|
AEC การค้าเสรีอาเซี่ยน |
การเปิดเสรีด้านการค้า
เป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA (ASEAN Free Trade Area) ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 2535 โดยมีการทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างต่อเนื่อง และในปี 2553 นี้ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะต้องลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือ 0% ในรายการ Inclusive List ขณะที่ ประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม ต้องทยอยลดอัตราภาษีศุลกากรจนเหลือ 0% ภายในปี 2558 การเปิดเสรีการค้าของอาเซียนทำให้สินค้าส่งออกหลายรายการของไทยได้เปรียบคู่แข่งในอาเซียนในขณะที่สินค้าบางรายการต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับการแข่งขันที่มีความรุนแรงขึ้น
สินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศแล้วจะได้เปรียบดังนี้
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ข้าวโพด ผลิตภัณฑ์ ยาง และ เฟอร์นิเจอร์
ประเทศมาเลเซีย อาทิ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เฟอร์นิเจอร์ รถยนต์
สินค้าที่ไทยต้องปรับตัวสู้
ประเทศอินโดนีเซีย อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผ้าผืน เม็ดพลาสติก
ประเทศฟิลิปปินส์ อาทิ ยางพารา ผ้าผืน
ซึ่งแนวทางในการปรับตัวของสินค้าเกษตร ได้แก่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุ์พืช การพัฒนาระบบชลประทานและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว รวมถึงการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกด้วย ในส่วนของแนวทางปรับตัวของสินค้าอุตสาหกรรมนั้น ผู้ประกอบการควรหันมาแข่งขันด้านคุณภาพแทนการแข่งขันด้านราคา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity & Innovation) ผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า สาเหตที่ทำให้สินค้าส่งออกของไทยบางรายการแข่งขันได้ยากนั้น ส่วนนึงเป็นเพราะมีปัญหาในทางปฏิบัติที่เป็นข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง AFTA อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) การที่บางประเทศยังคงปกป้องผู้ผลิตในประเทศของตน รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการของไทยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อตกลง AFTA เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาทที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้การใช้ประโยชน์จาก AFTA มีมากขึ้น
http://www.thai-aec.com/32#ixzz20MLGCJ5R