน 171 แห่ง และเป็นหนี้บริษัทเงินทุนอีก 121 แห่ง
.
นอกจากนี้ บริษัทยังมีการออกหุ้นกู้ขายจำนวนมาก โดยบริษัทเป็นผู้ออก Junk Bond รายใหญ่ที่สุดในเอเชีย
.
อาการของ เอเวอร์แกรนด์เริ่มปรากฏมาตั้งแต่ปี 2020 ที่บริษัทจะนำบริษัทลูกเข้าตลาดแบบแบคดอร์ (backdoor) แต่เข้าไม่ได้ จึงต้องจ่ายเงินคืนผู้ลงทุน ประกอบกับหนี้ของบริษัทถึงกำหนดชำระในปี 2020 จำนวนมาก บริษัทขาดสภาพคล่องและเริ่มเกิดการค้างจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้การค้า บางโครงการถูกระงับไม่ให้ขายต่อ เนื่องจากทางการท้องถิ่นต้องการปกป้องผู้ซื้อที่วางเงินดาวน์ไว้แล้ว ทำให้บริษัทต้องหาเงินไปเติมในบัญชีพักเพื่อประกันว่าบริษัทจะสร้างบ้านได้เสร็จ (บัญชีเอสโครว์)
.
ทางออกของบริษัทคือต้องขายทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้เป็นสภาพคล่อง จ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย และนำมาหมุนเวียนดำเนินงานต่อไป เนื่องจากทรัพย์สินของบริษัท 2.3 ล้านล้านหยวน ยังมีสินทรัพย์ที่สามารถขายได้ ทั้งที่ดินเปล่าที่ซื้อไว้ ทั้งเงินลงทุนในบริษัทต่างๆ แต่การขายทรัพย์สินในยามนี้มิใช่ทำกันได้ง่ายๆ หรือได้ราคา เพราะวิกฤติโควิด ก็ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา มีสินทรัพย์รอขายมากมาย การจะขายสินทรัพย์ให้ได้ราคาที่เหมาะสมเพื่อมาคืนหนี้จึงทำได้ยากค่ะ
.
ณ ปัจจุบัน หุ้นกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐของบริษัทมีราคาลดลงเหลือประมาณ 20% ของเงินต้น และราคาหุ้นลดจาก 17.76 เหรียญฮ่องกงเมื่อปีที่แล้ว เหลือล่าสุด 2.95 เหรียญฮ่องกง ก่อนถูกสั่งให้หยุดการซื้อขาย ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม
.
มีการคาดหวังให้ทางการจีนเข้าไปอุ้ม แต่นักวิเคราะห์ต่างคาดเดาว่า คงเป็นไปได้ยาก อาจมีการดูแลบางส่วน เช่น ผู้ซื้อบ้าน หรือผู้ถือหุ้นกู้รายย่อย แต่คงไม่ใช่ผู้ลงทุนสถาบันที่ถือหุ้นกู้เพราะชอบใจในผลตอบแทนที่ให้ไว้ค่อนข้างสูง (10-12% ต่อปี) หรือเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน
.
นอกจากนี้ เมื่อทางการจีนประกาศนโยบาย สร้างความอยู่ดีกินดี แบ่งปันความมั่งคั่งให้ถ้วนหน้าออกมาเมื่อเร็วๆนี้ ยิ่งทำให้การเข้าไปอุ้มบริษัทเอกชน เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น เพราะจะขัดกับหลักการที่ประกาศไว้
.
บริษัทคงต้องซื้อเวลาด้วยการขยายกำหนดเวลาจ่ายคืนหนี้สินต่างๆ รอขายทรัพย์สินที่มี เพื่อนำสภาพคล่องมาใช้ดำเนินการ เพื่อให้บริษัทเก็บเงินค่าขายบ้าน และนำไปใช้คืนเจ้าหนี้ต่อไป
.
คาดว่าเจ้าหนี้จะได้เงินคืน แต่จะได้คืนครบหรือไม่ ได้ดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด ต้องขึ้นอยู่กับราคาสินทรัพย์ที่จะขายได้ค่ะ
.
เบื้องต้น กรณีนี้มีสองบทเรียน
.
บทเรียนแรก “การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง” ผู้ลงทุนจึงต้องประเมินความเสี่ยงในการลงทุน จะลงทุนเพราะเห็นว่าจ่ายดอกเบี้ยในอัตราสูงอย่างเดียวไม่ได้
.
บทเรียนที่สอง กรณีนี้ชี้ให้เห็นว่า “ใหญ่เกินกว่าที่จะล้ม” หรือ Too big to fail ที่เคยใช้กันมาตลอดว่า หากนิติบุคคลใดนิติบุคคลหนึ่ง มีขนาดใหญ่มาก มีการทำธุรกรรมเกี่ยวข้อกับระบบสถาบันการเงินและผู้ลงทุนจำนวนมาก หากปล่อยให้ล้มหายตายจาก หรือเป็นอะไร ไป จะส่งผลกระทบต่อระบบ ดังนั้น จำเป็นต้องพยุงรักษาไม่ให้ล้ม ที่เคยใช้กันมาในอดีตนั้น อาจจะใช้ไม่ได้ในยุคหลังโควิดนี้ค่ะ เพราะหากอุ้ม คงต้องอุ้มกันมากมาย
.
ผู้แข็งแกร่ง ปรับตัวได้ ผู้ที่สะสมทุนไว้มาก มีความมั่นคง เหมือนต้นไม้ที่มีรากแก้วหยั่งลึก เมื่อมีพายุ ก็จะฝ่าฟันไปได้ ต้นไม้เล็กๆ ยังมีรากที่ไม่มั่นคง อาจต้องล้มหายตายจากไปบางส่วน หากฝ่าฟันพายุไปได้ในคราวนี้ ในอนาคต ก็น่าจะมีโอกาสเติบใหญ่ แข็งแรงต่อไป
.
“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” นั้นจริงนักแล
.
คงต้องติดตามกันต่อไปค่ะ
.
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นกรณีศึกษา มิได้มีความประสงค์จะเชิญชวนให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทดังกล่าว
.
บทความโดย วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ | MoneyPro
.
.

เข้าใจลูกค้า มัดใจด้วยการตลาด 5 จ.

 


จากสภาวะเศรษฐกิจในตอนนี้ การทำให้ลูกค้านั้นยอมที่จะหยิบเงินในกระเป๋าของตัวเองออกมาใช้จ่ายก็คงเป็นเรื่องยาก รวมถึงพฤติกรรมลูกค้าในตอนนี้ก็ให้ความสำคัญต่อความคุ้มค่ามากกว่าการมองเห็นคุณค่าและบริการที่ได้รับมา

.
และในรูปแบบของ New Normal นี้เองที่ทำให้พฤติกรรมของคนนั้นเปลี่ยนไป หลาย ๆ ธุรกิจจึงต้องสร้างการมองเห็น สร้างการรับรู้ และพูดคุยกับลูกค้าของตนเองเพิ่มมากขึ้น ต้องมีความสม่ำเสมอ ใส่ใจ และรวดเร็วเท่าทันต่อเหตุการณ์
.
หลักการ 5 จ จึงเป็นแนวคิดที่สามารถนำมาประยุกต์ได้ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีแนวคิดดังนี้
.
.
การจับกระแสใหม่ และสร้างเรื่องราวแบบใหม่ ในแบบของตนเอง สามารถสร้างอิทธิพลของแบรนด์ได้ในระยะยาว แม้ชื่อเสียงจะหาย แต่จะยังเป็นที่จับตามองของลูกค้าอยู่เสมอ
.
.
ต้องทำการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าให้ถูกต้อง เพื่อสร้างการรับรู้และกระตุ้นการตัดสินใจของลูกค้า
.
.
การเจาะกลุ่มเป้าหมายลูกค้า ทำให้เรามองเห็นและเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้น เช่น เข้าไปอยู่ในกลุ่ม facebook เกี่ยวกับกล้วยไม้ เพื่อจะเข้าใจลูกค้ากล้วยไม้ที่เราจะขาย
.
.
เมื่อการเข้าถึงข้อมูลในปัจจุบันมีมากมายและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การแสดงถึงความจริงใจและถูกต้องต่อลูกค้าในเรื่องราวที่สามารถพิสูจน์ความจริงได้โดยผ่านการแต่งเติมน้อยที่สุด เช่น โพสต์ IG Story , TikTok ให้เห็นถึงสินค้าของจริงและวัตถุดิบในการทำสินค้า
.
.
ความใจดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันของคนไทยนั้นเป็นเอกลักษณ์ที่ดี และสามารถต่อยอดจากสิ่งนี้ในการพัฒนาธุรกิจกิจขนาดเล็กไปควบคู่กับสังคม เช่น เราเปิดร้านขายกาแฟ เราสามารถนำเมล็ดกาแฟท้องถิ่นใกล้บ้านมาขายที่ร้านพร้อมเผยแพร่วิธีการใหม่ ๆ ในการนำเสนอ
.
การปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับยุคสมัยจะช่วยเพิ่มโอกาสในช่วงวิกฤตให้มีกำไรและเอาตัวรอดไปได้ การเรียนรู้จากลูกค้าเหมือนลูกค้านั้นเป็นครูของเรา เขาจะคอยเตือนเราเสมอในข้อผิดพลาดที่ทำให้ติดขัด ซึ่งเราก็ควรที่จะจริงใจและมีน้ำใจต่อลูกค้าจากสิ่งที่ได้รับเหล่านี้เช่นกัน
.
เครดิต

ลักษณะและการดำเนินงานของการประชาสัมพันธ์


     การประชาสัมพันธ์

เป็นการดำเนินการเพื่อสร้างทัศนคติและความสัมพันธ์ของ หน่วยงานกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง งานประชาสัมพันธ์จึงมีลักษณะและการดำเนินงาน ดังนี้
     ๑. เป็นการสื่อสารสองทาง เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์ การดำเนินงาน และประเภทของการดำเนินงาน จากหน่วยงานไปสู่ประชาชน และรับฟังความคิดเห็นหรือประชามติจากประชาชนที่สะท้อนกลับมา เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความพอใจทั้งหน่วยงานและประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
     ๒. เป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ โดยตั้งอยู่บนหลักของความจริง เพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
     ๓. เป็นการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง หวังผลในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธา และให้ความไว้วางใจแก่หน่วยงานตลอดไป ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปด้วยดี
     ๔. เป็นกิจกรรมที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนก่อนการดำเนินงาน และประเมินผลหลังการดำเนินงานเสร็จสิ้น เพื่อให้กิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นบรรลุผลตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
     ๕. เป็นการสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยกระตุ้นให้สมาชิกในหน่วยงานเกิดความภาคภูมิใจในกิจการ และสร้างความจงรักภักดี ให้เกิดขึ้นกับสมาชิก
     ๖. เป็นการสร้างชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนโดยการ ดำเนินงานที่ซื่อสัตย์สุจริต ประพฤติปฏิบัติดี ไม่มีเลศนัย และแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม


การแบ่งการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ประกอบไปด้วยงานหลัก 3 ด้านคือ
งานเผยแพร่ ดำเนิน การจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ประจำปีเพื่อกำหนดเป้าหมายแนวทางและวิธีดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละปี ดำเนินการผลิตเอกสาร เช่น หนังสือวันเกิดกรมชลประทาน วารสารข่าวชลประทาน แผ่นพับ หนังสือเล่มเล็กผลิตโปสเตอร์ จัดนิทรรศการและทำงานส่งเสริมกิจกรรมภายในของกรมชลประทานโดยแบ่งการดำเนิน งานใน 3 รูปแบบ คือ
1. การจัดทำแผนประชาสัมพันธ์ ในแต่ละปีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่จะ จัดทำแผนประชาสัมพันธ์กรมชลประทานขึ้นให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของกรมชล ประทาน โดยในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมานี้ งานจัดทำแผนประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานในเชิงรุกมากกว่าอดีตที่ผ่านมา ทำให้ภารกิจของกรมชลประทานได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เกษตรกร ประชาชนทั่วไป ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทาน ได้รับฟังข่าวสารงานด้านชลประทานต่าง ๆ อย่างทั่วถึงทุกระดับ
2. เอกสารเผยแพร่ แบ่ง เป็น


- เอกสารเผยแพร่ตามวาระ ได้แก่ หนังสือวันเกิดกรมชลประทาน ที่ผลิตออกเผยแพร่เป็นประจำ ทุกวันที่ 13 มิถุนายน ของทุกปี และวารสารข่าวชลประทาน ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ได้จัดจ้างบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อความรวดเร็วและลดภาระด้านการจัดส่งเอกสาร จำนวน 3,000 เล่มทุกเดือน โดยมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯกำกับดูแลประเด็น การนำเสนอ
 

- เอกสารเผยแพร่ทั่วไป ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ มีงานผลิตเอกสารเผยแพร่ในแต่ละปีหลายรายการ ทั้งเอกสารที่ผลิตขึ้นโดยงบประมาณของฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ เช่น แผ่นพับแนะนำโครงการชลประทานต่างๆ เอกสารเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านงานพัฒนาแหล่งน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เป็นต้น และเอกสารที่ กอง สำนัก คณะทำงานโครงการต่าง ๆ ขอความร่วมมือให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ช่วยหรือมีส่วนร่วมในการผลิตให้ โดยใช้งบประมาณของเจ้าของงาน ซึ่งมีทั้งเอกสารเป็นเล่ม แผ่นพับ โปสเตอร์ แผ่นปลิว รายงานประจำปี ไดอารี่ แฟ้ม บันทึก เป็นต้น

3. นิทรรศการ ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ฯ รับผิดชอบการจัดนิทรรศการ ซึ่งแบ่งกิจกรรมที่ดำเนินการได้ 2 ลักษณะ ดังนี้


- แบบจัดเอง เป็นกิจกรรมที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปจัดนิทรรศการเอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่น นิทรรศการวันข้าราชการพลเรือน นิทรรศการวันเกษตรแห่งชาติ เป็นต้น
- แบบให้ยืมอุปกรณ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ได้จัดทำนิทรรศการเกี่ยวกับงานชลประทานไว้สำหรับให้บริการแก่หน่วยงานทั้ง ภายในและภายนอกองค์กร ที่มาขอยืมไปจัดแสดง ซึ่งในทุกปีมีผู้มาขอใช้บริการจำนวนมาก เป็นเหตุให้ชุดนิทรรศการดังกล่าวรวมทั้งเอกสารเผยแพร่มีไม่เพียงพอที่จะสนอง ความต้องการได้อย่างทั่วถึง
งานประชาสัมพันธ์ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของกรมชลประทาน โดยการเผยแพร่นโยบาย ผลงานกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในภาวะวิกฤตและภาวะปกติ โดยแบ่งการดำเนินงาน ใน 3 รูปแบบ คือ

1. การประชาสัมพันธ์ปกตเป็นการจัดทำข่าว ภาพข่าวต่าง ๆ ส่งให้สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เผยแพร่ การจัดทำเว็บไซต์ข่าวประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นภารกิจประจำที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ดำเนินการอยู่สม่ำเสมอ หรืออาจจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น แล้วเชิญสื่อมวลชนมาร่วมงานแถลงข่าว จัดสื่อมวลชนสัญจร จัดกิจกรรมต่าง ๆ ประสานสื่อมวลชนสัมภาษณ์ผู้บริหารในโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น การสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการบริหารจัดการน้ำของ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเทิดพระเกียรติในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น นอกจากนี้ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ยังมีรายการวิทยุอีก 2 รายการ ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ เป็นผู้ดำเนินรายการเอง
 
2. การประชาสัมพันธ์โดยวิธีจัดจ้าง ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงให้ความ ร่วมมือสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์เชิงรุกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสรรงบประมาณให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯดำเนินการจัด จ้างบริษัทเอกชนมืออาชีพผลิตและเผยแพร่ภารกิจของกรมชลประทานผ่านสื่อ โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ จัดสื่อมวลชนสัญจร จัดกิจกรรมเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เช่น จัดกิจกรรมปลูกป่า จัดครอบครัว Walk Rally สัมผัสชีวิตชาวเขื่อน เป็นต้น ซึ่งการจัดจ้างบริษัทเอกชนช่วยให้การบริหารข้อมูลข่าวสารเป็นไปด้วยความรวด เร็ว อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังประชาชนในภาวะ วิกฤติได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย

3. งานประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นงานประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับสำนักชลประทาน และโครงการชลประทานในส่วนภูมิภาค เป็นการเผยแพร่งานให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกพื้นที่ได้รับรู้ ภารกิจของแต่ละสำนัก โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์จะเข้าไปร่วมวางแผนและจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ตาม ความต้องการ เช่น สารคดีและเอกสารแนะนำโครงการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้งานประชาสัมพันธ์ของทุกโครงการมีมาตรฐานในระดับเดียวกัน
งานผลิตสื่อและโสตทัศนูปกรณ์ แบ่งภารกิจออกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. งานภาพนิ่งและวิดีโอ ในการดำเนินงานตามภารกิจต่างๆ ของกรมชลประทาน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ จะส่งช่างภาพไปบันทึกเหตุการณ์เป็นภาพนิ่งและถ่ายวิดิโอเหตุการณ์นั้น ๆ ไว้ เพื่อประกอบการจัดทำข่าว ส่งสื่อมวลชน ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ จัดทำเอกสาร จัดนิทรรศการ เป็นต้น โดยจะจัดเก็บเป็นสต็อคภาพไว้ในงานห้องสมุดภาพต่อไป

2. งานห้องสมุดภาพ ในการจัดเก็บภาพนิ่งที่ถ่ายแล้วจะจัดทำเป็นปรู๊ฟฟิมพ์ขาวดำ แล้วทำบัญชีภาพแบ่งต่างสำนักชลประทานต่าง ๆ และส่วนกลาง สำหรับให้บริการบุคคลภายในและภายนอกเพื่อนำไปใช้งานได้ โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอัดขยายภาพส่วนห้องสมุดวิดีโอ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนจัดเก็บสต๊อคภาพวิดีโอที่ถ่ายมาไม่ผ่านการตัดต่อ และส่วนจัดเก็บวิดีทัศน์สารคดีต่าง ๆที่สามารถเผยแพร่ได้ โดยผู้สนใจจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกรมชลประทาน สามารถขอยืมหรือทำสำเนาไปใช้งานได้

หน้าที่รับผิดชอบของงานประชาสัมพันธ์

      1. เผยแพร่ประชา สัมพันธ์ข่าวสาร กิจการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไปยังกลุ่มเป้าหมายภายนอกและประชาชนทั่วไป และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายนอกองค์กรที่เป็นประโยชน์แก่บุคลากรและนักศึกษาใน มหาวิทยาลัย
      2.    เสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับบุคลากรและนักศึกษาและ มหาวิทยาลัย
กับกลุ่มเป้าหมายภาย นอก  ตลอดจนองค์กรและประชาชนทั่วไป
      3. สร้างภาพพจน์ที่ดีของมหาวิทยาลัยให้กลุ่มเป้าหมายองค์กร ประชาชนภายนอกมีทัศนคติที่ดีต่อมหาวิทยาลัย เกิดความศรัทธาและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการรวมทั้งการป้องกันและรักษาชื่อเสียง ของมหาวิทยาลัย
   4.   สนับสนุนการประชาสัมพันธ์ของรัฐและหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย



ภาระงานในงานประชาสัมพันธ์
ด้านการผลิต และการใช้ สื่อในการประชา สัมพันธ์

                  สื่อ บุคคล  เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสื่อหนึ่ง  ในขณะเดียวกันก็อาจจะกลายเป็นสื่อที่สามารถส่งผลในทางลบได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะสื่อดังกล่าวผูกมัดกับตัวบุคคลเป็นหลัก ดังนั้นการพิจารณา ใช้สื่อบุคคลย่อมมีความยุ่งยากพอสมควร สำหรับการใช้ สื่อบุคคลของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  นับว่าใช้ได้ครบทุกรูปแบบ ได้แก่
            การสนทนา  ซึ่งใช้ทั้งการสนทนาอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งส่วนมากการสนทนาอย่างเป็นทางการใช้สำหรับการประชา สัมพันธ์ภายใน  อาทิ    การสั่งการ การรายงาน การปรึกษา หารือ ส่วนการสนทนา อย่างไม่เป็นทางการ จะใช้ทั้งภายในและภายนอก เช่น การใช้ สื่อบุคคลผ่านโทรศัพท์ การจัด เจ้าหน้าที่ให้บริการติดต่อสอบถาม
            การอภิปราย   ยังไม่สามารถใช้ได้เต็มที่ เนื่องจากการจัดการ อภิปรายมีการเตรียมการที่ ความยุ่งยาก
            การบรรยาย ทุกหน่วยงานมีการจัด อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการบริการวิชาการ รวมทั้งการเรียนการสอน นักศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการบรรยายจากวิทยากรเพื่อเพิ่มพูนความรู้
            การประชุม  ใช้ทั้งหน่วยงานภายใน และภายนอก  เนื่องจากเป็นหน่วยงานระดับกรม จึงต้องมีการร่วม มือในการดำเนินกิจการ ต่างๆ กับหน่วยงานภาย นอก
            การสัมมนา และฝึกอบรม เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่เป็นแหล่งวิชาการ และต้องให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ดังนั้นจะใช้ทั้งภายในหน่วยงาน และการประชุม ร่วมกับหน่วยงานภายนอก
สื่อมวลชน
                  หนังสือ พิมพ์   ข่าวสารของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ระดับคุณภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวรับสมัครงาน และผลงานวิจัย สำหรับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นได้รับความร่วมมือในการเผยแพร่ข่าวสารเป็นประจำ
            นิตยสาร  ได้รับการเผย แพร่ข่าวสารจากนิตยสาร 2 ประเภท คือ นิตยสารสมัครงาน และนิตยสารการศึกษา
            วิทยุ กระจายเสียง มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจ้างเหมาหน่วยงานเอกชน เพื่อประชา สัมพันธ์ ผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง
            วิทยุ โทรทัศน์ โดยส่วนใหญ่เผยแพร่ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)   ซึ่งดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ จัดทำรายการข่าวโทรทัศน์เองแล้วส่งให้สถานีเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และทางสถานีจัดส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการทำข่าว  สำหรับการเผย แพร่ข่าวทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 5 7 9 ไทยทีบีเอส และเคเบิลทีวีจังหวัดอุบลราชธานี  ส่วนใหญ่ข่าวสารที่ได้รับการเผยแพร่จะเป็นข่าวพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ข่าวผลงานวิจัย และกิจกรรมบริการวิชาการและกิจกรรมที่มีประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก  โดยผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดมาทำข่าวเอง

สื่อ เอกสารและสิ่งพิมพ์ วารสาร

            วารสาร ภายใน ได้แก่ ข่าว ม.อุบลฯ ผลิตข่าวความเคลื่อนไหว สาระความรู้ต่างๆ เป็นประจำทุก 10 วัน
            วารสาร ภายนอก  ได้แก่ วารสารประชาสัมพันธ์ สาร มอบ. เดิมจัดทำเป็นประจำทุก 10 วัน แต่เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องบางประการ จึงได้เปลี่ยนเป็นจัดทำทุกเดือน โดยบรรจุเนื้อหาสาระที่เป็นกิจกรรม ข่าวสารประชา สัมพันธ์ การบริการวิชาการ และผลงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นวารสารขนาดกระดาษ เอ 4 ความหนา 20 หน้า  รวมปก
            จดหมาย จะเป็นจดหมายเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และแนบประกาศ โปสเตอร์ หรือแผ่นปลิวต่างๆ
            แผ่น พับ เป็นเอกสารที่ทุกหน่วยงานมีการจัดทำ เพื่อประชา สัมพันธ์หน่วยงานสำหรับแจกให้กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง
            หนังสือ แต่ละหน่วยงานมีการจัดทำปีละ 1 ครั้ง อาทิ สูจิบัตร ผลการดำเนินงานประจำปี  คู่มือนักศึกษา  คู่มือการใช้เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น
            โปสเตอร์ จัดทำเพื่อการโฆษณา เชิญชวนการรับ สมัครนักศึกษา การแข่ง ขัน และการประกวด เป็นต้น
    สื่อโสต ทัศน์ 
            การจัดทำ เว็บไซต์งานประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ “ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี” การบันทึก ภาพข่าวกิจกรรมและจัดเก็บสถิติ   เขียนบทและควบคุมการผลิตวีดิทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัยรวมทั้งการให้บริการและจัดเก็บ โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ
           
สื่อโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์
                       -   การจัด ทำป้ายโฆษณาติดตั้งในมหาวิทยาลัยและตามแหล่งชุมชนในจังหวัดอุบล
ราชธานี   รวมทั้งในโอกาสที่เดินทางออกไปให้บริการแก่สังคม
         -   การสนับ สนุนสื่อมวลชน ในโอกาสวันสื่อมวลชนและวันสำคัญต่างๆ
          -   การจัด ทำของที่ระลึก
            ธุรการ และเผยแพร่ 
                  -   หนังสือโต้ตอบภายใน
            -   หนังสือโต้ตอบภายนอก
            -   หนังสือเวียน
            -   รับ-ส่งและจัดเก็บเอกสาร
            -   จัดส่งสื่อประชา สัมพันธ์
            -   การจัดการ ข้อมูลและบริการข้อมูล
            -   การเบิก จ่ายเงินหมวดค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
            -   การจัด ซื้อจัดจ้างพัสดุ
            -   การเบิกจ่ายพัสดุ
            -   ดูแลงานธุรการ ภายในหน่วยงาน งานการ เงิน และพัสดุ ตามที่ได้รับมอบหมาย
            -   เป็นพนักงานโทรศัพท์ในการให้บริการข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้มาติดต่อราชการ
                          ทั้งภายในและภายนอก
            -   ทำหน้าที่ช่วยงานนักประชา สัมพันธ์ตามที่ได้รับมอบหมาย