Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

บุคลิกภาพ

บุคลิกภาพ ของแต่ละคนจะเป็นสิ่งประจำตัวของคนคนนั้น ที่ทำให้แตกต่างจาก คนอื่น และมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จะประกอบกัน ทำให้คนแต่ละคนมี บุคลิกภาพ เป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นผลมาจาก การทำงานประสานกันของ สมอง ที่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรม และประสบการณ์ ที่ได้รับจาก สิ่งแวดล้อม
บุคลิกภาพ มีความสำคัญต่อชีวิตเราอย่างยิ่ง ทำให้เรารู้สึกถึงความสำคัญของตัวเอง เราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่รู้ว่าขณะนี้ตัวเราเป็นคนอย่างไร และเราจะไม่มีทางเข้าใจว่าขณะนี้เราเป็นคนอย่างไร ถ้าไม่รู้ว่าเราควรจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุด เราจะต้องค้นพบตัวเอง และเป็นตัวของตัวเอง

คำว่า “บุคลิกภาพ” (personality) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลที่บ่งบอกความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ต่างๆ กันดังต่อไปนี้
เออร์เนส อาร์.ฮิลการ์ด (Hilgard 1962:447) กล่าวว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคล และการแสดงออกของพฤติกรรม ซึ่งชี้ให้เห็นความเป็น ปัจเจกบุคคล ในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลักษณะที่ส่งผลสู่การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้แก่ ความรู้สึกนับถือตนเอง ความสามารถ แรงจูงใจ ปฏิกิริยาในการเกิดอารมณ์ และลักษณะนิสัยที่สะสมจากประสบการณ์ชีวิต
ฟิลลิป จี.ซิมบาร์โด และฟลอยด์ แอล.รูช (Zimbardo and Ruch 1980:292) อธิบายว่า บุคลิกภาพ เป็นผลรวมของลักษณะ เชิงจิตวิทยาของบุคคลแต่ละคน มีผลต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหลากหลายของบุคคลนั้น ทั้งส่วนที่เป็นลักษณะภายนอก ที่สังเกตได้ง่ายและพฤติกรรมภายในที่สังเกตได้ยาก ลักษณะที่หลากหลายดังกล่าว ส่งผลให้บุคคลแสดงออก ต่างกันใน แต่ละสถานการณ์และช่วงเวลา
ริชาร์ด ซี.บุทซิน และคณะ (Bootzin and others 1991:502) ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ เป็นลักษณะนิสัยและรูปแบบของความคิด ความรู้สึก และการประพฤติปฏิบัติของบุคคลแต่ละคน
อัลชลี แจ่มเจริญ (2530:163) ให้ความหมายว่า บุคลิกภาพ หมายถึงลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งหมด ที่แสดงออกมาปรากฎ ให้คนอื่นได้รู้ได้เห็น ซึ่งแตกต่างกันเพราะภาวะสิ่งแวดล้อมที่สร้างตัวบุคคลนั้นแตกต่างกันประการ หนึ่ง และพันธุกรรม ที่แต่ละบุคคล ได้มาก็แตกต่างกัน ไปอีกประการหนึ่ง
จากคำจำกัดความและความหมายของ “บุคลิกภาพ” ที่กล่าวมา สรุปได้ว่า บุคลิกภาพ คือตัวบุคคลโดยส่วนรวม ทั้งลักษณะทางกาย ซึ่งสังเกตได้ง่าย อันได้แก่รูปร่างหน้าตากิริยาท่าทาง น้ำเสียง คำพูด ความสามารถทางสมอง ทักษะการทำกิจกรรมต่างๆ และลักษณะทางจิต ซึ่งสังเกตได้ค่อนข้างยาก ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ค่านิยม ความสนใจ ความมุ่งหวัง อุดมคติ เป้าหมาย และความสามารถในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ลักษณะดังกล่าวมีที่มาจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน ส่งผลสู่ความสามารถในการปรับตัว ต่อสิ่งแวดล้อม และความแตกต่างระหว่างบุคคล
จากความหมายของ บุคลิกภาพ ดังกล่าว เมื่อนำมาวิเคราะห์ให้สัมพันธ์กับงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินงาน ทั้งด้านการบริหาร การผลิต การจำหน่าย และการให้บริการ โดยพิจารณา บุคลิกภาพ ที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน จะพบว่าทุกลักษณะของ บุคลิกภาพ มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน โดยมีอิทธิพลมากบ้างน้อยบ้าง จึงอาจให้ความหมายของ บุคลิกภาพ เชิงอุตสาหกรรมได้ว่า เป็นลักษณะส่วนรวมของบุคคลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดผลดีต่อการดำเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งในแง่ของการบริหาร การผลิต การจำหน่าย และการให้บริการในงานอุตสาหกรรม
ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพ อาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และ ความสามารถในการรู้ตัวเอง (Self Awareness) ถือเป็น ความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะ รู้ตัวเอง หรือ รู้พฤติกรรมของเราเอง ได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่า เรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับ สิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะ ควบคุมพฤติกรรม ของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถ ที่จะจัดการและ ควบคุมชีวิต เรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Self Efficacy)
คนที่มีประสิทธิภาพ ส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจใน การมีพฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำ จะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัวและประสิทธิภาพส่วนตัวน ี้เองจะรวมกันเป็น บุคลิกภาพ ขึ้น
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมาก ได้อธิบายถึงความหมายของคำว่า "อีโก้ (Ego)" ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ บุคลิกภาพ ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ แต่การตัดสินใจขึ้นอยู่กับอำนาจภายในร่างกาย หรือความต้องการ ความปรารถนาของคนคนนั้น ซึ่งอาจจะเป็นความเห็นแก่ตัว (id) กับความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ความจริงจากสิ่งแวดล้อมภายนอก จริยธรรม ความเป็นเหตุเป็นผล (superego) และเมื่อมีการชั่งน้ำหนักระหว่างปัจจัย 2 ปัจจัยนี้แล้วก็จะเกิดการตัดสินใจขึ้น
คำถามคือ บุคลิกภาพ เกิดจากอะไร มาจากไหน นักทำนาย บุคลิกภาพ ฟรานซ์ โจเซฟ กอลล์ (Franze Joseph Gall) ได้ให้ทฤษฎีว่า รอยหยักบนพื้นผิวสมองนั่นเองเป็นตัวกำหนด บุคลิกภาพ เพราะส่วนนี้ทำให้เราตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม มีผลต่อวิธีคิด ความรู้สึกและการกระทำของเรา

1 ความหมายและกฎเกณฑ์ของพัฒนาการ

1.1 พัฒนาการ (Development)
คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงตามวัยของมนุษย์ ที่เป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม ในลักษณะบันไดวนไม่สิ้นสุด ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนตาย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีความสัมพันธ์กันทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาต่าง ๆ โดยทั่วไป
การกล่าวถึง พัฒนาการมนุษย์นั้น จะเน้นที่การศึกษาถึง การเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และศักยภาพต่าง ๆ ของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก การผสมผสาน ระหว่างการเจริญเติบโตไปสู่การมี วุฒิภาวะ และ การเรียนรู้
1.2 วุฒิภาวะ (Maturation)
วุฒิภาวะ คือ กระบวนการของการเจริญเติบโต หรือการเปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดย ธรรมชาติ อย่างมีระบบระเบียบ โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก ตัวอย่างเช่นความพร้อมของกล้ามเนื้อ การทำงานของต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดพฤติกรรม ขึ้นเมื่อถึงเวลาหนึ่ง ๆ
พัฒนาการชีวิตมนุษย์ส่วนหนึ่งขึ้นกับ วุฒิภาวะ พฤติกรรมพื้นฐานของชีวิต เช่น การนั่ง เดิน คลาน การเปล่งเสียงอ้อแอ้ เป็นวุฒิภาวะทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมที่สลับซับซ้อนมักจะต้องใช้การเรียนรู้ หรือการฝึกฝนร่วมด้วย เช่น การพูดด้วยภาษาที่สละสลวย หรือการฝึกขี่จักรยาน การฝึกขับรถ เป็นต้น
ตัวอย่างการศึกษาวุฒิภาวะ ที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่ง คือการศึกษาเด็กชนเผ่า โฮปิ (Hopi) โดย Dennis (1940) ซึ่งเด็กชนเผ่านี้ ถูกเลี้ยง โดยการผูกติดกับไม้กระดานทั้งวัน ตั้งแต่อายุประมาณ 7 เดือน โดยไม่ได้มีการฝึกนั่ง คลาน หรือเดินเลย แต่หลังจากนั้นอีก 6 เดือน เมื่อปล่อยเด็กจากไม้กระดาน และได้รับการฝึกให้ นั่ง คลาน หรือ เดิน ทั้งนี้มีข้อเปรียบเทียบ พบว่า เด็กเผ่านี้เดินได้หลังจากเด็กยุโรป ประมาณ 1 เดือน ในขณะที่เด็กอัฟริกันเดินได้ก่อนเด็กยุโรป ประมาณ 1 เดือน
Dennis สรุปว่าการที่เด็กโฮปิ เดินได้โดยไม่ต้องฝึกฝน และเด็กชนชาติอื่น ๆ เดินได้ในเวลาใกล้เคียงกัน เป็นผลมาจาก วุฒิภาวะ ของเด็กนั่นเอง
1.3 การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีผลมาจากประสบการณ์ หรือการฝึกหัด การเรียนรู้เป็นสิ่งจำเป็นในการปรับตัว เพื่อความอยู่รอด ของมนุษย์ พัฒนาการของมนุษย์ต้องอาศัย การเรียนรู้มาก และพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ เป็นผลมาจาก การเรียนรู้มากกว่าวุฒิภาวะ
อย่างไรก็ตามทั้ง วุฒิภาวะ และ การเรียนรู้ ต่างก็มีความจำเป็นต่อพัฒนาการทั้งสิ้น การเรียนรู้ต่างๆ จะดำเนินไปไม่ได้ หรือไม่เกิดผลดีเท่าที่ควร ถ้ายังไม่ถึงวุฒิภาวะ แต่ถ้าถึงวุฒิภาวะของเด็กแล้วจะทำให้การเรียนรู้นั้นๆ จะได้ผลยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่นการเรียนภาษา พบว่าการที่ให้เด็กเรียน ภาษาที่สอง ตั้งแต่การใช้ภาษาแรกของเด็ก ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจดีพอนั้น ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่หากถึงวุฒิภาวะแล้ว ไม่มีการฝึกหัด หรือได้เรียนรู้ในสิ่งนั้น ๆ แล้วค่อยไปฝึกหัดในภายหลัง ก็อาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เช่นการฝึกว่ายน้ำ ถีบจักรยาน หรือฝึกใช้ กล้ามเนื้อ ตอนโตมากแล้ว อาจไม่ได้ผลดีเท่าตอนเป็นเด็ก การเรียนรู้ใด ๆ จะได้ผลดียิ่งขึ้น จึงต้องให้เด็กมีวุฒิภาวะ หรือความพร้อม เสียก่อน จะทำให้การเรียนรู้นั้น ๆ ได้ผลดียิ่งขึ้น
1.4 กฎเกณฑ์ของพัฒนาการมนุษย
พัฒนาการมนุษย์ โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายคลึงกันซึ่งเป็นไปตามแบบแผนและกฎเกณฑ์พอที่จะสรุปได้ดังนี้
  1. พัฒนาการเกิดขึ้นอย่างมีทิศทาง (Development is Directional) พัฒนาการเกิดขึ้น อย่างมี ระเบียบแบบแผน มีทิศทางจาก ไม่ซับซ้อนไปสู่ ที่ซับซ้อนกว่า จากทารกพัฒนาไปสู่วัยเด็ก วัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ในที่สุด พัฒนาจากศีรษะ ไปปลายเท้า และจาก แกนกลางของลำตัวไปสู่ส่วนย่อยดังจะเห็นว่าเด็กจะสามารถชันคอได้ก่อน และสามารถเคลื่อนไหวลำตัวก่อนมือและนิ้ว
  2. การใช้ส่วนย่อยและการรวมกันของส่วนย่อยเป็นกิจกรรมใหม่ขึ้นมา (Development is Cummulative) ในการพัฒนาการของมนุษย์จะพัฒนาจากขั้นแรกก่อนแล้วรวมเป็นกิจกรรมขั้นต่อไป เช่น คืบก่อนคลาน นั่งก่อนยืน และยืนก่อนเดิน เป็นต้น
  3. พัฒนาการเป็นสิ่งต่อเนื่องกัน (Development is Continuous) หมายถึงพัฒนาการเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาค่อย ๆ เปลี่ยน ตัวอย่างเช่น การพูดพัฒนามาจากการเปล่งเสียงอ้อแอ้ การงอกของฟัน งอกมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์แต่ปรากฏชัดเจนตอนอายุประมาณ 6 เดือน การใช้ชีวิตในวัยหนุ่มสาวส่งผลต่อสุขภาพในวัยชรา เป็นต้น
  4. พัฒนาการของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนโตเร็ว บางคนโตช้า บางคนพูดเร็ว บางคนอาจเดินได้เร็ว เป็นต้น
  5. พัฒนาการในแต่ละส่วนของร่างกายของเด็กแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน เด็กคนหนึ่งอาจเติบโตเร็วมากในช่วง 2 ขวบแรก จากนั้นจะลดลงและเจริญเติบโตอีกครั้งหนึ่งในช่วงวัยรุ่นแล้วจะเติบโตช้าจน ถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา
  6. พัฒนาการมีลักษณะเป็นองค์รวม (Development is Holistic) พัฒนาการไม่ได้เป็นไปอย่างแยกส่วน แต่จะพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และผลของพัฒนาการก็จะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของด้านต่าง ๆ ร่วมกัน
บุคลิกภาพ (Personality) ความหมายของบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Personality มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ Persona ( Per + Sonare) ซึ่งหมายถึง Mask ที่แปลว่า หน้ากากที่ตัวละคร ใช้สวมใส่ใน การเล่นเป็น บทบาทแตกต่างกันไปตามที่ได้รับ
ออลพอร์ต (Allport 1955) บุคลิกภาพ หมายถึง การจัดและรวบรวมเกี่ยวกับระบบทางร่างกายและจิตใจภายในตัวของแต่ละบุคคล แต่จะมีการเปลี่ยนแปรอยู่เสมอ ยังผลให้แต่ละคนมีการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใคร
ฮิลการ์ด (Hilgard) ได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพว่า หมายถึง ลักษณะส่วนรวมของบุคคล แต่ละคนอันเป็นแนวทาง ในการปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละคนจะมีรูปแบบของ การแสดงออกทางพฤติกรรมต่าง ๆ กัน
เบอร์นาร์ด (Bernard) ได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพว่า หมายถึง ผลรวมทั้งหมดของท่าทางรูปร่างลักษณะทางกาย พฤติกรรมที่แสดงออก แนวโน้มการกระทำ ขอบเขตความสามารถทั้งที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในและที่แสดงออกมาให้เห็น
ฮาร์ดแมน (Hartman) ได้ให้ความหมายของบุคลิกภาพว่า หมายถึง ส่วนรวมทั้งหมดที่บุคคลแสดงออกโดยกริยาอาการ ความนึกคิด อารมณ์ นิสัยใจคอ ความสนใจ การติดต่อกับผู้อื่น ตลอดจนรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย และความสามารถในการอยู่รวมกับบุคคลอื่น
โดยสรุป บุคลิกภาพ หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล แสดงออกโดยพฤติกรรม ที่บุคคลนั้นมีต่อสิ่งแวดล้อม ที่ตนกำลังเผชิญอยู่ และพฤติกรรมนี้จะคงเส้นคงวาพอสมควร ลักษณะของแบบแผนพฤติกรรมและแบบแผนการคิด ที่เป็นตัวกำหนด ลักษณะเฉพาะของบุคคล ในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม มนุษย์แต่ละคนมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนกันไปทุกอย่าง แม้กระทั่งพี่น้อง หรือฝาแฝดก็ตาม ทั้งนี้เพราะมนุษย์แต่ละคนมีความพิเศษและความเป็นหนึ่งในตัวของแต่ละคน (unique)

โดยทั่วไปบุคลิกภาพของมนุษย์จะแสดงลักษณะของบุคคลนั้น ๆ ในด้านต่อไปนี้
1. ความมีเอกลักษณ์เฉพาะตน (Individuality) ลักษณะที่ทำให้คนนั้นแตกต่างไปจากคนอื่น ๆ เช่น พูดจาโผงผาง, โอบอ้อมอารี หรือรักสนุก ฯลฯ
2. ความคงเส้นคงวา (Consistency) ของพฤติกรรม เป็นแนวโน้มที่บุคคลมักแสดงพฤติกรรม ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งทุกครั้งหรือบ่อยครั้ง เช่น บางคนเวลาโกรธจะเงียบไม่ยอมพูดจา หรือบางคนโกรธแล้วชอบกระทืบเท้า เป็นต้น

นักทฤษฎีและทฤษฎี : บุคลิกภาพคืออะไร

ฮิปโปเครตีส ,ชาวกรีก, ศตวรรษที่ 5 ก่อน คริสต์ศักราช
บุคลิกภาพมี 4 แบบคือ ฉุนเฉียว (อารมณ์ร้อน) รื่นเริง (มั่นใจ) เศร้าสร้อย (อารมณ์แปรปรวน) และเฉื่อยเนือย (ตอบสนองช้า) อารมณ์เหล่านี้เกิดจากธาตุน้ำในร่างกายของเราตามลำดับคือ น้ำเหลือง เลือด น้ำดีดำ และเสมหะ
ซิกมันด์ ฟรอยด์, ชาวออสเตรีย, 1856-1939
บุคลิกภาพเกิดจากพลัง 3 อย่าง ได้แก่ อิด (id) ส่วนของสัญชาติญาณที่อยู่ใน จิตใต้สำนึก ซูเปอร์อีโก้ (superego) ส่วนของวัฒนธรรมที่ดีงาม และส่วนยับยั้งชั่งใจ และอีโก้ (ego) ส่วนของ”ตัวฉัน” ซึ่งจะประสานอิดกับซูเปอร์อีโก้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัว พลังทั้งสามนี้ จะขัดแย้งกันตลอดเวลา เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์ได้รับการตอบสนอง ด้านความหิวอย่างเต็มที่ อิดจะกระตุ้น ความปรารถนาทางเพศ และ ความก้าวร้าว ทฤษฏีนี้เชื่อว่า เด็กเล็กมีความรู้สึกทางเพศกับพ่อแม่ ที่มีเพศตรงข้ามกับตน ขณะเดียวกันก็เกลียด และ กลัวพ่อหรือแม่ เพศเดียวกับตน เด็กชายที่ไม่สามารถหาทางออกให้พลังนี้อย่างถูกต้องอาจเป็นทุกข์จากปมอิดิปุ ส (จากอีดีปุสวีรบุรุษในตำนานกรีก ซึ่งได้สังหารบิดา และแต่งานกับมารดาโดยไม่รู้มาก่อน) เด็กผู้หญิงที่มีปัญหานี้อาจเกิดจากปมอิเล็กตรา (เรื่องจากตำนานกรีก เมื่อกษัตริย์อากาเมมนอนผู้เป็นพระบิดาถูกมเหสีที่นอกพระทัยปลงพระชนม์ อิเล็กตราก็แก้แค้น โดยชักนำเชษฐาให้สังหารพระมารดา)
อัลเฟรด แอดเลอร์, ชาวออสเตรีย, 1870-1937
บุคลิกภาพคือการดิ้นรนแสวงหาปมเด่น ซึ่งสำคัญยิ่งกว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้า พื้นฐานที่อยู่ในจิตใต้สำนึกตามทฤษฎีของฟรอยด์ แอดเลอร์เชื่อว่าบุคคลที่ไม่สามารถเอาชนะความรู้สึกต่ำต้อยในวัยเด็กจะกลาย เป็นคนมีปมด้อย ส่วนผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะจะชดเชยปมด้อยของตนด้วยการทำสิ่งที่ดีงามมากกว่า การแสวงหาอำนาจส่วนตน
คาร์ล กุสตาฟ จุง, ชาวสวิส, 1875-1961
บุคลิกภาพไม่ได้ถูกกำหนด มาตั้งแต่วัยเด็กอย่างที่ฟรอยด์คิด แต่เปลี่ยนแปลงได้ ตลอดชีวิต จิตใต้สำนึก ไม่ได้ถูกครอบงำด้วย แรงปรารถนาทางเพศ เท่านั้น แต่ยังประกอบด้วยปมต่าง ๆ หรือกลุ่มของความทรงจำและความนึกคิด ซึ่งเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
เราพยายาม จะผสมผสานสิ่งเหล่านี้เข้าเป็นบุคลิกเฉพาะของตัวเอง จิตใต้สำนึก นั้นไม่ได้หมายถึง ความทรงจำของเราอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึง สิ่งที่เป็นลักษณะร่วมของมนุษยชาติ ซึ่งหมายถึง “จิตใต้สำนึกอันเป็นจิตวิญญาณในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามโครงสร้างทางสมองของแต่ละบุคคล” บุคลิกภาพของคนเราอาจแบ่งได้เป็นสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ บุคลิกภาพแบบเก็บตัว และ แบบชอบสังคม
คาเรน ฮอร์เนย์ ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน, 1885-1952
บุคลิกภาพพื้นฐานหล่อหลอมมาจาก ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากกว่าแรงขับ ทางชีวภาพตามแนวคิดของฟรอยด์ ความสับสนทางบุคลิกภาพ มีสาเหตุมาจาก การที่คนคนนั้น ใช้ชีวิตโดยมี ความวิตกกังวลเป็นพื้นฐาน ซึ่งมีต้นตอมาจาก “ความรู้สึกถูกทอดทิ้ง และ ช่วยตัวเองไม่ได้ ในโลกที่ไร้ความปรานีในช่วงวัยเด็ก”
กอร์ดอน อัลพอร์ต, ชาวอเมริกัน, 1897-1967
บุคลิกภาพเกิดจาก การผสมผสานนิสัยต่าง ๆ ของบุคคล อัลพอร์ตได้รวบรวม คำศัพท์อังกฤษซึ่ง อธิบายลักษณะนิสัยไว้มากถึง 18,000 คำ
อีริค เอช, อีริคสัน, ชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน, 1902-1994
บุคลิกภาพ เป็นผลจากการพัฒนาการของชีวิตทั้งหมด 8 ช่วงวัยตั้งแต่วัยทารกจน ถึงวัยชรา โดยบุคคลจะมีข้อขัดแย้งประจำวัย และหาทางแก้ไขไปใน แต่ละช่วงวัย วิธีแก้ข้อขัดแย้งของแต่ละคนจะกำหนดบุคลิกภาพของคนคนนั้น ตัวอย่างเช่น ข้อขัดแย้ง ประจำวันของวัยรุ่นคือ “ฉันคือใคร” (วิกฤตการณ์เอกลักษณ์หรือการแสวงหาตนเอง ถ้าแก้ข้อขัดแย้งนี้ได้ จะทำให้เขาค้นพบ เอกลักษณ์ของตัวเอง)
บี. เอฟ. สกินเนอร์, ชาวอเมริกัน, 1904-1990
บุคลิกภาพเป็นผลของพลังงานภายนอกที่สามารถประเมินได้ ดังนั้น วิธีการที่เรา คิดและกระทำ จึงเปลี่ยนแปลงไป ตามสิ่งแวดล้อมที่เราควบคุม ในหนังสือชื่อ Walden Two สกินเนอร์ฝันถึงดินแดนในอุดมคติ ที่ซึ่ง บุคลิกภาพ ได้รับการหล่อหลอมมาจาก การส่งเสริมพฤติกรรม ที่พึงปรารถนาอย่างเป็นระบบ
อับราฮัม เอช. มาสโลว์, ชาวอเมริกัน, 1908-1970
เรา “มีเจตจำนงที่จะมีสุขภาพดี มีแรงกระตุ้นที่จะเติบโตหรือทำให้ศักยภาพของ เราเป็นจริงขึ้นมา” เราบรรลุศักยภาพเต็มเปี่ยมของเราได้ด้วยการรู้จักตัวตนของเรา ซึ่งรวมถึง ประสบการณ์ปิติสุขอันยากจะอธิบาย
personality

องค์ประกอบของบุคลิกภาพของบุคคล

บุคลิกภาพของบุคคลประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
  1. ด้านกายภาพ หมายถึง รูปร่างหน้าตา ทรวดทรง ท่าทาง การแต่งกาย การเดิน เป็นต้น บุคลิกภาพ
    ด้านกายภาพ นี้เป็นสิ่งที่ผู้อื่นมองเห็นได้
  2. ด้านวาจา หมายถึง การใช้ถ้อยคำ น้ำเสียง ซึ่งผู้อื่นจะรับรู้ได้โดยการฟัง ลักษณะต่าง ๆ สะท้อน บุคลิกภาพด้านนี้เช่น การพูดไม่เข้าหูคน การพูดจากระโชกโฮกฮาก การพูดจาน่าฟัง เป็นต้น บุคลิกภาพทางวาจาที่ดีย่อมหมายถึงการพูดจาด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล น่าฟังเป็นมิตร และได้สาระ
  3. ด้านสติปัญญา หมายถึง ความสามารถทางการคิดแก้ปัญหา ไหวพริบ ความสามารถที่จะมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ได้อย่างเหมาะสม คิดเป็น รู้จักคิด คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี แสดงออกหรือสนองตอบผู้อื่นได้อย่าง “ทันกัน” และ “ทันกาล”
  4. ด้านอารมณ์ หมายถึง การมีอารมณ์ดี คงเส้นคงวา ไม่วู่วาม เอาแต่อารมณ์ ฉุนเฉียวโกรธง่าย หรือบางคนมีอารมณ์ร่าเริง มากกว่าอารมณ์อื่น หรือบางคน เครียด เศร้า ขุ่นมัว หม่นหมองอยู่เสมอ
  5. ด้านความสนใจและเจตคติ ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไปบางคนไม่สนใจการเมือง ซึ่งบางคนมีความสนใจ หลากหลายไม่สนใจเพียง เรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
  6. ด้านการปรับตัว มีผลต่อลักษณะของบุคลิกภาพ ถ้าใช้แบบที่ดีมีพฤติกรรมที่เหมาะสม สังคม ยอมรับ จะอยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ตรงกันข้ามถ้าปรับตัวไม่ดีวางตัวในสังคมไม่เหมาะสม ย่อมมี ผลเสียต่อบุคลิกภาพด้านอื่น ๆ ไปด้วย
อิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อบุคลิกภาพ
ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กย่อมมี การถ่ายทอดลักษณะ และมาตรฐานต่าง ๆ ในสังคมให้แก่เด็ก โดยกระบวนการเสริมแรงและ การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมการแสดงออกต่าง ๆ ของบิดามารดาหรือผู้ที่เลี้ยงดู มากกว่าที่จะทำตามคำสอน ดังนั้น ทัศนคติและการเป็นตัวแบบของบิดามารดาตลอดจนการถือตนตามแบบของเด็ก มีผลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ของเด็กเป็นอย่างยิ่ง (สุภาพรรณ โคตรจรัส, 2542) หากพ่อแม่มีการอบรมสั่งสอนที่ไม่เหมาะสม ก็จะทำให้เด็กมีความสับสน ไม่เข้าใจ และไม่สามารถพัฒนา ตัวแบบ (Image) ให้เกิดขึ้นในใจตนเองได้
สมคิด อิสระวัฒน์ (2542) พบว่าการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวที่เลี้ยงดูแบบให้ความรัก ความใกล้ชิด ความอบอุ่น สอนให้เป็นคนที่มีเหตุผล ฝึกลูกให้ช่วยตนเอง ให้ตัดสินใจเอง โดยพ่อแม่จะเป็นผู้ให้คำแนะนำหรือที่ปรึกษานั้น เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็ก ในทำนองเดียวกัน การเลี้ยงดูของพ่อแม่ด้วยท่าที หรือ เจตคติ (attitude) ไม่รักหรือรังเกียจ (Rejection) และการรักและปกป้องคุ้มครองเด็กมากเกินไป ( Overprotection) นั้นมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก ที่แตกต่างกัน เช่น
1. การเลี้ยงดูที่ทอดทิ้ง กระทำทารุณ หรือประนามอย่างไม่สมควร หรือเข้มงวด ดุ ลงโทษเสมอ ๆ จะส่งผลต่อพฤติกรรมของลูก จะเป็นคนขี้กลัว กังวล มีปมด้อยยอมให้คนทั่วไปเอารัดเอาเปรียบ เพื่อใฝ่หาความรักที่ไม่เคยได้รับ หรือมีพฤติกรรมในทางตรงกันข้ามคือ ก้าวร้าว ไม่เป็นมิตรต่อบุคคลอื่น และไม่ยอมลงให้ใครเมื่อโตขึ้น
2. แสดงความรักลูกไม่เท่ากัน จะทำให้เด็กเกิดความอิจฉาแก่งแย่งชิงดีกันระหว่างพี่น้อง เด็กที่รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก มักจะกังวล อารมณ์หวั่นไหวสมาธิเสื่อม เป็นเด็กดื้อ เจ้าอารมณ์ และเต็มไปด้วยความรู้สึกชิงชังคนอื่น
3. แสดงความห่วงใย และตามใจเกินขอบเขต วุ่นวาย ปรนนิบัติ คอยระมัดระวังเกินไป เด็กจะไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่รับผิดชอบตนเองเท่าที่ควร บุคลิกภาพไม่เจริญสมวัยหรือมีวุฒิภาวะต่ำ
4. แสดงความโอบอุ้มคุ้มครองมากเกินไปอาจเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นคนเปราะ ไม่มีความอดทน มีความโน้มเอียงที่จะเป็นโรคจิต โรคประสาทได้พอ ๆ กับเด็กที่ขาดความรัก
พวงทอง นิลยิ้ม (2537) พบว่า ผู้ใหญ่ในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการให้การเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และ ถ่ายทอดวัฒนธรรม ให้กับลูกหลาน ของตนเอง โดยมี การเล่นและของเล่นของเด็กเป็นสื่อกลางที่ใช้ในการถ่ายทอด ได้รับการปลูกฝังจนพัฒนาเป็นบุคลิกภาพของเด็ก คือ ความสนุกสนานร่าเริง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นความมีเมตตา การแข่งขันตาม กติกาของสังคม และ ความขยันอดทน
การอบรมเลี้ยงดู นั้น พ่อแม่ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความสำคัญในการปลูกฝังบุคลิกลักษณะต่าง ๆ ให้แก่เด็ก ตามแบบแผนของพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม สิ่งสำคัญที่สุดคือปฎิสัมพันธ์ (Interaction) กับคนและสิ่งแวดล้อม ประสบการณ์แรกที่เด็กสังเกตและรับไว้จะมาจากครอบครัว ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นความเชื่อ ทัศนคติและบุคลิกภาพ
ซิมมอนด์ (อ้างในศิริพร หลิมศิริวงค์ 2511: 25) ศึกษาวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อบุคคลิกภาพของเด็ก พบว่า
1. พ่อแม่ที่ปล่อยปละละเลย จะทำให้บุตรมีลักษณะเป็นคนก้าวร้าว เจ้าคิดเจ้าแค้น ชอบพูดปด หนีโรงเรียน ลักเล็กขโมยน้อย
2. พ่อแม่ที่ประคบประหงมบุตร จนเกินไป บุตรจะมีลักษณะเป็นคนที่ไม่ให้ความร่วมมือ พึ่งตนเองไม่ได้ ไม่มีความมั่นใจในตนเอง
3. พ่อแม่ที่มีอำนาจเหนือบุตร บุตรจะเป็นคนเจ้าระเบียบ สุภาพเรียบร้อย อยู่ในโอวาท สามารถปรับตัวเข้ากับผู้ใหญ่ได้ดี สงบเสงี่ยม ขาดความริเริ่ม
4. พ่อแม่ที่ยอมจำนนต่อบุตร บุตรจะขาดความรับผิดชอบ ไม่อยู่ในโอวาท เห็นแก่ตัว ดื้อดึง มักทำอะไรตามชอบใจ
ในสังคมไทยนั้นมีความแตกต่างกันตามขั้นทางสังคมของบุคคล ซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ (รัชนีกร เศรษโฐ, 2523:137 - 139) คือ
1. ครอบครัวชาวไร่ชาวนา การอบรมเลี้ยงดูไม่มีพิธีรีตรองพิถีพิถันเท่าไร ทำตามความสะดวกและตามใจเด็ก คือเมื่อเด็กร้องก็จะตอบสนอง และเป็นไปตามสถานการณ์ เช่น การหย่านม ถ้าเป็นลูกคนเดียวก็จะดูดนมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีน้อง การอบรมกริยามารยาทและความรอบรู้มักสอนตามวัฒนธรรม โดยให้ความรู้โดยตรง และอยู่ในวงจำกัดของสังคม ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม ทัศนคติและค่านิยม
2. ครอบครัวเจ้านายผู้ดีเก่า การอบรมสั่งสอน จะเข้มงวดพิถีพิถัน โดยเฉพาะกริยามารยาทของผู้ดี
การให้การศึกษาก็มักจะให้กับลูกชายเพื่อสืบตระกูลมีความทนุถนอมเด็กมาก ถ้าเป็นหญิงมักจะถูกเก็บไว้ให้อยู่แต่ในบ้าน การศึกษาก็ได้รับน้อยกว่าชาย ส่วนมากจะให้เรียนรู้เกี่ยวกับการบ้าน การเรือน
3. ครอบครัวชั้นกลาง ครอบครัวในระดับนี้ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของครัวไทยสมัยใหม่
การอบรมมักจะเน้นเรื่องความสามารถทางการศึกษาและการทำงานของเด็ก มีทักษะในการแข่งขันมากกว่า 2 พวกแรก การอบรมจะเพิ่มความพิถีพิถันมากขึ้น
ดวงเดือน พันธุมนาวิน ได้แบ่งการอบรมเลี้ยงดูออกเป็น 5 แบบ (2521:42 - 43)
1. แบบมุ่งอนาคต หมายถึงการอบรมเลี้ยงดูที่สร้างนิสัย การบังคับตนเอง ให้อดได้รอได้ หรือเลือกที่จะไม่รับประโยชน์เล็กน้อยในทันที แต่จะรอรับประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าหรือสำคัญกว่า ที่จะตามมาภายหลัง
2. แบบรักสนับสนุน หมายถึง ลักษณะการปฏิบัติของมารดา ในลักษณะของการแสดงความสนิทสนม รักใคร่ ชื่นชม สนใจทุกข์สุข ช่วยแก้ปัญหาให้ลูก
3. แบบควบคุม หมายถึง ลักษณะแบบปฏิบัติของบิดามารดาในลักษณะการออกคำสั่ง และควบคุมการกระทำในเรื่องต่าง ๆ อยู่เสมอ โดยไม่ยอมปล่อยให้ลูกเป็นตัวของตัวของตัวเอง
4. แบบใช้เหตุผล หมายถึงลักษณะการปฏิบัติของบิดามารดา โดยการอธิบายเหตุผลในขณะที่สนับสนุน และห้ามปรามการกระทำของลูก
5. แบบลงโทษทางกายและจิต หมายถึงลักษณะการปฏิบัติของบิดามารดา ในลักษณะที่ลงโทษลูกด้วยการทำให้เจ็บตัว หรือการติเตียนไม่ให้ความรัก ตัดสิทธิ์ต่าง ๆ
นอกจากนี้ ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2520, 26) ได้แบ่งบิดามารดาออกเป็น 4 ประเภท ตาม ทัศนคติของพ่อแม่ ในการอบรมเลี้ยงดูบุตร คือ
1. ประเภทรักจนเหลิง หมายถึง การเลี้ยงดูที่ให้เด็กเป็นศูนย์กลาง เด็กจะได้รับความรักและการตามใจอย่างมากจนเกินไป ไม่มีความรับผิดชอบหรือหน้าที่ที่จะปฏิบัติภายในบ้าน ได้รับของ และพาไปเที่ยวสนุกสนาน โดยไม่มีเหตุผลอันควร
2. ประเภทเข้มงวด หมายถึง การเลี้ยงดูหรือคาดหวังให้เด็กปฏิบัติตามอย่างแคร่งครัด
หากไม่ปฏิบัติจะถูกลงโทษ การกระทำมีกฎเกณฑ์ลงโทษอย่างยุติธรรม คาดหวังที่จะให้เด็กมีความสามารถเกินธรรมชาติ
3. ประเภทละทิ้งและปฏิเสธ หมายถึง การเลี้ยงดูทำตนเป็นศัตรูอย่างเปิดเผยกับเด็กแสดงความโกรธ เกลียดในรูปของการควบคุม และลงโทษซ้ำพ่อแม่ยังรู้สึกว่าลูกของตนเป็นผู้แก้ไขให้ดีไม่ได้แล้ว
4. ประเภททะนุถนอมแบบไข่ในหิน หมายถึง การเลี้ยงดูแบบคอยสอดส่องลูกตลอดเวลา โดยมิให้เสี่ยงเลย พ่อแม่จะทำให้ลูกทุกอย่าง แม้จะโตแล้ว
การอบรมเลี้ยงดูที่มีผลต่อบุคลิกภาพของเด็กไทยนั้น ได้มีผู้ทำการวิจัยไว้มากมาย ดังนี้
ชูศรี หลักเพชร (2511) พบว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงกว่า การเข้มงวดกวดขัน
รัชนี กิติพรชัย (2515) พบว่า เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขัน จะทำให้มีความคิดริเริ่มต่ำ
ถั้น แพรเพชร (2517) พบว่านักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีความคิดริเริ่มสูงกว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบอื่น
วิกรม กมลสุโกศล (2518) พบว่า เด็กที่ได้รับการบอบรมเลี้ยงดูแบบถูกทอดทิ้ง และแบบคุ้มครองมากเกินไป มีความวิตกกังวลสูงกว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย
จำเนียร คันธเสวี (อ้างใน วิกรม กมลศุโกศล 2518:11) กล่าวว่า การเลี้ยงดูแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป โดยการให้ความรักและเอาใจใส่มากเกินไป จะทำให้เด็กมีลักษณะเป็นผู้ตาม มักมีปัญหาที่ยุ่งยาก ไม่มีความสามารถในการปรับตัว เป็นคนเห็นแก่ตัว ซุกซนผิดปกติโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของผู้อื่น สนุกโดยการแกล้งผู้อื่นไม่กลัวใคร ชอบฝ่าฝืน และมักจะก้าวร้าว
ประพันธ์ สุทธาวาส (2519) พบว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง และแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป มีความก้าวร้าวมากกว่าเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ส่วนเด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบทอดทิ้งและแบบให้ความคุ้มครองมากเกินไป มีความก้าวร้าวไม่ต่างกัน แต่แบบประชาธิปไตยเด็กชายมีแนวโน้มก้าวร้าวมากกว่าเด็กหญิง
ประพันธ์ สุทธาวาส (2519) พบว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีความก้าวร้าวน้อยกว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง
สมาน กำเนิด (2520) วิจัยพบว่า เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ปรับตัวได้ดีกว่า เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดู แบบปล่อยปละละเลย
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2521, 105) กล่าวว่า ผู้ที่ถูกอบรมเลี้ยงแบบควบคุมมาก จะเป็นผู้ที่มีคะแนนความเอื่อเฟื้อสูง แต่จะมีลักษณะความเป็นผู้นำต่ำ มีวินัยทางสังคมต่ำ มีความสามารถควบคุมตนเองน้อย
วรรณงาม รุ่งพิสุทธิพงษ์ (2522) ศึกษาพบว่า การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษาของบิดามารดาและอาชีพมีความสัมพันธ์กับสติปัญญา
สัมพันธ์ บุญเกิด (2522) วิจัยพบว่า บิดามารดาที่มีอายุ ระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจสถานภาพการทำงานแตกต่างกัน จะมีความเชื่อมั่นในการอบรมเลี้ยงดูแตกต่างกัน
บัณฑิตา ศักดิ์อุดม (2523) พบว่า เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย จะมีวินัยในตนเองสูง
สำหรับการอมรมเลี้ยงดูตามฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวนั้น ได้มีผู้วิจัยพบว่าในครอบครัวระดับสูง บิดามารดาจะฝึกสัมฤทธิ์ผลให้แก่เด็กมาก เพราะต้องการให้เด็กประสบความสำเร็จในชีวิตเช่นเดียวกับตน (เกื้อกูล ทาสิทธิ์, 2513)
ครอบครัวในระดับกลาง ได้รับการอบรมเลี้ยงดูให้รู้จักพึ่งตนเองบิดามารดาจะใช้วิธีการอ่อนโยน มีการลงโทษน้อย ทำให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง กล้าแสดงออก มีลักษณะของผู้นำ มั่นใจในตนเองสูง จากการศึกษาของราศรี เทพหัสดิน ณ อยุธยา (2515) พบว่า เด็กที่มาจากครอบครัวระดับกลางมีลักษณะดังนี้
มีความทะเยอทะยานสูงกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวระดับต่ำ
เด็กชายมีความทะเยอทะยานมากกว่าเด็กหญิง
มีความสนใจตนเองมากกว่าผู้อื่น
ต้องการเห็นความเจริญของสังคม มากกว่าการเข้าไปช่วยทำให้สังคมนั้นเจริญขึ้น
ครอบครัวระดับต่ำ มีการฝึกให้เด็กมีการอดได้รอได้ สูงมาก เรียนไม่เก่ง ขลาดกลัว ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนมีปมด้อย ไม่กล้าแสดงออก อยากเปลี่ยนแปลงบุคคลิกภาพของตนให้ดีขึ้น
งานวิจัยที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่นั้น มัญชรี บุนนาค (2514) ได้วิจัยเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดาในเมืองใหญ่กับต่างจังหวัด พบว่า เด็กในกรุงเทพฯ มีความสามารถเหนือเด็กในต่างจังหวัดในด้านต่อไปนี้
1. ความสามารถทางสติปัญญา
2. ความมั่นใจในตนเอง
3. ความสามารถในการบังคับตนเอง
ส่วนเด็กต่างจังหวัดเหนือกว่าเด็กในกรุงเทพฯ ก็คือสภาพทางอารมณ์
ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2521) ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ปกครองในการให้การอบรมเลี้ยงดูดังนี้
1. ไม่เลี้ยงดูแบบควบคุมมาก ควรใช้วิธีการที่นุ่มนวล และลดปริมาณการควบคุมเด็กลงบ้าง เพื่อให้เด็กไม่รู้สึกว่า ตนถูกควบคุมจนเกินไป เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจสภาพแวดล้อมของตนได้กว้างขวางขึ้น ฝึกให้ตัดสินใจปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง ภายใต้การแนะนำของผู้ปกครอง มิใช่ปล่อยไม่ควบคุมเลย เพราะจะทำให้เด็กขาดความเชื่อฟัง ไม่รับผิดชอบ ขาดสมาธิ จึงควรเลี้ยงดู ที่ใช้การควบคุมทีมีปริมาณปานกลาง จะให้ผลดีที่สุด
2. การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย มีผลต่อความสมบูรณ์ทางสุขภาพจิตของเด็ก ซึ่งใช้การอบรมแบบใช้เหตุผล โดยเฉพาะ เหตุผลทางจริยธรรม จะมีลักษณะมุ่งอนาคตสูงและมีสุขภาพจิตดี ควรทำให้เด็กรู้สึกว่าตนได้รับความรักมาก โดยทำให้เด็กทราบว่า ในการเลี้ยงดูนั้น ตนใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ และควรลงโทษเด็กโตด้วยการลงโทษทางจิตมากกว่าการลงโทษทางกาย 

ทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นคำอธิบายของ นักจิตวิทยา เกี่ยวกับ บุคลิกภาพ อย่างมีระบบระเบียบ ซึ่งมีหลายทฤษฎีด้วยกัน เนื่องจาก บุคลิกภาพ มีลักษณะซับซ้อน หลายแง่หลายมุม เจ้าของทฤษฎีบุคลิกภาพ แต่ละทฤษฎีต่าง ก็อธิบาย บุคลิกภาพ ในแง่มุมที่ตนสนใจ และเห็นว่าสำคัญไม่มีทฤษฎีใด อธิบายได้ครบถ้วนทั้งหมด ดังนั้น ถ้าต้องการความเข้าใจเรื่อง บุคลิกภาพ โดยกว้างขวาง ก็ต้องศึกษา ทฤษฎีบุคลิกภาพ หลายๆ ทฤษฎี หรือถ้าต้องการความเข้าใจ บุคลิกภาพ บางด้านอย่างลึกซึ้ง เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในงานบางงานโดยเฉพาะ ก็ต้องเลือกศึกษาบางทฤษฎีโดยละเอียด ให้สอดคล้องกับ ความต้องการ อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้เรียนจิตวิทยา ความเข้าใจเรื่อง ทฤษฎีบุคลิกภาพ จะช่วยให้มองเห็นทั้ง องค์ประกอบของบุคลิกภาพ ประเภทของบุคลิกภาพ หรือ ประเภทของคนลักษณะต่างๆ รวมทั้ง ที่มาของบุคลิกภาพ และ การปรับเปลี่ยนพัฒนาบุคลิกภาพ ทำให้เกิด ความเข้าใจบุคคล ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และเป็นแนวทางใน การสร้างเสริมตนเอง และ ผู้ร่วมปฏิบัติงานธุรกิจ ให้มี บุคลิกภาพ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับ งานของตน ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทฤษฎีลักษณะบุคคลของอัลพอร์ท(Allport’s Trait Theory)
ทฤษฎีบุคลิกภาพ ที่ว่าด้วยลักษณะของบุคคลซึ่งกล่าวถึงกันทั่วไป ได้แก่ ทฤษฎีของกอร์ดอล อัลพอร์ท นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งเขามีความเชื่อว่า บุคลิกภาพ ของบุคคลมีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวและมีความคงที่พอสมควร เป็นอย่างไรก็มักจะอยู่อย่างนั้น และส่งผลสู่การแสดงตัวในภาวะต่างๆ ของบุคคล ทฤษฎีนี้แบ่งประเภทของ บุคลิกภาพ ตามลักษณะร่างกายของบุคคลเป็น 3 พวกคือ
  1. พวกมีลักษณะเด่น พวกนี้มักมีร่างกายสูงใหญ่ หรือหน้าตาดี หรือมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว ซึ่งอาจเป็นน้ำเสียง ท่าทาง การพูด การเคลื่อนไหว หรือแม้กระทั่งท่าทีปฏิกิริยาต่อผู้อื่น
  2. พวกที่มีลักษณะด้อย พวกนี้มักมีรูปร่างเตี้ยหรือตัวเล็ก หน้าตาไม่ดี หรือมีลักษณะบางประการที่เป็นปมด้อยของตน
  3. พวกที่มีลักษณะกลาง พวกนี้มักมีร่างกายธรรมดาแบบคนส่วนใหญ่ทั่วไป ลักษณะต่างๆ เป็นกลางๆ ไม่เด่น ไม่ด้อย แต่ก็ไม่มีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจ มักผสมผสานกลมกลืนไปกับคนส่วนใหญ่
ลักษณะทั้ง 3 ประการดังกล่าว มีผลต่อวิธีการแสดงออกของพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น พวกมีปมด้อย ขี้อาย เมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ต้องปรากฎตัวในงานใหญ่ หรือต้องกล่าวในที่ประชุม หรือพบคนแปลกหน้า พวกนี้มักหลีกเลี่ยง วิตกกังวล ทำอะไรเงอะงะผิดพลาด และแยกตัวเอง แต่ถ้าเป็นพวกมีลักษณะเด่น ก็จะเชื่อมั่นในตนเอง แสดงออกได้โดยเหมาะสม สง่าผ่าเผย สิ่งเหล่านี้มักส่งผลให้ทำอะไรได้สำเร็จ หรือเป็นที่ยอมรับทั่วไป สำหรับผู้บริหารหากมีลักษณะเด่นประจำตัวมักเป็นปัจจัยให้งานดีขึ้น แต่ถ้าขาดลักษณะเด่นก็ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ ศรัทธา หรือหาแนวทางฝึกฝนพัฒนาตนให้มีความคล่องตัว ให้เหมาะสมสอดคล้องกับงานตามบทบาทหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในงานที่ทำ

ทฤษฎีพลังบุคลิกภาพของฟรอยด์ (Freud’s Psychodynamic Theory)
ซิกมันด์ ฟรอยด์ เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา เขาให้ความสนใจเรื่องพัฒนาการทาง บุคลิกภาพ และพลังแห่ง บุคลิกภาพ ของคนเรา ทฤษฎีบุคลิกภาพ ของซิมันด์ฟรอยด์ อธิบายได้เป็น 2 แบบ คือ อธิบายในลักษณะของ ทฤษฎีพัฒนาการ และ ทฤษฎีพลังแห่งบุคลิกภาพ การอธิบายบุคลิกภาพในแง่ พลังบุคลิกภาพ ฟรอยด์ อธิบายในรูปของลักษณะของจิต และ โครงสร้างของจิต เกี่ยวกับลักษณะของจิต ฟรอยด์อธิบายว่า จิตของคนเรามี 3 ลักษณะ คือ
  1. จิตรู้สำนึก (conscious) เป็นสภาพที่บุคคลรู้ตัวว่าเป็นใคร ทำอะไร อยู่ที่ไหน ฯลฯ เป็นจิตส่วนที่ควบคุมให้แสดงพฤติกรรม ตามหลักเหตุผลและสิ่งผลักดันภายนอกตัว
  2. จิตไร้สำนึก (unconscious) เป็นสภาพที่บุคคลไม่รู้ตัว บางทีเพราะลืม เพราะเก็บกด หรือเพราะไม่ตระหนักในตนว่ามีสิ่งนั้นอยู่ เช่น ไม่รู้ตัวว่าอิจฉาเพื่อน หรือลืมว่าตนเองเกลียดบางอย่าง
  3. จิตใต้สำนึก (subconscious) เป็นสภาพจิตกึ่งรู้สำนึก ถ้าเข้ามาในห้วงนึกก็จะตระหนักได้ แต่ถ้าไม่คิดถึงจิตส่วนนั้น จะเหมือนกับ ไม่มีตนเอง เช่น อาจกังวลในบางเรื่อง กลัวในบางสิ่ง โกรธคนบางคน
จิตทั้ง 3 ลักษณะดังกล่าว ชนิดไหนมีอำนาจเหนือกว่า บุคคลนั้นๆ ก็มักจะแสดงพฤติกรรมหนักไปทางจิตส่วนนั้น และจิตไร้สำนึกดูจะมีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมมากกว่าจิตส่วนอื่น ส่วนจะแสดงพฤติกรรมออกไปในลักษณะใด มักขึ้นกับโครงสร้างของจิต ซึ่งมี 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ อิด (id) อีโก้ (ego) และซุปเปอร์อีโก้ (super ego) คำว่า “อิด” เป็นพื้นฐานดั้งเดิมของบุคคล เช่น ความอยาก ตัณหา ความต้องการ ความป่าเถื่อน อันถือเป็นธรรมชาติแท้ๆ ยังไม่ได้ขัดเกลา “อีโก้” เป็นพลังส่วนที่จะพยายาม หาทางตอบสนอง ความต้องการของอิด และ “ซุปเปอร์อีโก้” เป็นพลังที่คอยควบคุม อีโก้ ให้อีโก้ หาหนทางที่เหมาะสมที่สุดในการสนองความต้องการของ อิด โดยเหนี่ยวรั้ง ให้ทำอะไรอยู่ในกรอบประเพณี ถูกเหตุถูกผลให้คำนึงถึงความผิดชอบชั่วดี คุณธรรม และสังคมที่แวดล้อม
ความเข้าใจ บุคลิกภาพ ตามทฤษฎีพลังบุคลิกภาพนี้ ช่วยให้ผู้บริหารเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจเพื่อนร่วมงานได้ในหลายลักษณะ เป็นแนวทางให้รู้จักควบคุมประคับประคองตนเองให้มีสติ ยั้งคิด ไม่อยู่ไต้อำนาจครอบงำของธรรมชาติแท้ๆ ที่ยังมิได้ขัดเกลามากไป ซึ่งถ้าทำได้ ก็จัดเป็นส่วนหนึ้งของ การพัฒนาบุคลิกภาพ และ พัฒนาตน ให้พร้อมต่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นักจิตวิทยาชาวอังกฤษอีกท่านหนึ่งชื่อ สจ๊วต ไดมอนด์ (Stuart Dimond) บอกว่า บุคลิกภาพ เป็นหน้าที่และการทำงานของสมอง ซึ่งเหมือนกับทฤษฎีของ ฮานส์ ไอเซนก์(Hans Eysenck's theory) ที่ว่า บุคลิกภาพ ถูกกำหนดด้วยพันธุกรรม เหมือนกับ ลายนิ้วมือที่จะมีลายต่าง ๆ หรือ รอยหยักในสมองก็จะถูกกำหนดโดย พันธุกรรมเช่นกัน
บุคลิกภาพ โดยทั่วไปของคนเรา ตามทฤษฎีของไดมอนด์จะมี 8 ประเภทด้วยกัน
ประเภทแรก คือ พวกที่ชอบมอง ชอบดู (Visualist)
ประเภทที่ 2 คือ พวกชอบฟัง (Audist)
ประเภทที่ 3 คือ พวกที่ชอบยั่วยวน (Sexist)
ประเภทที่ 4 คือ พวกชอบมีกิจกรรมอยู่ตลอดเวลา (Motorist)
ประเภทที่ 5 คือ พวกที่ชอบพูด ชำนาญเรื่องภาษา (Linguist)
ประเภทที่ 6 คือ พวกที่ชอบเกี่ยวกับรูปร่าง จินตนาการ ภาพพจน์ (Spacist)
ประเภทที่ 7 คือ พวกที่ชอบแสดงความรู้สึก พวกมีอารมณ์หลงใหล (Emotionist) และ
ประเภทที่ 8 คือ พวกก้าวร้าว พวกที่ชอบประสานงา ชอบทะเลาะ (Aggressist)

ในขณะที่ทฤษฎีของแมคเคร (McCrae's theory) และทฤษฎีของคอสตา (Costa's theory) ให้คำนิยามของ บุคลิกภาพ ต่าง ๆ ดังนี้ คือ
กลุ่มที่ 1 เป็นพวกประสาท กังวลตลอดเวลา ไม่มีความมั่นใจ เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นคนรู้สึกผิดบ่อย ๆ (Neuroticism)
กลุ่มที่ 2 เป็นพวกที่ชอบพูดชอบคุย ชอบสังคม รักสนุก มีอารมณ์รักใคร่ง่าย ๆ (Extraversion)
กลุ่มที่ 3 เป็นพวกที่กล้า ชอบแสดงออก มีจินตนาการ ภาพพจน์ (Openness)
กลุ่มที่ 4 เป็นพวกที่รู้จักเห็นอกเห็นใจ ดูอบอุ่น น่าไว้ใจ ให้ความร่วมมือ (Agreeboldness) และ
กลุ่มที่ 5 เป็นพวกที่เชื่อใจได้ ทำอะไรมีจุดมุ่งหมาย มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ (Conscientiousness)
จอห์น บริกก์ส (John Briggs) บอกว่าความคิดสร้างสรรค์จริง ๆ แล้ว คือ ความรู้สึกที่เพ้อฝัน และยังชี้อีกว่าคนที่เราเรียกว่าอัจฉริยะ หรือ จีเนียส (genius) ซึ่งมาจากคำละติน แปลว่า วิญญาณ (spirit) ก็คือ คนที่รู้จักความสามารถของตัวเอง และสามารถนำ ความสามารถของตัวเองไปสู่วิสัยทัศน์และการปฏิบัติได้ เป็นคนยืดหยุ่น ใจกว้าง และมีความต้านทานต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีได้
มีคำกล่าวไว้ว่า บุคคลที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะมีคุณสมบัติ 2 อย่างอยู่ในตัวเอง คือ จะเป็นคนค่อนข้างเงียบ ๆ ค่อนข้างล้าสมัย และอนุรักษ์นิยม ในขณะเดียวกันจะเป็นคนที่บ้าบิ่นมากกว่าคนทั่วไป อย่างไรก็ตามข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัด
โดยสรุป พันธุกรรม สิ่งแวดล้อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนา บุคลิกภาพ รวมถึงความสามารถพิเศษของเรา สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ของ บุคลิกภาพ ที่ดี คือ ความสามารถที่จะเอาข้อมูลทุกอย่างที่มีอยู่มาช่วยในการตัดสินใจ และช่วยให้แสดงออกได้อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม
ที่มา: http://www.novabizz.com




การพัฒนาบุคลิกภาพ

   บุคลิกภาพ  คือ  ลักษณะท่าทางซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ทั้งทางร่างกาย  จิตใจ  และความรู้สึกนึกคิด  ที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจ  ฉะนั้น  การที่บุคคลจะได้รับการยอมรับนับถือ  การสนับสนุน  ความไว้วางใจ  และความประทับใจจากผู้อื่นนั้น  ก็ควรที่จะแสดงบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมให้ผู้อื่นเห็น  เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง

การโฆษณา

การโฆษณา หมายถึงรูปแบบการให้ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า บริการหรือความคิด โดยไม่ใช้บุคคลและต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อจูงใจโดยหวังผลทางด้านยอดขาย และสามารถระบุผู้เป็นเจ้าของชิ้นงานโฆษณานั้นได้

ประเภทของการโฆษณา
1. จัดตามประเภทกลุ่มเป้าหมาย (By Target Audience) แบ่งออกได้ดังนี้
 1.1 การโฆษณาที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Advertising)
 1.2 การโฆษณาที่มุ่งสู่หน่วยธุรกิจ (Business Advertising)
2. จัดตามประเภทอาณาบริเวณทางภูมิศาสตร์ (By Geographic)
 2.1 การโฆษณาที่มุ่งต่างประเทศ (International Advertising)
 2.2 การโฆษณาระดับชาติ (National Advertising)
 2.3 การโฆษณาในเขตใดเขตหนึ่ง (Regional Advertising)
 2.4 การโฆษณาระดับท้องถิ่น (Local Advertising)
3. จัดตามประเภทสื่อ (By Medium) 3.1 ทางโทรทัศน์
 3.2 ทางวิทยุ
 3.3 ทางนิตยสาร
 3.4 โดยใช้จดหมายตรง
 3.5 นอกสถานที่
4. จัดตามประเภทเนื้อหา หรือ จุดมุ่งหมาย (By Content or Purpose) 4.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์กับการโฆษณาสถาบัน
 (Product Versus Institutional Advertising)
 4.2 การโฆษณาเพื่อหวังผลทางการค้ากับการโฆษณาที่ไม่หวังผลทางการค้า
 (Commercial Versus Noncommercial Advertising)
 4.3 การโฆษณาให้เกิดกระทำกับการโฆษณาให้เกิดการรับรู้
 (Action Versus Awareness Advertising)

การตัดสินใจที่สำคัญในกระบวนการโฆษณา
  1. การตัดสินใจเกี่ยวกับตลาดเป้าหมาย หรือผู้ฟัง (Market) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ผู้ฟัง ผู้ชม
  2. การตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา
     2.1 เพื่อแจ้งข่าวสาร (To Inform)
     2.2 เพื่อจูงใจ (To Persuade)
     2.3 เพื่อเตือนความจำ (To Remind)
  3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งงบประมาณการโฆษณา
  4. การตัดสินใจสร้างสรรงานโฆษณา
  5. การตัดสินใจเลือกสื่อโฆษณา ได้แก่ สื่อโฆษณา โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมายตรง สื่อโฆษณานอกสถานที่
  6. การตัดสินใจการวิจัยและวัดผลการโฆษณา

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)
หมายถึง การจูงใจโดยเสนอคุณค่าพิเศษแก่ผู้บริโภค คนกลาง หรือ หน่วยการขาย เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ในทันที นอกเหนือจากกิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ
1. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer Promotion)
 1.1 การแจกคูปอง (Coupons)
 1.2 การลดราคา (Price Off)
 1.3 การรับประกันให้เงินคืน (Refund)
 1.4 การคืนเงิน (Rabates)
 1.5 การให้ของแถม (Premiums)
 1.6 การแจกตัวอย่างสินค้า (Sampling)
 1.7 การเสนอขายโดยรวมผลิตภัณฑ์ (Combination Offers)
 1.8 การแข่งขัน (Contest) และการชิงรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค (Sweeptakes)
 1.9 การจัดแสดงสินค้า ณ จุดซื้อ (Point of Purchase Display)
 1.10 แสตมป์การค้าและแผนการต่อเนื่อง (Trading Stamp and Continuity Plan)
2. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลาง (Trade or Dealer Promotion) 2.1 ข้อตกลงการค้า (Trade deals)
 2.2 ส่วนลด (Discount)
 2.3 ส่วนยอมให้ (Allowances)
 2.4 การโฆษณาร่วมกัน (Cooperative Advertising)
 2.5 การแถมตัวอย่างแก่คนกลาง (Dealer Free Goods)
 2.6 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
3. การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่พนักงานขาย (Sales Forces Promotion) 3.1 การแข่งขันทางการขาย (Sales Contest)
 3.2 การฝึกอบรมการขาย (Sales Training)
 3.3 การมอบอุปกรณ์ช่วยขาย (Selling Aids)
 3.4 การกำหนดโควต้าการขาย (Sales Quota)
 3.5 การให้สิ่งจูงใจจากการหาลูกค้าใหม่ (New Customer Incentives)

การประชาสัมพันธ์
หมายถึง ความพยายามที่มีการวางแผน โดยกิจการหนึ่งเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ ให้เกิดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง วิธีการประชาสัมพันธ์ที่นิยมใช้มีดังนี้
  1. การใช้สิ่งพิมพ์ (Publication)
  2. การใช้เหตุการณ์พิเศษ (Events)
  3. การให้ข่าว (News)
  4. การกล่าวสุนทรพจน์ (Speeches)
  5. การให้บริการชุมชนและสังคม (Public and Social Services Activities)
  6. การใช้สื่อเฉพาะ (Identify Media)

ที่มา : http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/admin/admin09/UntitledFrameset-total.htm

นักลงทุน

ความหมายการลงทุน
      คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น

      การลงทุนส่วนบุคคล

      ทำไมบุคคลจึงต้องลงทุน (Why Invest)

      โดยปกติรายได้ที่บุคคลได้รับจะถูกจัดสรรออกไปเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ ส่วนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่งเก็บออมไว้สำหรับใช้จ่ายในวันข้างหน้า

      การใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของบุคคลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ ได้ แต่ถ้าสามารถจัดสรรค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมให้มีเงินเหลือใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ที่จะมีเงินออมเก็บไว้สำหรับความจำเป็นในวันข้างหน้าได้มาก ขึ้น

      การที่คนเราเก็บออมก็เพราะได้เปรียบเทียบแล้วว่า เงินที่เก็บออมไว้เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้าจะให้ประโยชน์คุณค่าหรือความพอ ใจสูงสุดแก่เขามากกว่าจะเอามาใช้เสียในวันนี้

      ทำอย่างไรจึงจะให้เงินออมที่อุตส่าห์สะสมไว้เพิ่มพูนค่าและก่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของสิ่งสำคัญก็คือ คนเราต้องรู้จัก “การลงทุน “ (Investments) การลงทุนเป็นการนำเอาทรัพย์สินที่บุคคลมีอยู่ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ ซึ่งจะให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในช่วงเวลานั้น

      การลงทุนแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

      การลงทุนในสินทรัพย์ทีมีตัวตนเห็นประโยชน์จากการใช้ได้อย่างชัดเจน กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่เห็นประโยชน์การใช้ได้โดยชัดเจน (Tangible and intangible investment) การลงทุนซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ซื้อเพชรพลอยของมีค่า

      ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เราลงทุนเป็นเจ้าของไว้โดยตรงได้ อย่างเต็มที่ที่เรียกว่า Tangible investment ส่วนการลงทุนในหุ้นพันธบัตรตราสารการเงินอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องและมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการถือกรรมสิทธิ์ใน ตราสารเหล่านี้ไว้ เรียกว่าเป็นการลงทุนแบบ Intangible investments สำหรับในบทนี้จะเน้นเฉพาะการลงทุนที่เป็น Intangible investments หรือที่จัดอยู่ในประเภทของการลงทุนทางการเงิน เป็นส่วนใหญ่ 
การลงทุนทางการเงิน (Financial investments)
     หมายถึง การที่ผู้ลงทุนนำเงินที่มีอยู่ไปซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าวก่อให้เกิดรายได้กับผู้ลงทุนนั้น ซึ่งการลงทุนทางการเงินโดยทั่วไปมักจะทำผ่านกลไกของตลาดการเงิน

วัตถุประสงค์ของการลงทุนทางการเงิน เพื่อจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปแบบของดอกเบี้ย (Interest) เงินปันผล Dividend) กำ ไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gain) และสิทธิพิเศษอื่น ๆ กล่าวโดยสรุปก็คือ มุ่งผลตอบแทนจากการใช้ทุนในรูปแบบของผลตอบแทนทางการเงิน (Monetary return) นั่นเอง

เงินเพื่อการลงทุนได้มาจากไหน (Money For investing)

      เงินสำหรับนำมาลงทุนได้มาจากแหล่งใด หรือมีทางที่จะได้มาอย่างไรถ้าบุคคลได้มีการวางแผนจัดการเรื่องการเงินของตน อย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็จะมีทางให้ได้เงินก้อนหนึ่งเพื่อการลงทุนได้เสมอ บุคคลมีโอกาสได้เงินมาจาก

1.การรู้จักทำงบประมาณ (Using budgets) เราสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในขอบเขตของเงินงบประมาณที่กำหนด ก็จะทำให้มีเงินออมเหลืออยู่จริงตามที่คาดคะเนไว้ ซึ่งเงินออมส่วนนี้สามารถนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ได้

2.การออมโดยวิธีบังคับ (Forced saving) ตามหลักของการจ่ายเงินเดือนซึ่งธุรกิจได้มีการหักเงินสะสม หรือเงินสำรองเลี้ยงชีพของพนักงานไว้ เงินออมส่วนนี้เป็นของลูกจ้างพนักงาน แต่ยังถอนไม่ได้จนกว่าจะทำตามเงื่อนไขที่กำหนด ธุรกิจจะนำเงินสดดังกล่าวไปให้สถาบันการเงินหรือบุคคลที่สามเป็นผู้ดูแลหาผล ประโยชน์ให้งอกเงยตามที่กฎหมายกำหนด และจะจ่ายคืนแก่เจ้าของผู้มีสิทธิได้รับเมื่อถึงเวลา เงินออมโดยโดยวิธีบังคับจึงเป็นเงินลงทุนทางหนึ่งของบุคคลเพียงแต่เขาไม่ได้ เป็นผู้ลงทุนเองโดยตรงแต่สถาบันนายจ้างเป็นผู้ลงทุนแทนให้

3.การยกเว้นรายจ่ายไม่จำเป็นเสียบ้าง (Skip an expenditure) เป็นธรรมชาติของบุคคลที่มีเงินแล้วจะใช้จ่ายไปตามวิสัยปกติที่เคยเป็นมา เช่นทุกวันอาทิตย์ต้องออกไปทานข้าวนอกบ้าน ดูภาพยนตร์ เล่นโบว์ลิ่ง เล่นกอล์ฟ หรือซื้อของตามห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นถ้าจะมีการยกเลิกบ้างก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จะมีเงินเหลือนำมาลงทุนได้

4.การประหยัดรายได้พิเศษ (Save the nonroutine incomes) บางครั้งคนเราก็มักจะได้รับรายพิเศษเข้ามาบ้าง เช่น การไปทำงานพิเศษมีรายได้หรือขายของเก่า ที่ไม่ใช้แล้ว หรือญาติผู้ใหญ่ได้ให้เงินเป็นของขวัญรางวัล ซึ่งเงินเหล่านี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบใช้จ่ายแต่ประการใด ดังนั้นถ้าสามารถเก็บออมไว้ก็จะนำไปหาผลประโยชน์ได้มาก

      ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return from investing)

      การลงทุนมีความสัมพันธ์กับด้านผลตอบแทน (Returns) และความเสี่ยง (Risks) การที่คนเราลงทุนก็เพราะเราคาดหวังจะได้รับผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย จึงต้องอยู่ภายใต้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย ผลตอบแทนจากการลงทุน มีหลายรูปแบบได้แก่

ก. รายได้ตามปกติ (Current income) รายได้ตามปกติได้แก่ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลในกรณีที่บุคคลซื้อพันธบัตรหรือลงทุนในหุ้นต่าง ๆ ซึ่งกำหนดเวลาก็จะได้รับดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตามที่บริษัทระบุไว้

ข. กำไรจากการซื้อขายหุ้น (Capital gains) ในกรณีของหุ้นสามัญที่บุคคลลงทุนซื้อไว้มีราคาสูงขึ้น ซึ่งเมื่อขายออกไปแล้วจะได้กำไร

ค. ค่าเช่า (Rent) ในการลงทุนซื้อทรัพย์สินโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกอสังหาริมทรัพย์ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ตเมนท์ ที่อยู่อาศัย เมื่อนำไปให้ผู้อื่นเช่าก็จะมีรายได้ ค่าเช่าเป็นรายได้ที่คืนมาสู่เจ้าของ

ง. ผลตอบแทนอื่น ๆ (Others) เช่นการซื้อหุ้นสามัญก็จะมีสิทธิ ในหารออกกเสียงเลือกคณะกรรมการของบริษัท และถ้าถือหุ้นไว้มากก็จะมีโอกาสจะได้รับเลือกเป็นผู้บริหารซึ่งสามารถกำหนด นโยบายของบริษัทได้ หรือสิทธิในการซื้อขายหุ้นใหม่ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น

      ในการคำนึงถึงผลตอบแทน ผู้ลงทุนควรถามตัวเอง ผลตอบแทนที่ตนต้องการได้รับ สักกี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อไว้ด้วย เพราะเงินเฟ้อย่อมมีผลกระทบต่อผลตอบแทนในการลงทุน ดังนั้นในการพูดถึงเรื่องผลตอบแทนผู้ลงทุนควรให้ความสนใจในกับ Real rate of return มากกว่า Nominal rate of return

      Real rate of return คือ ผลตอบแทนแท้จริงทีจะได้รับ โดยได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อส่วน Nominal rate of return เป็นผลตอบแทนที่เสนอให้หรือให้ตามที่บริษัทประกาศไว้ สมมติว่า การลงทุนครั้งนี้เสนอให้ผลตอบแทน (Nominal rate of return) 10 %ถ้ามีการคาดคะเนว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นปีละ 6 % ดังนั้นผลตอบแทนแท้จริงที่ได้รับ จะเป็นแค่ 4 % เท่านั้น

      นอกจากนี้ในการลงทุน ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงในเรื่อง ดอกเบี้ยของดอกเบี้ย (Interest on interest) ที่จะได้รับด้วย โดยคำนึงถึงดอกเบี้ยทบต้น ในการลงทุนการซื้อพันธบัตร ซึ่งให้ดอกเบี้ยประจำทุก ๆ งวด และจะได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยได้รับไปใช้จ่าย ผลตอบแทนทีจะได้รับก็จะเท่ากับอัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในพันธบัตรนั้น แต่ถ้าผู้ลงทุนนำดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละงวดไปลงทุนต่อ ดอกเบี้ยดังกล่าวจะกลายเป็นเงินต้นของงวดถัดไปตามหลักของดอกเบี้ยทบต้นก่อ ให้เกิดดอกผลตามมา ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดเวลาก็จะได้รับเงินต้นคืนพร้อมผลตอบแทนได้อีกมากซึ่ง สรุปแล้วก็คือ อัตราผลตอบแทนได้รับจริงจะสูงกว่าที่ได้ประกาศไว้ เพียงแต่มีข้อแม้ว่าเราจะต้องนำดอกผลที่ได้รับไปลงทุนใหม่ (Reinvest) อย่างส่ำเสมอเท่านั้น 
ฝากเงิน…มั่นคง
      การฝากเงินเป็นการลง ทุนอย่างหนึ่ง ที่คนเกือบทุกคนจะรู้ว่ามันคืออะไร ถ้าจะพูดในภาษาการเงิน จะบอกได้ว่า การฝากเงินเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำมาก เพราะมีรัฐบาลคอยรับประกันเงินฝาก แต่หากรัฐบาลไม่รับประกันเงินฝาก ความเสี่ยงก็จะมากขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าท่านฝากอยู่กับธนาคารใด

       การฝากเงินก็มีข้อดีอยู่หลาย ๆ ประการ

1. มีความเสี่ยงต่ำ และเข้าใจง่าย : คนหลาย ๆ คน พอใจกับการที่ในแต่ละปีเงินที่เขาเก็บจะไม่สูญหายไปไหน และได้ดอกผลบ้าง และด้วยความที่มันง่าย ๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนอย่างการลงทุนอย่างอื่น คน ส่วนใหญ่จึงเลือกการฝากเงินเป็นการลงทุนอันดับแรก ดอกเบี้ยเท่าไร ก็คือผลตอบแทนเท่านั้น เงินฝากมีแต่เพิ่มไม่มีลด

2. มีสภาพคล่องสูง : การฝากเงินจะมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และในทุก ๆ ประเภทจะสามารถถอนออกได้ทันที่ที่เราต้องการเงิน บางอย่างอาจจะมีการสูญเสียดอกเบี้ยไปบ้าง แต่ผู้ฝากก็รู้สึกว่า เงินฝากนั้นอยู่ใกล้ ๆ ตัว ถอนเมื่อใดก็ได้ ไม่เหมือนการลงทุนอย่างอื่น ที่เราอาจจะรู้สึกว่าเงินของเรากำลังถูกนำไปหมุนอยู่ที่ใดสักแห่ง

3. มีความสะดวกในการฝาก - ถอน และดำเนินการต่าง ๆ : เพราะว่าสาขาของสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ จะมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ จึงทำให้ผู้ลงทุนในรูปเงินฝากมีความสะดวกมากในการดำเนินรายการใด ๆ การฝากเงินนั้น มีอยู่หลายแบบซึ่งแต่ละธนาคารอาจจะคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ มีชื่อเรียกแปลก ๆ แต่ ถ้าแบ่งออกเป็นแบบกว้าง ๆ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การฝากออมทรัพย์ : การฝากแบบนี้เป็นที่รู้จักที่สุด นั่นคือการฝากที่เราสามารถถอนออกได้ ทุกวัน โดยไม่ต้องห่วงเรือง การสูญเสียดอกเบี้ย เพราะการฝากแบบนี้จะคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน
2. การฝากประจำ : คือการฝากที่ผู้ฝาก จะสามารถถอนได้ก็ต่อเมื่อครบอายุสัญญาแล้ว เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน หรือ 2 ปี หากผู้ฝากเงินมีการถอนเงินออกมาก่อนกำหนด ช่วงระยะเวลาที่ฝากเงินมาก่อนหน้านั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย
3. การฝากกระแสรายวัน : คือการฝากเงินเข้าบัญชี ที่จะมีการใช้ร่วมกับเช็ค ซึ่งเงินฝากประเภทนี้จะไม่ได้ดอกเบี้ย แต่จะมีข้อดีคือ จะสามารถถอนออกได้ ด้วยการสั่งจ่ายเช็ค ผู้ที่ฝากเงินประเภทนี้ มักจะมีจุดประสงค์เพื่อการค้า เพราะจะใช้เช็คในการจ่ายสินค้าได้สะดวก และปลอดภัยกว่าการจ่ายเป็นเงินสด 
ตราสารหนี้……เสี่ยงต่ำ
     หากพูดถึงคำว่า "ตราสารหนี้" หลาย ๆ ท่านอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า "พันธบัตร" หรือ "หุ้นกู้" บางท่านอาจเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า มันคืออะไร

      ตราสารหนี้คืออะไร

      ตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ออกตราสารหนี้จะเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ และ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ก็จะเป็นผู้ให้กู้ หรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีข้อผูกมัดทางกฎหมายว่าผู้กู้ (ผู้ออกตราสาร) จะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา และจ่ายเงินต้นตามสัญญาที่ระบุไว้ หากผู้กู้ไม่จ่ายเงินกู้คืน ผู้ลงทุนก็สามารถฟ้องร้องได้ ผู้ที่ออกตราสารหนี้แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1. รัฐบาล (โดยกระทรวงการคลัง) ซึ่งเราเรียกตราสารหนี้นี้ว่า "พันธบัตรรัฐบาล" จะมีตั้งแต่แบบ 1 ปี จนถึงแบบระยะยาว 20 ปี พันธบัตรรัฐบาล ที่จะให้ประชาชนซื้อได้โดยตรงเรียกว่า พันธบัตรออมทรัพย์
2. องค์กรภาครัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ตราสารหนี้ในกลุ่มนี้มักจะมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งมีความเสี่ยงต่ำมาก เช่นกัน
3. บริษัทเอกชน คือบริษัททั่ว ๆ ไป ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน มักเรียกว่า "หุ้นกู้" ซึ่งจะมีความเสี่ยงมากหรือ น้อยขึ้นกับความมั่นคงของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้

ประเภทของตราสารหนี้ มีวิธีแบ่งอยู่ 2 อย่าง

แบ่งตามสิทธิในการเรียกร้อง

1. ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องเงิน ต้นคืน น้อยกว่าเจ้าหนี้ทั่วไป ในกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารหนี้เกิดมีปัญหาหรือล้มละบาย แต่ก็จะได้รับการจัดสรรเงินคืน ก่อนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ 2. ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ ผู้ถือตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีสิทธิทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และมีสิทธิมากกว่า ผู้ถือตราสารหนี้ด้อยสิทธิ

แบ่งตามการค้ำประกัน

1. ตราสารหนี้มีประกัน หมายถึง ตราสารสหนี้ที่ผู้ออก นำสินทรัพย์ซึ่งอาจจะเป็นที่ดิน , อสังหาริมทรัพย์, หรือแม้แต่รายได้ในอนาคต เป็นหลักประกันการออม โดยผู้ถือตราสารหนี้จะมีบุริมสิทธิเหนือสินทรัพย์นั้น
2. ตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน ก็คือ ตราสารสารหนี้ที่ไม่ได้มีการนำสินทรัพย์ใด ๆ มาเป็นหลักประกัน ตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอาจจะเป็นตราสารหนี้ด้อยสิทธิหรือ ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ

สิ่งต้องรู้ก่อนลงทุนในตราสารหนี้
(1) มูลค่าที่ตราไว้ คือราคาต่อหน่วยที่ระบุเอาไว้ในตราสาร
(2) อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว คืออัตราดอกเบี้ยที่ ผู้ออกสัญญาว่าจะจ่ายให้ผู้ลงทุนซื้อตราสารนั้น โดยอัตราดอกเบี้ยที่ระบุอาจจะเป็น อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่
(3) งวดการจ่ายดอกเบี้ย คือการระบุว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุน จำนวนกี่ครั้งต่อปี
(4) วันครบกำหนดไถ่ถอน คือวันที่ตราสารหนี้นั้นจะหมดอายุ และผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน ความสำคัญของวันครบกำหนดไถ่ถอน อยู่ที่ว่ามันยาวนานเพียงใด
(5) องค์กรที่ออกตราสาร และอันดับเครดิต คือความมั่นคงขององค์กร ที่ออกตราสารหนี้จะบ่งบอกถึงความเสี่ยงของการลงทุนนั้น ซึ่งหากเป็น รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ หากเป็นบริษัทเอกชน ผู้ลงทุนอาจจะตส้องศึกษาในรายละเอียดขององค์กรนั้นบ้างว่ามั่นคงหรือไม่
(6) ประเภทของตราสารหนี้ เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าตราสารที่เราลงทุน มีความเสี่ยงอย่างไร หากบริษัทลูกหนี้เรามีปัญหา เพราะตราสารหนี้นั้นมีอยู่หลายประเภท
(7) ข้อสัญญา/เงื่อนไขต่าง ๆ เป็นการดูในรายละเอียดว่า ผู้ออกหุ้นกู้มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษที่จะทำ หรือไม่ทำบ้าง เช่น ผู้ออมอาจสัญญาว่าจะรักษาระดับหนี้สินต่อทุนไม่ให้เกินระดับที่กำหนด เป็นต้น
หุ้น........ผลตอบแทนสูง
     ตลาดหุ้นคืออะไร

      ลักษณะการหนึ่งของตลาดหุ้น คือ ตลาดหุ้นเป็นแหล่งของร้านอาหารหลาย ๆ ร้าน บริษัท ๆ หลาย ๆ บริษัทมาอยู่รวมกัน เพื่อให้ท่านผู้มีเงินเก็บเหลือ ซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" มาร่วมลงทุนและนักลงทุนเหล่านั้นก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัท หรือเจ้าของกิจจการการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นทางเลือกเพื่อการออมเงิน ในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถหลีกเลี่ยง หรือป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตราเงินเฟ้อได้ เพราะการลงทุนในหลักทรัพย์จะช่วยรักษามูลค่าที่แท้จริงของเงินลงทุนและให้ผล ตอบแทนในรูปของเงินปันผล , กำไรส่วนทุน และสิทธิการจองซื้อหุ้นใหม่ในราคาต่ำแก่ผู้ลงทุนอีกด้วย และหาก ผู้ลงทุนมีความรอบรู้และชาญฉลาดพอ ก็จะสามารถเลือกขายหลักทรัพย์ต่าง ๆ ในระดับราคาและจังหวะเวลาที่ให้ผลตอบแทนสูง

เมื่อบริษัทแห่งหนึ่งมีความต้องการเงินทุนในการขยายกิจการ หรือนำเงินมาใช้ในการดำเนินงาน บริษัทแห่งนี้อาจมีหนทางในการระดมเงินได้ 2 หนทาง คือ

1. การระดมเงินจากตลาดเงิน (Money Market) เช่น การกู้เงินจากสถาบันการเงิน โดยมีพันธะผูกพันธ์ในการต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินนั้น ๆ

2. การระดมเงินจากตลาดหุ้น (Capital Market) ซึ่งตลาดทุนจะเป็นแหล่งระดมเงินทุนระยะยาว (เกิน 1 ปี) โดยผู้ที่ต้องการระดมเงินทุนจะออกตราสารทางการเงิน หรือ หลักทรัพย์ในตลาดทุน ซึ่งประกอบด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หน่วยลงทุนของ กองทุนรวม ใบสำคัญแสดงสิทธิ เป็นต้น เพื่อขายให้กับบุคคลภายนอกหรือประชาชนสำทับไปในตลาดแรก (Primary Market)

ตลาดรอง (Secondary or Trading Market) ซึ่งจัดตั้งเพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งกลางเสริมสภาพคล่องให้แก่หลักทรัพย์ที่ ผ่านการจองซื้อในตลาดแรกให้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของหลัก ทรัพย์ได้ ช่วยสร้างความมั่นคงแก่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกว่าเขาสามารถขาย หลักทรัพย์นั้น เพื่อเปลี่ยนกลับคืนเป็นเงินสดได้เมื่อต้องการ

      หุ้นคืออะไร

      หุ้นคือสินค้าในตลาดหลักทรัพย์ ที่เรียกโดยรวมว่า ตราสาร นั้นหมายถึง เอกสารทางการเงินที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ออกมาเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน และเปิดให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งมีอยู่หลายประเภท ขอยกตัวอย่างดังนี้

1. หุ้นสามัญ (Common Stock)
หุ้นสามัญก็คือหุ้นที่นักลงทุน ส่วนใหญ่ในตลาดซื้อขายกันอยู่ และมีจำนวนมากกว่า 80 % ของหุ้นในตลาดทั้งหมด โดยหุ้นสามัญนี้เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน ซึ่งออกโดยบริษัทมหาชนจำกัด ที่ต้องการระดมเงินทุนจากประชาชน เพื่อให้คุณได้เข้าไปมีส่วนร่วมในธุรกิจนั้น ๆ โดยตรง ผลตอบแทนที่คุณจะได้โดยตรงก็คือ เงินปันผลจากกำไรในธุรกิจ กำไรจากการขายหุ้นถ้าราคาหุ้นปรับตัวขึ้น และสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ ในกรณีที่มีการเพิ่มทุนจดทะเบียน
2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)
เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)
เป็นตราสารที่ระบุว่าผู้ถือครองจะได้รับสิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หรือตราสารอนุพันธ์ในราคาที่กำหนดเมื่อถึงเวลาที่ระบุไว้ (ซึ่งราคาจองซื้อมักจะกำหนดไว้ต่ำกว่าราคาที่มีการซื้อขายปัจจุบัน ใบสำคัญแสดงสิทธิมักจะออกควบคู่กับการเพิ่มทุนเป็นเทคนิคการตลาดของบริษัท ผู้ออกหลักทรัพย์ในการจูงใจ ให้ผู้ลงทุนจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบลูชิพ และหุ้นเก็งกำไร ซึ่งหุ้นทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้



ประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์
     ประกันสังคม คืออะไร

      ระบบประกันสังคม เป็นสิ่งที่ต่างประเทศได้มีมานานแล้วแต่เมืองไทยเพิ่งเริ่มจะมี โดยชื่อ "ประกันสังคม" จะบ่งบอกความหมายได้พอสมควร คำแรก "ประกัน" จะมีความหมายในแนวว่า เราจะต้องมีการจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันว่าหากมีอะไรเกิดขึ้น เราจะได้รับความคุ้มครองคล้าย ๆ กับประกันรถยนต์ หรือประกันชีวิต ดังนั้นประกันสังคม จึงเป็นระบบที่บังคับให้ทุกคนออมเงินส่วนหนึ่ง (3% ของเงินเดือน) เพื่อเป็นหลักประกันว่า ชีวิตของเราจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นในสังคม เพราะเราจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการเจ็บป่วย อุบัติเหตุ หรือเสียชีวิต รวมทั้งจะได้เงินบำนาญใช้ในยามแก่ด้วย

      ข้อดีของประกันสังคม คือลูกจ้างอย่างเรา จะจ่ายเงินประกันนี้ (เรียกว่าเงินสมทบ) เพียง 1 ใน 3 ส่วน เพราะผู้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 3 ฝ่าย คือ 1. รัฐบาล 2. นายจ้าง 3. ลูกจ้าง ดังนั้นลูกจ้างจึง จ่ายเงินเข้ากองทุนเพียง 3 % ของค่าจ้าง และรัฐบาลสมทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เราได้รับผลประโยชน์มากขึ้น คุ้มค่าเกินกว่ามูลค่าเงินที่เราลงไป

กองทุนประกันสังคมให้ความคุ้มครองผู้ประกันตน 6 กรณี ได้แก่
1. กรณีชราภาพ
2. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
3. กรณีคลอดบุตร
4. กรณีทุพพลภาพ
5. กรณีเสียชีวิต
6. กรณีสงเคราะห์บุตร

      ประกันชีวิต.....ป้องกันความผิดพลาด
     ประกันชีวิต คืออะไร

      หลักพื้นฐานของเรื่องประกันชีวิตก็มาจากความเป็นจริงในชีวิตที่ว่าการดำเนิน ชีวิตของคนในภาวะปัจจุบัน ต้องเผชิญกับอันตรายต่าง ๆ มากกว่าแต่ก่อน ทั้งเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ, อุบัติเหตุ หรือการก่อการร้าย ซึ่งอันตรายต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหนก็ได้ โดยที่เราไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น (โดยการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท) ไม่มีทางที่จะป้องกันได้หมด แต่เราสามารถวางแผนเผื่อ เพื่อทดแทนการสูญเสียนั้นได้

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต
1. ให้ความคุ้มครองต่อครอบครัว เมื่อเราคิดที่จะมีครอบครัวแล้ว เราก็หวังว่าครอบครัวเราจะต้องมีความมั่นคงและปลอดภัยพอสมควร แต่หากหัวหน้าครอบครัวหรือ ผู้ที่หาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวเป็นอะไรไป สมาชิกภายในครอบครัวที่เหลือย่อมประสบความลำบากในการดำรงชีวิตได้ การประกันชีวิตจะป้องกันปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นความรู้สึกอุ่นใจและมั่นคงตลอดไปของสมาชิกในครอบครัว ก็เป็นผลประโยชน์ที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน ที่ผู้ประกันชีวิตจะได้รับ
2. รักษาเป้าหมายการออมเงิน การทำประกันชีวิตจะมีประโยชน์ในการออมทั้งทางตรง และทางออ้มนั่นคือ หากเราสามารถกำจัดความเสี่ยงในการสูญเสียเงินออมอย่างไม่คาดคิด เราย่อมสามารถรักษาเป้าหมาย ของเงินออมเอาไว้ได้ อะไรที่อยู่ในแผนการจะสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าสิ่งที่ไม่อยู่ในแผนการเรา
3. สิทธิลดหย่อนทางภาษี เงินเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปในแต่ละปี สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีเป็นค่าใช้จ่ายได้ถึง 50,000.00 บาท หากท่าเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวนมาก (โดยดูได้จากใบ Slipเงินเดือนซึ่งจะระบุว่าท่านถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเท่าใดในแต่ละเดือน) ทางเลือกแรกของการหาค่าใช้จ่ายมาลดหย่อนภาษีคือ การลงทุนในกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ และอีกทางเลือกหนึ่งก็คือการทำประกันชีวิตนั่นเอง เพราะการจ่ายเบี้ยประกันจะทำให้เราประหยัดภาษีในแต่ละปีได้ 10 % - 20% ของเงินเบี้ยประกัน นั่นคือกำไรพิเศษที่เราได้นั่นเอง

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนการทำประกัน
ประการที่ 1 ต้องเข้าใจว่า "ประกันชีวิตคืออะไร" ประกันชีวิต = (ความคุ้มครอง+การเก็บออม+การลงทุน)
ประการที่ 2 ต้องเข้าใจ ตัวเองก่อนตกลงใจ ท่านจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ท่านทำเพื่ออะไร เพราะเหตุใด และจะทำอย่างไร จะทำให้ท่านเข้าใจและตัดสินใจได้มากขึ้น
ประการที่ 3 ต้องเข้าใจ ประเภทของกรมธรรม์
ประการที่ 4 ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการชำระเบี้ยประกันภัย
ประการที่ 5 ทำความเข้าใจกับสิทธิอื่นที่จะได้ 




เก็บเงินให้รวย

เก็บเงินให้รวย - ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร "หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หาได้ "

1. การเพิ่มรายได้ ควรหลีกเลี่ยงการเป็นมนุษย์เงินเดือน เพราะเป็นผู้ประกอบการจะรวยเร็วกว่า และเชื่อว่าคนที่ทำงานเก่งสำคัญกว่าคนที่เรียนเก่ง แต่ไม่ได้สนับสนุนให้ทิ้งการเรียน ควรมีการ เรียนรู้ต่อเนื่อง

2. สอนลูกให้เป็นผู้ประกอบการ โดยสอนให้มีพื้นฐานและประสบการณ์ในการทำงานตั้งแต่เด็กๆ และหากเป็นไปได้ก็ควรสนับสนุนในส่วนของทุนที่จะใช้ในการประกอบการด้วย

3. เคล็ดลับการออมเงิน
- หาได้มากน้อยเท่าไหร่ไม่สำคัญ จ่ายมากน้อยเท่าไหร่เป็นเรื่องสำคัญกว่า คือต้องใช้ให้น้อยกว่า ที่หาได้
- ควบคุมรายจ่ายถ้าอยากเก็บเงิน เมื่อได้เงินมาให้รีบแบ่งเก็บในธนาคารเพราะถ้ารอใช้ก่อนจะไม่เหลือเก็บ
- ไม่ต้องทำตามผู้อื่น ต้องมีเอกเทศของตัวเอง เราอยู่ในสังคมต้องเป็นไปตามสังคม แต่เราไม่จำเป็นต้องทำตามคนอื่นเสมอไป
- การเล่าเรียนของบุตร ควรวางแผนด้านการเรียนของบุตรโดยเน้นการศึกษาเล่าเรียนในประเทศ เพราะการศึกษาในประเทศไทยก็จัดอยู่ในระดับมาตรฐานและค่าใช้จ่ายในการเรียน ไม่สูงมาก
- ต้องระวังรักษาสุขภาพของตนให้แข็งแรง และไม่ควรทำประกันภัยหรือประกันชีวิตจนเกินสมควร
- ระวังเรื่องค้ำประกัน และการให้กู้ยืม เพราะ "การให้เพื่อนยืมเงิน ท่านจะเสียเงิน เสียเพื่อนและในที่สุดก็เสียใจ"

4. บริหารเงินออมของครอบครัวและวางแผนภาษี
- การสร้างฐานะของครอบครัวให้เป็นปึกแผ่นควรยึดหลักการ "ผัวเดียวเมียเดียว" และสามีภรรยาต้องช่วยกันออมทรัพย์
- การบริหารเงินของครอบครัว จะต้องรู้ว่าคุณมีทรัพย์สมบัติอะไรบ้างที่เป็นสินเดิม หรือเป็นสินสมรสเพื่อจะได้จัดการให้เกิดประโยชน์งอกเงย และใช้จ่ายร่วมกันได้
- การบริหารเงินออมจะต้องดูแลการหมุนเวียนของเงินสดให้มีสภาพคล่อง ไม่ทำประกันชีวิตมากเกินไป และลงทุนอย่างชาญฉลาดโดยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มดอกผล จากเงินออม

5. การประหยัดภาษี ควรพิจารณาว่าจะสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ปลอดภาษี เช่นหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อลดผลกระทบจากการเสียภาษีได้หรือไม่

6. มาลดภาษีกับกองทุน RMF (Retirement Mutual Fund)
การ ลงทุนใน RMF สำหรับคนกินเงินเดือนนับเป็นช่องทางที่ช่วยลดภาษีได้มากที่สุด โดยควรเลือกกองทุน RMF แบบที่เหมาะกับเงินลงทุนและช่วงอายุในการลงทุนของคุณ นอกจากนี้ ยังควรวางแผนเรื่องภาษีเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ตามเงื่อนไขของกฎหมาย

7. รวบรวมทรัพย์สิน โดยจัดแยกสินสมรสและสินส่วนตัว จัดสมบัติให้ดูแลง่าย จัดการเรื่องทายาท มรดก และพินัยกรรม ที่สำคัญคือควรให้เมียรู้ทรัพย์สินทั้งหมด แต่อย่าตามใจเมียทุกเรื่อง

8. สอนลูกให้รวยน้ำใจ ด้วยการใกล้ชิดและให้ความอบอุ่นแก่ลูก พร้อมทั้งชี้แนะและในเวลาเดียวกันก็ควบคุมดูแลให้ไม่ออกนอกลู่นอกทาง

9. ภาษีการเงินสำหรับ "วัยรุ่น" - การวางแผนด้านภาษี เด็กๆ อาจให้ประโยชน์ทางภาษีแก่คุณได้เพราะเขาส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ ทำให้อยู่ในกลุ่มผู้เสียภาษีต่ำที่สุด ดังนั้น หากคุณย้ายรายได้ส่วนหนึ่งไปให้กับตัวเด็ก คุณจะประหยัดภาษีเงินได้ลงได้
- ความรับผิดชอบต่อภาษี สำหรับวัยรุ่นที่มีรายได้ก้อนโต จะต้องหาที่ปรึกษาในการวางแผนภาษี การลงทุนและการออมทรัพย์ เพื่อเป็นการไม่ประมาท
- คำแนะนำทางการเงิน บทเรียนที่ดีสำหรับ วัยรุ่นคือแสดงให้พวกเขาเห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการตัดสินใจทางการเงินของ ตัวเอง ข้อสำคัญคืออย่าปรนเปรอเด็กด้วยเงินและอย่าให้บัตรเครดิต

10. ข้อสรุปการสอนลูก
- สิ่งที่ห้ามลูกทำ คือ การยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและการพนัน
- สิ่งที่ลูกต้องทำ คือ รอบรู้วิชา ซื่อสัตย์สุจริต มีความขยันขันแข็ง และความโอบอ้อมอารี
- สิ่งที่ลูกควรรู้ ควรทำ คือ ต้องช่วยเหลือตัวเองและสามารถทำงานเป็นทีม รู้จักเก็บออมเงินและมีเมตตาสงสาร และที่สำคัญคือการมีระเบียบวินัย

11. จัดการมรดกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนะนำให้ทำพินัยกรรมด้วยตนเอง และควรต้องตรวจสอบดูแลเป็นระยะๆ (อาจจะทุก 5 ปี)

12. แม่บ้าน- มีเมียดีเป็นศรีแก่เรือน
- คุณสมบัติและรูปสมบัติของภรรยาที่พึงมี ได้แก่ การเป็นคนมีจิตใจงาม มีการศึกษาพอสมควร เป็นเพื่อนคู่คิด รู้จักดูแลสุขภาพ ร่างกายของตนเองให้แข็งแรงและกระฉับ-กระเฉงอยู่เสมอ และมีความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สมบัติ
- แม่มักจะเป็นผู้สอนลูกเพราะมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากกว่า

13. การหารายได้- รู้จักประมาณตน คือประหยัด ไม่ใช้จ่ายเกินรายได้ที่ได้รับ
- ระวังหนี้สินและการค้ำประกัน
- ให้ลูกเมียร่วมตัดสินใจในเรื่องเงินทองของครอบครัว

14. ค่าใช้จ่าย- หนี้สินและบัตรเครดิต (การบริหารเงินกู้) ควรมีความรู้เรื่องการบริหารหนี้เพื่อลดภาระ ต่อไปจะได้เป็นไทแก่ตัว
- ประกันภัย-ประกันชีวิต ควรพิจารณาความเหมาะสมในด้านต่างๆ ก่อนตัดสินใจ
- ควรทำงบการเงินของครอบครัวเพื่อจะได้รู้สถานะทางการเงินของครอบครัวได้ชัดเจน

15. ช่วยกันออมและลงทุน
- ชายหญิง ใครใช้เงินเก่งกว่ากันและใครออมเงินเก่งกว่ากัน หากใครเก็บเงินหรือคุมค่าใช้จ่ายได้ดีกว่ากันก็ให้เป็นผู้นำในการดูแลเงิน
- เริ่มต้นออมก่อนก็จะรวยกว่า
- ผัวเมียแยกกันลงทุนดีไหม ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ขึ้นกับความเหมาะสม
- ทรัพย์สินที่น่าลงทุนต้องดูตามแต่สถานการณ์
- ต้องช่วยกันเตือนสติ เข้าตำรา "สองหัวดีกว่า หัวเดียว"

16. ลงทุนให้ได้ดอกผลงาม
- บ้านและที่อยู่อาศัยถือเป็นสิ่งที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด
- เงินทองเป็นของมีค่าและซื้อเพชรให้ภรรยา เพราะเพชรและทองเป็นทรัพย์สินที่คล้ายกับบ้านคือได้ใช้ประโยชน์ ได้สวมใส่ ดูแล้วอิ่มอกอิ่มใจ และถือเป็นเงินออมประเภทหนึ่ง
- หุ้นกับเงินฝากธนาคารควรดูแลและปรับเปลี่ยนการลงทุนตามสภาวการณ์ตลาด
- ซื้อทรัพย์สินอื่น เช่น การสะสมของมีค่าต่างๆ แต่ควรเป็นของที่มีตลาดซื้อขายที่กว้าง และไม่ใช่ของผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม
- มีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง
- อย่าลืมสร้างบุญกุศล เพราะคนเราจะเจริญมาได้ ก็ต้องเป็นคนดี ช่วยเหลือผู้อื่น

17. จัดรูปแบบภาษีของครอบครัว
- เรื่องภาษีจะต้องรู้ เพราะเมื่อกฎหมายทุกฉบับพิมพ์ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ถือว่าคนไทยทุกคนต้องรู้ จะแก้ตัวว่าไม่รู้เลยไม่เสียภาษีไม่ได้
- เมียก็ช่วยลดภาษีได้ในกรณีที่มีรายได้ของตนเอง และขอแยกเสียภาษี
- ควรตั้งบริษัทเพื่อลดภาษีหรือไม่นั้น ขึ้นกับความเหมาะสมและประเภทธุรกิจ

18. แผนการเงินของคนโสด
- หาเองใช้เองประหยัดกว่าก็น่าจะจริง แต่ในบางกรณีการมีคนช่วยหารายได้ให้เป็นทวีคูณก็น่าจะเป็นการดี
- เพื่อนคู่คิดสำหรับคนโสด อาจเป็นเพื่อนสนิท หรือญาติพี่น้อง
- การคำนวณว่าต้องมีเงินออมเท่าใดจึงพอเพียง ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายของคุณ
- แก่ลงใครจะดูแล ขึ้นกับว่า "เราทำอย่างไร กับผู้อื่น เขาก็ทำกับเราอย่างนั้น" หากเราทำดีกับใคร เขาย่อมตอบแทน

19. บั้นปลายของชีวิต
- หากต้องการให้แก่แล้วมีกิน จะต้องเก็บออมตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ดูแลรักษาสุขภาพให้ดี รู้จักควบคุมรายจ่ายให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า รายได้
- วิเคราะห์ความมั่งมีเพื่อความไม่ประมาท
- บุญกุศลช่วยท่านได้