|
จำชื่อให้แม่น |
6 ขั้นตอนในการจำชื่อคนให้แม่น
คุณมีปัญหาเกี่ยวกับการจำชื่อคนหรือเปล่าครับ โดยเฉพาะคนที่เพิ่งพบกันครั้งแรก ถ้ามี ลองนำเทคนิคง่ายๆ ต่อไปนี้ไปลองใช้ดูสิครับ
1. เมื่อแรกพบหน้า ให้คุณมองหาสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษบนใบหน้าของบุคคลนั้น (มองเฉย ๆ อย่างสุภาพนะครับ ไม่ต้องถึงกับลงมือสำรวจ หรือกระทำให้เสียอาการแต่อย่างใด) เช่นไฝ ปาน ขี้แมลงวัน แผลเป็นบนใบหน้า ลักษณะรูปร่างของจมูก หรือรูปร่างของเรียวปาก เมื่อคุณได้พบหน้าคนนี้ครั้งต่อไป ลักษณะพิเศษที่คุณได้จดจำเอาไว้มันจะเด่นออกมาในความรู้สึกคุณ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้จดจำเขาได้
2. เมื่อเขาได้แนะนำชื่อให้คุณรู้จัก ต้องตั้งใจฟังชื่อเอาไว้ให้ดี
3. เมื่อได้ยินชื่อแล้ว ให้แปลชื่อนั้นไปเป็นภาพในหัวของคุณ เช่นถ้าคนนั้นชื่อคุณธนชาติ คุณอาจจะคิดภาพของธนบัตรที่เป็นรูปธงชาติ หรือชื่อสมบัติ ก็ให้นึกถึงหีบสมบัติที่มีทรัพย์สินเงินทองล้นออกมามากมาย (วาดภาพให้เวอร์ๆ ไว้ครับ แล้วจะทำให้คุณจำได้แม่น) ลูกน้องผมคนนึงชื่อ Barry ผมก็นึกถึงข้าว Barley ซึ่งออกเสียงคล้ายๆ กัน
4. ขั้นตอนต่อไปให้กล่าวทักทายด้วยการเอ่ยชื่อคนนั้น แทนที่จะกล่าวว่าสวัสดีหรือยินดีที่ได้รู้จัก เฉยๆ เช่นเมื่อเขาแนะนำว่าเขาชื่อสมชาย ให้คุณกล่าวทันทีว่า "สวัสดีครับคุณสมชาย" หรือ "ยินดีที่ได้รู้จักครับ คุณสมชาย"
5. ในขณะที่คุณได้กล่าวชื่อของเขาอยู่นั้นก็ให้นึกถึงภาพในใจที่คุณสร้างขึ้นมาหรือนึกถึงลักษณะพิเศษบนใบหน้าของผู้นั้น
6. ตลอดระยะเวลาที่คุณพบบุคคลนั้นให้หมั่นทบทวนในใจถึงชื่อของเขาและภาพเชื่อมโยงที่ท่านสร้างขึ้นมา
รับรองครับว่าถ้าท่านนำวิธีนี้ไปใช้่ท่านจะจำชื่อคนได้แม่นขึ้นกว่าเดิมแน่นอน แล้วพบกันใหม่ครับ
ความหมายของ "ความจำ" เป็นคำที่ใช้อธิบายวิธีการที่ข้อมูล หรือสิ่งที่เรียนรู้ถูกบันทึก และเก็บไว้ถาวรในความจำระยะยาวและสามารถที่จะค้นคืนหรือเรียกมาใช้ (Retrieve) ในเวลาที่ต้องการได้ ความรู้ที่นักเรียนเรียนรู้แล้วแต่จำไม่ได้ก็จะไม่มีประโยชน์ นักเรียนส่วนมากจะไม่มีวิธีการเรียนและวิธีจดจำที่มีประสิทธิภาพ วิธีทั่วๆไป
ที่นักเรียนใช้อยู่เสมอ เช่น การอ่านทบทวนการสรุปและการขีดเส้นใต้ใจความสำคัญนั้น ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยความจำ ความจริงแล้วมนุษย์เราได้ค้นพบวิธีช่วยความจำ (Memonic Device) ที่ได้ผลดีมากมานานนับเป็นพันๆ ปีแล้ว เยสท์ ลูเรีย ฮันท์ และเลิฟ (Yates, 1966 Luria, 1968 Hunt and Love, 1972) พบว่า การสอนเทคนิคในการช่วยความจำให้แก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้เก็บสิ่งที่เรียนรู้ไว้ในความทรงจำได้นาน ๆ
เทคนิคช่วยความจำที่ใช้กันอยู่มีทั้งหมด 6 วิธี คือ
(1) การสร้างเสียงสัมผัส
(2) การสร้างคำเพื่อช่วยความจำจากอักษรตัวแรกของแต่ละคำ
(3) การสร้างประโยคที่มีความหมายจากอักษรตัวแรกของกลุ่มของที่จะจำ
(4) วิธี Pegword
(5) วิธีโลไซ (Loce)
(6) วิธี Keyword ซึ่งเป็นวิธีที่ใหม่ที่สุด