Welcome to Blog ห้องสมุดความรู้ หากท่านถูกใจ ฝากกดแชร์( Like) (G+) (Tweet) ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานและผู้จัด ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง เฮงๆรวยๆ #4289

10 เทคนิค การประชาสัมพันธ์ร้านค้าออนไลน์


เปิดร้านค้าออนไลน์ แต่ไม่มีคนซื้อ ขายของไม่ได้ แล้วจะเปิดไปทำไม? เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเคยเกิดคำถามนี้ขึ้นในใจ วันนี้ lnwShop มี 10 เทคนิคดีๆ เพื่อช่วยให้ร้านค้าของคุณมีลูกค้ามาฝากกันค่ะ
2011 03 07 111834 10 เทคนิค การประชาสัมพันธ์ร้านค้าออนไลน์
1.ลงทะเบียนเว็บไซต์กับ search engines
บางที search engines (เช่นsanook,google,msm)อาจจะพบเว็บไซต์ของคุณจากการซุ่มหาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นๆ แต่ทางที่ดีคุณควรจะส่งชื่อเว็บไซต์ไปยัง search enginesด้วยตัวเอง เพราะส่วนมากแล้วผู้ที่เข้าดูเว็บไซต์จะเข้าจากลิ้งค์ในsearch engines
2. ใช้ Signature(sig)file
โดยทั่วไปแล้ว sigfile จะประกอบไปด้วย ชื่อคนชื่อบริษัท ที่อยู่สำหรับติดต่อ และ/หรือสโลแกนของบริษัทรวมทั้งลิ้งค์ตรงไปยังเว็บไซต์ของคุณ sigfile นี้ควรจะอยู่บริเวณท้ายอี-เมล์ทุกฉบับที่คุณส่งออกและอย่าลืมใส่ไว้เวลาเข้าไปตอบหรือโพสต์ในเว็บบอร์ดอื่น ๆ ด้วย
3. โพสต์ในforums(ห้องเสวนา)
เข้าไปพูดคุยในฟอรั่มที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณบ้างแต่เวลาเข้าไปไม่ใช่แค่ไปโฆษณาธุรกิจของคุณเท่านั้นให้ตอบคำถามในเรื่องที่คุณมีความรู้ แล้วก็ใส่ sigfile ไว้ท้ายข้อความคนอ่านจะรู้สึกดีขึ้นเยอะเลย
4 .แจกของฟรีบนเว็บ
เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบของฟรีคุณจะได้จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนถ้าบนเว็บของคุณมีของฟรีแจกเช่น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ บทความที่น่าสนใจ วอลล์เปเปอร์สวย ๆ มีเกมให้เล่นชิงรางวัลหรืออะไรก็ได้ที่จะดุงดูดกลุ่มเป้าหมาย
5. อัพเดทเว็บไซต์ให้ทันสมัย
การส่งชื่อเว็บไซต์ให้searchenginesเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการโปรโมตเว็บแต่จะต้องอัพเดทเว็บด้วย เพราะ search engines จะจัดลำดับผลการค้นด้วยคีย์เวิร์ด และ metatags (ข้อมูลที่บอกว่าเว็บนี้เกี่ยวกับอะไรแต่อยู่ในโค้ดที่ผู้ใช้จะมองไม่เห็น ทำไว้สำหรับให้ search enginesค้น)
6.ส่งข่าวสารผ่านอี-เมล์
อี-เมล์เป็นการส่งข่าวสารใหม่ ๆของบริษัท หรือโปรโมชั่นพิเศษให้ถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายคุณควรมีข้อมูลอี-เมล์ของลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ ดังนั้นบนเว็บไซต์ควรมีที่ให้ผู้เข้าชมเว็บกรอกข้อมูลหรืออี-เมล์ไว้เพื่อรับข่าวสารต่าง ๆ
7. แลกเปลี่ยนลิ้งกับเว็บอื่นๆ
ในเว็บไซต์ของคุณควนจะมีลิ้งค์ไปเว็บไซต์ดี ๆ ที่มีเรื่องที่เกี่ยวข้องการแลกเปลี่ยนกันเช่นนี้ช่วยเพิ่มลูกค้าได้เป็นอย่างดีเพราะบางทีเราอาจจะมีสินค้าหรือบริการที่ที่อื่นไม่มี
8.เปิดอีกเว็บไซต์
บางทีเว็บไซต์ที่ดูเป็นธุรกิจเกินไปอาจไม่น่าสนใจทำไมไม่ลองเปิดอีกสักเว็บไซต์ที่มีเรื่องน่าสนใจแต่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณตัวอย่างเช่นบริษัทกฎหมายเล็ก ๆ อาจจะเปิดเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ บทความแบบฟอร์มต่าง ๆ หรือลิ้งค์ไปยังคดีต่าง ๆแล้วใช้ชื่อบริษัทเป็นสปอนเซอร์ให้กับเว็บไซต์โดยใช้แบนเนอร์โฆษณาหรือทำลิ้งไปยังเว็บไซน์ของบริษัทเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายตามไปที่เว็บไซต์บริษัท
9. ซื้อโฆษณาบนเว็บดัง ๆ
ถึงตอนนี้ถ้าเว็บไซต์ของคุณยังมีผู้เข้าชมไม่มากพอละก็แนะนำให้ซื้อโฆษณาบนเว็บอื่น มี 2 ที่ที่ควรลงโฆษณานั่นก็คือที่search enginesและเนื้อที่โฆษณาบนเว็บดังที่เกี่ยวกับธุรกิจของคุณ
10.ใช้แผนโปรโมชั่นบนกระดาษ
การโฆษณาบนเว็บแต่เพียงอย่างเดียวยังไม่พอ คุณสามารถใช้วิธีการโฆษณาแบบง่ายๆ นั่นก็คือ การใช้กระดาษ หัวจดหมาย ซองจดหมายหรือนามบัตรที่พิมพ์โลโก้และที่อยู่ของบริษัท ท้ายสุดอย่าลืมใส่URL(ที่อยู่ของเว็บไซต์ด้วย)
ขอบคุณที่มา : smethailand.com

การวางแผนสื่อโฆษณา

การวางแผนสื่อโฆษณา

การวางแผนสื่อโฆษณา


                ก่อนจะเลือกสื่อโฆษณา นักการตลาดต้องทำการบ้านด้วยการหาข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนครับ ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้มีอยู่ 4 ด้าน ดังนี้
                1. ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ที่เราจะโฆษณา เช่น จุดขายสำคัญที่เรามีและต้องการนำเสนอต่อลูกค้าคืออะไร คุณสมบัติเด่นของสินค้าและจุดด้อยเมื่อเทียบกับคู่แข่งคืออะไรเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีจุดขายอยู่ที่ความน่ารับประทานของอาหารนั้นๆ ต้องเลือกสื่อที่แสดงภาพได้สวยงาม กระตุ้นให้ลูกค้าอยากรับประทานอย่างสื่อโทรทัศน์หรือนิตยสาร ขณะที่สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ที่ต้องการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ต่างๆ ของสินค้ามากๆ โดยไม่จำเป็นต้องแสดงภาพที่สวยงาม การใช้สื่อประเภทหนังสือพิมพ์ก็จะดีกว่าโทรทัศน์ เป็นต้น



 
                  2. ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ตั้งแต่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการสื่อสารด้วยเป็นใคร เขามีพฤติกรรมการรับสื่ออย่างไร ใครมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทที่เราขายบ้าง เขามีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างไรมี      ทัศนคติ ความเชื่อและค่านิยมในการใช้ชีวิตอย่างไร
  
 
                3. ข้อมูลคู่แข่ง เช่น งบประมาณที่เขาใช้ สื่อโฆษณาที่เขาใช้ แนวทางการนำเสนอ เทคนิควิธีการนำเสนอ เพราะถ้าสื่อโฆษณาที่เราใช้เหมือนกับคู่แข่ง มีวิธีการนำเสนอคล้ายๆ กัน แต่เรามีงบประมาณต่ำกว่าคู่แข่งมาก โฆษณาของเราก็อาจจมลงไปจนลูกค้าแทบจำไม่ได้หรือนึกว่าโฆษณาของเราเป็นของคู่ แข่งที่มีงบมากกว่า ทำให้ไม่เกิดผลคุ้มค่า เราอาจต้องเปลี่ยนไปใช้สื่ออื่นที่คู่แข่งไม่ได้ใช้ เป็นต้น
    
 
                ในอีกมุมหนึ่ง ถ้าเรามีงบประมาณที่พอจะแช่งกับคู่แข่งได้ เราอาจทำการวางแผนสื่อเพื่อสกัดคู่แข่งไว้ก่อนได้ เช่น หากรู้ว่าคู่แข่งจะลงโฆษณาในนิตยสารเล่มเดียวกับเรา เราอาจจองหน้าที่อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าคู่แข่งหรือจองป้ายโฆษณาตัดหน้าคู่ แข่งได้
                4. เข้าใจความต้องการและข้อจำกัดของบริษัทตัวเอง ในการวางแผนสื่อ นักการตลาดต้องรู้งบประมาณที่ชัดเจน ระยะเวลาที่ชัดเจน วัตถุประสงค์ในการทำการโฆษณา รวมทั้งเข้าใจข้อจำกัดต่างๆ ภายในบริษัทตนเองและข้อจำกัดด้านกฎหมายด้วย
 
 



                สินค้าประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีข้อจำกัดในการห้ามโฆษณาทางโทรทัศน์ก่อน 4 ทุ่ม สินค้าประเภทเครื่องดื่มชูกำลัง โฆษณาได้เฉพาะที่นำเสนอในลักษณะส่งเสริมสังคมหรือสร้างภาพลักษณ์องค์กร ห้ามโฆษณาตัวสินค้า ส่วนธนาคารใหญ่ๆ ที่ต้องรักษาภาพลักษณ์ที่ดูน่าเชื่อถือ การเลือกหัวนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์ที่จะลงก็อาจมีข้อจำกัดด้านนโยบายของ บริษัท เช่น จะไม่ลงโฆษณาในนิตยสารแนววาบหวิว เซ็กซี่ ทั้งๆ ที่ผลการวิจัยอาจแสดงให้เห็นว่าเป็นสื่อที่ตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อ สารด้วย
                หลังจากเตรียมข้อมูลทั้ง  4 ด้านตามที่อธิบายไว้แล้ว เราก็เริ่มต้นกำหนดกลยุทธ์ในการเลือกสื่อ โดยมีขั้นตอนดังนี้
                1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสารการตลาดในแคมเปญนั้นๆ หรือตามแผนงานของปีนั้นๆ เช่น ถ้าวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการสร้างรับรู้ในตรายี่ห้อของผลิตภัณฑ์ใหม่ ก็จะนำไปสู่การเลือกสื่อที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ครั้งละมากๆ อย่าง โทรทัศน์หรือ หนังสือพิมพ์ ในรายการที่มีกลุ่มเป้าหมายรับชมหรืออ่านอยู่จำนวนมาก
                ถ้าวัตถุประสงค์อยู่ที่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตรายี่ห้อ ก็ต้องเลือกสื่อที่มีภาพลักษณ์ดี เช่น นิตยสารชั้นนำหรือรายการโทรทัศน์ที่มีภาพพจน์ดีมากกว่าการลงสื่อในรายการ ละครน้ำเน่า เป็นต้น
                2. การกำหนดความต้องการหรือปัจจัยในการเลือกสื่อในเชิงกลยุทธ์ ได้แก่
         -การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทั้งหลักและรอง ที่ต้องการสื่อสารด้วย จะได้เลือกที่มีผู้อ่าน/ผู้ชม/ผู้ฟัง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ

         -การกำหนดช่วงระยะเวลาที่ต้องการเผยแพร่ เช่น ต้องการสื่อออกไปด้วนภายใน 30 วัน อย่างนี้สื่อประเภทหนังสือพิมพ์ดูจะเป็นสื่อที่จะตอบสนองเงื่อนไขด้านเวลา ได้ แต่สื่อประเภทนิตยสารรายเดือนที่ปกติเราต้องส่ง Art Work โฆษณาให้เขาล่วงหน้า 30-45 วัน ก่อนตีพิมพ์หรือสื่อโทรทัศน์ที่มีขั้นตอนในการผลิตและส่งให้คณะกรรมการของ ทางสถานีตรวจสอบก่อนเผยแพร่ ย่อมไม่สามารถตอบสนองเงื่อนเวลาที่เร่งรัดตามที่นักการตลาดต้องการได้ สื่อเหล่านั้นก็ต้องตัดออกไป
         -การกำหนดข้อความที่ต้องการสื่อ รวมถึงภาพหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องการใช้ในการสื่อสารไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ถ้าสิ่งที่ต้องการสื่อมีเพียง 1-2 ประเด็นและไม่ซับซ้อน เช่น ต้องการบอกลูกค้าว่า ตอนนี้มาม่าออกรสใหม่แล้ว อย่างนี้ก็เหมาะที่จะโฆษณาทางโทรทัศน์หรือวิทยุ แต่ถ้าประเด็นที่จะนำเสนอมีความซับซ้อน เช่น “บริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และต้องการขายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่ว ไปโดยขอรับใบของซื้อหุ้นได้ที่ธนาคารออมสิน เฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ในวันที่ 4 -5 เม.ย.48” ข้อความที่ต้องการสื่อเหล่านี้คงไม่สามารถใส่ลงไปได้หมดในสื่อโทรทัศน์แล้ว ทำให้ผู้ชมจำได้ เว้นแต่จะมีงบโฆษณาจำนวนมาก การใช้สื่อหนังสือพิมพ์น่าจะเหมาะกว่า ถ้าจะใช้สื่อโทรทัศน์ก็อาจทำเพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าจะขายหุ้นแล้วให้โทร เข้ามาสอบถามรายละเอียดที่บริษัท โดยใช้ร่วมกับสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน
         -กำหนดความถี่ที่ต้องการเผยแพร่ เช่น ถ้าต้องการให้ได้ความถี่ 100 ครั้งต่อเดือน การใช้สื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสารไม่น่าจะเพียงพอ การจะได้ความถี่มากๆ ถ้ามีงบประมาณก็ใช้สื่อโทรทัศน์เป็นหลัก แต่ถ้างบประมาณน้อยก็ต้องหันมาใช้สื่อวิทยุและ Outdoor ซึ่งจะได้ความถี่สูงในงบประมาณต่ำ
                3. การกำหนดวิธีในการใช้สื่อหรืออาจเรียกว่า Media Action Plan ที่มีการระบุสื่อโฆษณาที่เลือกจำนวนครั้งที่ลง ขนาดและตำแหน่งที่ลงโดยละเอียด เช่น กำหนดว่าจะลงโฆษณาในนิตยสารมาร์เก็ตเธียร์เต็มหน้าสี่สีปกหลัง จำนวน 6 ครั้งตั้งแต่เดือน เม.ย.- ก.ย.48 ร่วมกับลงโฆษณาในรายการเรื่องเล่าเช้านี้ทางช่อง 3 วันจันทร์ – ศุกร์ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 4 สัปดาห์รวม 20 ครั้ง เป็น Spot 15 วินาที เป็นต้น
                4. การดำเนินการจองสื่อและผลิตผลงานเพื่อส่งให้สื่อเผยแพร่มให้ทันตามกำหนด หลายครั้งที่การวางแผนสื่อโฆษณาทำมาอย่างดีแต่มามีปัญหาที่ของสื่อช้า ทำให้หน้าโฆษณาที่เราต้องการถูกจองล่วงหน้าไปโดยสินค้าอื่นไปแล้ว หรือเป็นปัญหาของฝ่ายผลิต Art Work / Production House ที่ไม่สามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้ทันกำหนด Death Line ที่ทางสื่อกำหนดให้ส่ง ทำให้แผนงานที่วางไว้ต้องเปลี่ยนแปลงไป
                ทั้งหมดนี้คงพอจะทำให้นักการตลาดที่ต้องการวางแผนสื่อโฆษณาเองหรือกำลังคิด จะวางแผนสื่อเองเห็นขั้นตอนในการวางแผนได้ชัดเจนขึ้น




SWOT ANALYSIS


อะไรคือ SWOT ANALYSIS ตอนเรียน MBA พวกเราถูกสอนให้ทำ SWOT ANALYSIS อย่างจริงจัง โดย SWOT คือ

ความหมายของสีและอารมณ์

ความหมายของสีต่างๆ
สีดำ
    สีดำ (Black) เป็นสีแห่งความตาย ความมืด ความน่ากลัว ความผิด พลังแห่งปีศาจ สิ่งเร้นลับอำนาจ....ความข้ม เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่คุณสามารถเห็นงานออกแบบที่ใช้สีดำในโปสเตอร์หนังมักจะออกแบบให้ ดูลึกลับ น่ากลัว หรือชวนให้เข้าไปค้นหาความจริง
สีทอง
   สีทอง หรือ สีเหลือง (Gold) เป็นสีที่แสดงถึงความมั่งคั่ง มั่งมี อบอุ่น เป็นมิตร สร้างสรรค์ หรือนักคิดค้น ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ อิสระ ความเมตตา การมองโลกในแง่ดี เป็นต้น แต่ในบางครั้งอาจใช้ใน
ความหมายทางด้านลบ เช่น ความหึงหวง ขี้อิจฉา ความพิรุธ ความขี้สงสัย หรือ การหลอกลวง ก็ได้ในวงการวารสาร สีเหลืองยังหมายถึง ความไม่รับผิดชอบ อีกด้วย

Blogger Theme

Blogger นอกจากจะฟรีแล้วยังมี Theme สวยๆให้เลือกมากมาย

ไม่ต้องห่วงเรื่องแบนวิทธิ์ ห่วงแต่ว่า มันจะแบนเรา

วันนี้มาแนะนำวิธีปรับแต่ง Onpage ให้ Blogger กันครับ